เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

วิทยาการเกษตร

การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย

ปรีชา พราหมณีย์
ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

การจัดการดินทางด้านกายภาพ

ดินในแปลงปลูกอ้อยที่ผ่านการไถพรวนมาเป็นเวลานาน จะทำให้อนุภาคดินแยกตัวออกจากกัน อนุภาคบางอย่างจะเรียงตัวกันเป็นแผ่นแข็ง ๆ ฉาบผิวหน้าดินทำให้ยอดอ้อยแทงทะลุได้ยาก เมื่อเวลาฝนตกน้ำจะไม่ซึมลงไป ดินจะเก็บน้ำไว้ได้น้อย เมื่อฝนแล้งอ้อยจะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว


ภาพที่ 1 โครงสร้างของดินที่เสียไปเนื่องมาจากการไถพรวนปลูกอ้อยมาเป็นเวลานาน อินทรีย์วัตถุในดินจะลดลง ดินเก็บรักษาความชื้นไว้ได้น้อย เมื่อฝนทิ้งช่วงอ้อยจะเหี่ยวเฉาตายก่อน

การไถพรวนที่ความลึกระดับเดียวกันนาน ๆ ทำให้ชั้นดินถูกขอบจานไถกดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นแผ่นทึบหรือที่เรียกว่าดินดาน รากอ้อยไม่สามารถแทงทะลุได้ ต้นอ้อยจะชะงักการเจริญเติบโตและยังทำให้อินทรีย์วัตถุในดินหมดไป ดินใต้รอยไถจะแน่นทึบเก็บน้ำและอากาศไว้ในดินได้น้อย การเจริญเติบโต การดูดน้ำ และธาตุอาหารของต้นอ้อยจะถูกจำกัด


ภาพที่ 2 สภาพทางกายภาพที่เลวทำให้น้ำซึมลงไปในดินได้ยาก เวลาแห้งดินจะแน่นและแข็ง รากอ้อยเจริญเติบโตได้น้อย

» ชนิดของดินที่ใช้ปลูกอ้อย
» หลักการพิจารณาคุณสมบัติของดิน
» การจัดการดินทางด้านกายภาพ
» การปรับปรุงและแก้ไขดินที่มีลักษณะทางกายภาพเลว
» การปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน
» การแก้ดินกรดและการใช้ปูน
» การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อย
» จะให้ปุ๋ยปริมาณเท่าไรดี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย