เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย
ปรีชา พราหมณีย์
ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อย
ธาตุอาหารที่อ้อยต้องการจากดินในปริมาณสูงทั้งสามชนิดคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม มีอยู่ในดินมากเมื่อเปิดป่าใหม่ ๆ แต่เมื่อปลูกอ้อยไปนาน ๆ อ้อยจะดูดธาตุเหล่านี้ขึ้นมาสร้างลำต้น ใบ ยอดและน้ำตาล เมื่อเราตัดอ้อยเข้าโรงงาน ก็เป็นการขนเอาธาตุอาหารไปจากดิน เราขนอ้อยส่งโรงงานทุกปีธาตุอาหารในดินก็ลดลงไปทุกปี ๆ จนไม่พอแก่ความต้องการของอ้อย จึงต้องใส่ธาตุอาหารลงไปในดินในรูปปุ๋ยเคมี
1. ไนโตรเจน
เป็นธาตุที่ช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ
ทำให้อ้อยแตกกอดีมีจำนวนลำมากทำให้น้ำหนักอ้อยมาก ถ้าอ้อยขาดไนโตรเจน
จะทำให้ใบเหลืองแคระแกร็น แตกหน่อช้า หน่อไม่เจริญ
อ้อยจะแก่เร็วกว่าปกติและคุณภาพอ้อยจะต่ำ ในช่วงแรก ที่ปลูกอ้อยจะเจริญเติบโตช้า
จึงต้องการไนโตรเจนน้อยและในท่อนพันธุ์มีไนโตรเจนติดมาบ้าง
พออ้อยมีรากจึงเริ่มดูดอาหารเพื่อใช้สร้างหน่ออ้อย ช่วงนี้อ้อยจะดูดไนโตรเจนจากดิน
ดินที่มีไนโตรเจนน้อยจึงควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ดิน ในทางปฏิบัติเพื่อความสะดวก
แนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนรองก้นหลุมเวลาปลูกเลยส่วนหนึ่ง หลังจากนั้นพออ้อยอายุ 2-3
เดือน อ้อยจะแตกกอและเจริญเติบโตทางด้านลำต้นเร็วมาก
ระยะนี้อ้อยจะดูดไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว จึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกครั้ง
เรียกว่าปุ๋ยแต่งหน้า
2. ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากอ้อยและการแตกกอ
อ้อยที่ขาดฟอสฟอรัส จะเป็นโรคได้ง่าย อ้อยแคระแกร็น โตช้า ปล้องสั้น การแตกหน่อลดลง
ใบจะมีสีม่วงขอบใบแห้ง ดินที่ใช้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่
จะมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์แก่พืชน้อย ยกเว้นดินกำแพงแสน จึงต้องใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส
โดยแนะนำให้ใส่พร้อมปลูกโดยใส่รองก้นหลุม
3. โปแตสเซี่ยม
ธาตุนี้จำเป็นต่อขบวนการเจริญเติบโตของอ้อย โดยเฉพาะขบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล
แล้วเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ในลำต้น อ้อยที่ขาดธาตุโปแตสเซี่ยม จะล้มง่าย ความหวานลดลง
ไม่ต้านทานโรค อ้อยจะแสดงอาการที่ใบแก่
โดยปลายใบและขอบใบจะไหม้ส่วนบนของเส้นกลางใบจะมีสีแดง
ดินส่วนใหญ่จะมีโปแตสเซี่ยมอยู่มาก
ยกเว้นดินทรายทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
»
ชนิดของดินที่ใช้ปลูกอ้อย
»
หลักการพิจารณาคุณสมบัติของดิน
»
การจัดการดินทางด้านกายภาพ
»
การปรับปรุงและแก้ไขดินที่มีลักษณะทางกายภาพเลว
»
การปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน
»
การแก้ดินกรดและการใช้ปูน
» การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อย
»
จะให้ปุ๋ยปริมาณเท่าไรดี