เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ผสมปุ๋ยใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิตพืชตระกูลถั่ว
ธาตุอาหารพืช
พืชตระกูลถั่ว ต้องการอาหารเช่นเดียวกับคนและสัตว์ แต่อาหารของพืชคือ ธาตุอาหารพืช
ซึ่งประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก คือ N (ไนโตรเจน) P (ฟอสฟอรัส) และ K (โพแตสเซียม)
ซึ่งใส่ให้แก่พืชในรูปของปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยเคมีสูตรที่แนะนำ
ดินส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินร่วนทรายและดินทราย
ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงต้องการธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ธาตุ คือ N, P, K
สูตรปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้คือ 10-30-20 อัตรา 20 กก./ไร่ สูตรปุ๋ยดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด จึงแนะนำให้นำแม่ปุ๋ยมาผสมให้ได้ธาตุอาหารตามคำแนะนำ
แม่ปุ๋ย หมายถึง ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักหนึ่งธาตุหรือมากกว่าที่รู้เปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารหลักที่ถูกต้อง
แม่ปุ๋ยเคมีที่นำมาใช้ ได้แก่
- ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0)
- โพแตสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)
ปริมาณของปุ๋ยที่ต้องการใช้
การผสมให้ได้ปุ๋ยเคมีสูตร 10-30-20 อัตรา 20 กก./ไร่
จะต้องใช้ปริมาณของแม่ปุ๋ยมาผสมกันดังนี้
1. 18-46-0 จำนวน 66 กก.
2. 0-0-60 จำนวน 34 กก.
รวม 100 กก.
น้ำหนักแม่ปุ๋ยได้ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มแล้ว เนื่องจากปริมาณของแม่ปุ๋ยที่นำมาผสมกันได้ครบ 100 พอดี จึงไม่ต้องเติมสารตัวเติม
วิธีการผสมปุ๋ย
- เทแม่ปุ๋ย 18-46-0 ลงบนพื้น ทำกองให้แบน ถ้าแม่ปุ๋ยจับตัวเป็นก้อน ทุบให้แตกเสียก่อน
- นำแม่ปุ๋ย 0-0-60 เททับลงไป
- ผสมคลุกเคล้าให้สม่ำเสมอ
- เมื่อผสมเสร็จแล้วควรใช้ทันที ไม่ควรเก็บไว้เกิน 15 วัน
- ถ้าใช้ปุ๋ยไม่หมดภายในวันที่ผสม ให้เก็บปุ๋ยไว้ในที่ร่ม ในถุงหรือกระสอบที่ป้องกันน้ำและความชื้นได้ มัดปากให้แน่น
การลดต้นทุน
ปุ๋ยเคมีที่มีขายตามท้องตลาดที่แนะนำให้ใช้กับพืชตระกูถั่วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้แก่ 12-24-12 อัตรา 20 กก./ไร่
เปรียบเทียบการลงทุนในการผสมปุ๋ยใช้เองกับปุ๋ยเชิงผสมที่มีขายตามท้องตลาด
การลงทุนต่อไร่ของการผสมปุ๋ยใช้เองถูกกว่าซื้อปุ๋ยสูตรสำเร็จที่มีขายตามท้องตลาด =
170 - 148 = 22 บาท
นอกจากนั้น ถ้าพิจารณาธาตุอาหารพืชที่ได้รับ การผสมปุ๋ยใช้เองให้ได้สูตร 10-30-20
จะได้รับเนื้อธาตุอาหาร P และ K สูงกว่า 12-42-12 ดังนี้
การเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย
- ใช้เมล็ดพันธุ์ดี
- คลุกเมล็ดพันธุ์ถั่วด้วยเชื้อไรโซเบียมก่อนปลูก
- ควรปรับสภาพดินให้เหมาะสม ถ้าดินเป็นกรดจัดค่า pH ต่ำกว่า 5.5 ต้องหว่านปูนขาวก่อนปลูก
- กำจัดวัชพืช