เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

วิทยาการเกษตร

ภาชนะบรรจุอาหาร

โดย กลุ่มงานเคหะกิจเกษตร กองพัฒนาการบริหารงานเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

อาหารฉายรังสี

การฉายรังสีให้แก่อาหารมีจุดมุ่งหมายหลายประการ เช่น เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเสื่อมเสีย เพื่อฆ่าแมลงที่ติดมากับอาหาร และเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อพืชผัก เป็นต้น อาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยการฉายรังสีจะเก็บรักษาไว้ได้นานที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ข้อเสียของอาหารที่ฉายรังสี คือ วิตามินจะถูกทำลายรังสีในอาหารประเภทผักและผลไม้ ในต่างประเทศนิยมฉายรังสี หัวมันฝรั่งและหอมหัวใหญ่ เพื่อป้องกันการงอกและการเน่าเสีย ซึ่งไม่มีผลถึงคุณค่าอาหารมากนัก เพราะอาหารทั้ง 2 ชนิดไม่ได้เป็นแหล่งสารอาหารพวกวิตามินที่สำคัญของผู้บริโภค อาหารส่วนใหญ่จะถูกบรรจุในภาชนะก่อน แล้วจึงฉายรังสี ดังนั้นภาชนะบรรจุไม่ควรจะมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปเมื่อถูกกับรังสี

ชนิดภาชนะบรรจุอาหารฉายรังสีได้แก่

1. กระป๋องโลหะ กระป๋องโลหะอาจทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก หรือแผ่นเหล็กทินฟรี หรือแผ่นอลูมิเนียมก็ได้จากการทดลองพบว่า กระป๋องโลหะเป็นภาชนะบรรจุที่ใช้ได้ดีสำหรับการบรรจุอาหารฉายรังสี สิ่งที่ควรระมัดระวังคือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของแลคเกอร์ที่เคลือบภายในกระป๋อง ตัวอย่างอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล

2. ถุงวัสดุอ่อนตัว ถุงชนิดนี้อาจทำจากพลาสติกได้หลายชนิด เช่น โพลิเอสเธอร์ (polyester) โพลิสไตริน (polystyrene) และไนลอน (nylon) อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับพลาสติก ซึ่งอาจแตกตัวให้รสแปลกปลอมแก่อาหาร (off-flavors/offodor) ตัวอย่างอาหาร เช่น ผักผลไม้ อาหารที่ฆ่าเชื้อโดยการฉายรังสียังไม่มีการผลิตเพื่อการค้าอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะค่าใช้จ่ายในการผลิตสูง และความไม่แน่ใจในการยอมรับของผู้บริโภค เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นและภาชนะบรรจุที่ใช้จึงมักเป็นผลงานวิจัยและต้องทดลองค้นคว้าต่อไปอีกมาก ถึงคุณประโยชน์และโทษอาหารฉายรังสี ตัวอย่างอาหารที่ฉายรังสีในประเทศไทย ได้แก่ แหนม หอมหัวใหญ่

» ประเภทของภาชนะบรรจุอาหาร
» การเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหาร
» ลักษณะของภาชนะบรรจุอาหาร
» ประเภทภาชนะบรรจุ (เพื่อการขายปลีก)
» อาหารสด
» อาหารแห้ง
» อาหารแช่แข็ง
» อาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
» อาหารฉายรังสี
» อาหารหมักดอง
» อาหารที่มีไขมันสูง
» อาหารที่มีกลิ่นเฉพาะ
» อาหารเหลวหรือกึ่งเหลว
» อาหารบรรจุระบบปลอดเชื้อ
» การบรรจุผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย