เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกถั่วเหลือง
พันธุ์ถั่วเหลือง
พันธุ์ที่แนะนำให้ปลูกมีหลายพันธุ์ ได้แก่
- สจ. 2 ลำต้นไม่ทอดยอด ต้นไม่ล้ม เจริญเติบโตได้ดี
และให้ผลผลิตสูงในปลายฤดูฝนและฤดูแล้ง ฝักไม่แตกง่าย อายุเก็บเกี่ยว 95 วัน
ไม่ต้านทานโรคราสนิม ตาเมล็ดสีน้ำตาลแดง (ชาวบ้านเรียกพันธุ์ตาแดง)
- สจ. 4 ให้ผลผลิตสูงกว่า สจ.2 คุณภาพของเมล็ดดี
ปลูกได้ผลดีทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน ต้านทานต่อโรคราสนิม อายุเก็บเกี่ยว 99 วัน
ตาเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน
- สจ. 5 ทนทานต่อโรคราสนิม และโรคใบด่างดีกว่า สจ. 4 ผลผลิตในฤดูแล้งดีกว่า
สจ. 4 แต่ในฤดูฝนให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน อายุเก็บเกี่ยว 98 วัน
ตาเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เชียงใหม่ 60 ทนทานต่อโรคราสนิมได้ดีกว่า สจ. 4และ สจ. 5
เป็นพันธุ์ที่มีกิ่งน้อย แต่ในจำนวนฝักมาก
สามารถเพิ่มจำนวนต้นต่อไร่ได้อีกและผลผลิตจะเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ตอบสนองต่อปุ๋ยอัตราต่ำได้ดีกว่า สจ. 5 ปลูกได้ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน
โดยให้ผลผลิตใกล้เคียงกับ สจ.4 และ สจ. 5 อายุเก็บเกี่ยว 97 วัน
- นครสวรรค์ 1 (โอซีบี) เป็นพันธุ์อายุสั้นประมาณ 75 วัน
เมล็ดโตกว่าทุกพันธุ์ที่กล่าวมา ตาเมล็ดสีเหลืองอ่อน เป็นที่ต้องการของตลาด
แต่ต้องหลีกเลี่ยงการปลูกในแหล่งที่มีโรคราสนิมราน้ำค้างและแอนแทรกโนสเหมาะสำหรับ
ปลูกในฤดูฝนในเขตภาค กลางก่อน หรือตามหลังพืชไร่อื่นๆ
แต่สามารถปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง
- สุโขทัย 1 เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนล่าง เช่น สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น ให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกในฤดูฝน อายุเก็บเกี่ยว 96 วัน ตาเมล็ดสีเหลืองฟางข้าว เป็นพันธุ์ที่เกิดโรคเมล็ดสีม่วงค่อนข้างมากกว่าพันธุ์อื่นๆ แต่ต้านทานต่อโรคใบด่างและใบจุดนูน (ชาวบ้านเรียกว่าพันธุ์ผักบุ้งเพราะมีใบคล้ายผักบุ้ง และต้นทอดยอด)
»
ประโยชน์ของถั่วเหลือง
»
การเลือกพื้นที่ปลูก
»
การปฏิบัติ ดูแลรักษา
» พันธุ์ถั่วเหลือง
»
วิธีเตรียมดินและการปลูกในฤดูฝน
»
สูตรปุ๋ย ที่ใช้สำหรับถั่วเหลือง
»
ฤดูปลูก
»
การปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งในนาข้าว
»
การกำจัดวัชพืช
»
ความจำเป็นในการใช้เชื้อไรโซเบียม
»
เชื้อไรโซเบียมหรือแบคทีเรียสำหรับคลุมเมล็ดพันธุ์
»
การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดวัชพืชสำหรับถั่วเหลือง
»
โรคถั่วเหลือง
»
การเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง
»
การตากและเก็บรักษาเมล็ดถั่วเหลือง
»
แมลงศัตรูถั่วเหลือง
»
การนวด