ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

การปฏิบัติราชการตามหลักทศพิธราชธรรม

         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ยึดแนวทางและแก้ไขจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญให้ได้มากที่สุด นอกเหนือจากการคุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจประชาชนแล้ว การเมืองต้องมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบราชการไทยในด้านคุณภาพให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สอดคล้องกับกลยุทธ์หลักในการสร้างความเป็นเลิศในระบบราชการ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2551-2555 และเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หรือแนวความคิดในการบริหารบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) และตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

           กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการ ให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการให้สอดคล้องกับลักษณะงานในส่วนราชการนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีหลักธรรมาภิบาลอันจะทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ศรัทธาและไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล จึงได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคม โดยการปลูกฝังให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือแนวทางบริหารตามหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่ากฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใดๆ ต่างก็มุ่งส่งเสริมให้คนไทยเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม เมื่อบุคคลในสังคมไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมแล้วก็จะเกิดเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันคำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง และเป็นสาเหตุหนึ่งของระบบอุปถัมภ์กับพวกพ้องตนเองซึ่งไม่สามารถตัดออกไปจากสังคมไทยได้ จึงเพียงหวังว่าเมื่อทุกคนมีสติและจิตสำนึกที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรมแล้วจะทำให้ปัญหาดังกล่าวลดน้อยลงไปได้บ้าง ซึ่งหลักทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม 10 เป็นธรรมของพระราชา กิจวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินควรประพฤติปฏิบัติ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง เป็นหลักธรรมสำหรับทำให้ผู้อื่นรักใคร่พอใจ

หน้าถัดไป >> ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย