เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

พืชไร่

การปลูกถั่วเหลือง

แมลงศัตรูถั่วเหลือง

แมลงที่เป็นศัตรูสำคัญของถั่วเหลือง ได้แก่

1. หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว

แมลงวันจะวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบ เมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะไชชอนลงไปสู่โคนต้น แล้วกัดกินเนื้อเยื่อที่โคนต้นจนโตเต็มที่แล้วเข้าดักแด้ในดิน ถ้าระบาดมากต้นถั่วจะตาย หากพ้นระยะต้นกล้าแล้ว จะมีหนอนแมลงวันอีกชนิดหนึ่งคอยเจาะกิ่งอ่อนทำให้ต้นแคระแกร็น

การป้องกันกำจัด

ใช้คาร์โบฟูแรน 3% จี รองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา 4-6 กก./ไร่

2.หนอนกระทู้ผัก

หนอนชนิดนี้จะกัดกินผิวใบ โดยแทะกินผิวใบพืชด้านล่างเหลือไว้แต่ผิวใบด้านบน ทำให้ผิวใบแห้งมองเห็นเป็นสีขาว มักจะทำลายในเวลาเช้า เย็น และเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะหลบอยู่ตามโคนต้น ตัวหนอนมีสีเขียวอ่อนหรือสีนวล มีจุดสีเข้มที่ข้างนอกปล้องแรกข้างละจุด ตัวโตเต็มที่ยาวประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร

การป้องกันกำจัด

  • ทำความสะอาดแปลงรวมทั้งพรวนดินด้วย เพื่อทำลายดักแด้ของหนอนชนิดนี้ในดิน
  • ถ้าหนอนอยู่ในระยะที่แยกกลุ่มแล้ว ถ้าใบเสียหายโดยเฉลี่ย 30% ควรพ่นด้วยแลนเนท 90%เอสพี, อะโซดริน 56% ดับบลิว เอส ซี, หรือลอสแบน 20% อีซี, พ่น 1-2 ครั้ง ทุก 7 วัน

3. หนอนเจาะฝัก

ซึ่งเป็นหนอนชนิดเดียวกันกับที่เจาะฝักข้าวโพด และเจาะสมอฝ้าย พบระบาดเสมอ ฉะนั้น ควรจะต้องหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อถั่วเหลืองเริ่มติดฝัก หากพบให้รีบดำเนินการกำจัดทันที ทั้งนี้เพราะหนอนที่ฟักออกจากไข่ในระยะแรก จะสามารถกำจัดได้ง่ายกว่าหนอนเมื่อใกล้จะโตเต็มวัย

การป้องกันกำจัด

ถ้าพบหนอนระบาด 20 คัว ต่อ 100 ต้น ให้พ่นด้วยแลนเนท 90% เอสพี, อะโซดริน 56% ดับบลิว เอส ซี, ลอสแบน 20% อีซี พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

4. หนอนม้วนใบ

หนอนชนิดนี้ทำให้ใบถั่วเหลืองม้วนเข้าหากัน และหนอนกัดกินอยู่ภายใน เริ่มระบาดตั้งแต่ต้นถั่วอ่อนจนแก่เป็นฝัก ตัวหนอนมีสีเขียวหัวสีดำ หรือน้ำตาล ตัวยาวประมาณ 1/2 นิ้ว

5. หนอนชอนใบ

ถ้าพบระบาดในระยะต้นถั่วกำลังเจริญเติบโต จะทำให้ต้นแคระแกร็น ผลผลิตลดลงกว่า 50% หากฝนแล้งการระบาดจะรุนแรง หนอนที่ฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าไปในใบพืช กัดกินเนื้อเยื่อของใบเหลือไว้แต่ผิวใบด้านล่างและด้านบน ต่อมาจะแห้งเป็นสีขาว สังเกตได้ง่าย

การป้องกันกำจัด

ถ้าพบใบถูกทำลายถึง 30% ให้พ่นด้วยไดเมธโธเอท 40%อีซี, อะโซดริน 56% ดับบลิว เอส ซี, ทามารอน 60%แอลซี, ฮอสตาไธออน 40% อีซี.

6. เพลี้ยอ่อน

มักจะพบดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน กิ่งอ่อนของถั่วเหลือง แมลงชนิดนี้ระบาดและแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก ฉะนั้น ควรจะต้องหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ ๆ หากพบแมลงชนิดนี้ ให้รีบกำจัดเสียในระยะแรก สารเคมีที่ใช้ได้ผลดี เช่น ไดเมทโธเอท 40%อีซี, อะโซดริน 56% ดับบลิว เอส ซี, โฟลิแมท 50% อีซี. พ่น 1-2 ครั้ง ทุก 10 วัน

7. มวนเขียว

ทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ลำต้นและฝักอ่อน ทำให้ถั่วไม่ติดฝัก หรือเมล็ดเหี่ยวย่น เมล็ดลีบ
การป้องกันและกำจัด
ถ้าถั่วอยู่ในระยะออกดอกและพบเห็นมวนเขียวประมาณ 3 ตัว ใบแถวถั่วยาว 1 เมตร ควรพ่นด้วยอะโซดริน 56% ดับบลิว เอส ซี, ไดเมธโธเอท 40% อีซี, ทามารอน 60%แอลซี, อย่างใดอย่างหนึ่ง และพ่นซ้ำเมื่อตรวจพบในปริมาณดังกล่าวอีก

» ประโยชน์ของถั่วเหลือง
» การเลือกพื้นที่ปลูก
» การปฏิบัติ ดูแลรักษา
» พันธุ์ถั่วเหลือง
» วิธีเตรียมดินและการปลูกในฤดูฝน
» สูตรปุ๋ย ที่ใช้สำหรับถั่วเหลือง
» ฤดูปลูก
» การปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งในนาข้าว
» การกำจัดวัชพืช
» ความจำเป็นในการใช้เชื้อไรโซเบียม
» เชื้อไรโซเบียมหรือแบคทีเรียสำหรับคลุมเมล็ดพันธุ์
» การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดวัชพืชสำหรับถั่วเหลือง
» โรคถั่วเหลือง
» การเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง
» การตากและเก็บรักษาเมล็ดถั่วเหลือง
» แมลงศัตรูถั่วเหลือง
» การนวด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย