เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกสับปะรด
การเตรียมหน่อพันธุ์ก่อนปลูก
การคัดขนาดหน่อหรือจุกก่อนปลูก ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกสับปะรดควรจะมีการคัดขนาดแบ่งเป็นกลุ่มอย่างชัดเจน และมีขนาดเท่า ๆ กัน และปลูกเป็นแปลง ๆ หรือชุด ๆ ไป จะทำให้การเติบโตของต้นสม่ำเสมอกันทั้งแปลง ใส่ปุ๋ยแต่ละต้นได้พร้อมกันและใส่ปริมาณต่อต้นเท่า ๆ กัน บังคับผลได้พร้อมกันทั้งแปลง ง่ายต่อการบำรุงรักษา สับปะรดแก่พร้อมกันง่ายต่อการประเมินผลผลิตและเก็บเกี่ยว
หน่อ
จุก
การชุบหน่อหรือจุกด้วยสารเคมีก่อนปลูก
เป็นการลดอัตราการสูญเสียของต้น อันเนื่องมาจากโรคยอดเน่าหรือต้นเน่า ทั้งเป็นการประหยัดแรงงานและเวลาในการปลูกหน่อซ่อมแซมใหม่อีกด้วย การชุบหน่ออาจทำได้โดยเครื่องจักรอัตโนมัติ แต่เกษตรกรโดยทั่ว ๆ ไปอาจใช้ถัง 200 ลิตร แล้วผ่าครึ่งถัง หรือสร้างบ่อซิเมนต์ขนาดย่อม ๆ ใช้เป็นที่ชุบหน่อก็จะสะดวกยิ่งขึ้น
สำหรับสารเคมีกันเชื้อรา และอัตราที่ใช้โดยเลือกใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง มีดังนี้
- แคปตาโฟล เช่น ไดโฟลาแทน 80% อัตรา 60-120 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 86 กรัมต่อน้ำ 8.6 ลิตร ชุบได้ 1,000 หน่อ
- ฟอสเอธิล อลูมินั่ม เช่น อาลีเอท อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- เมตาแลกซิล เช่น ริโดมิล อัตรา 30-45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ถ้าพบเพลี้ยแป้งมากับหน่อพันธุ์ควรผสมสารฆ่าแมลง มาลาไธออน อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ลงไปในสารชุบหน่อพันธุ์ด้วยโดยจุ่มหน่อพันธุ์ให้ชุ่มก่อนปลูก จุ่มนานประมาณ 3 นาที และถ้าปลูกไปแล้ว หากมีฝนตกชุก ควรใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งฉีดซ้ำอีกทั่วทั้งแปลง ในกรณีปลูกซ่อมหรือปลูกปริมาณน้อย การชุบหน่อพันธุ์อาจจะสิ้นเปลือง ใช้วิธีหยอดยอดก็ได้ โดยใช้อาลีเอท 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้หยอดยอดละ 50 ซีซี หรือเต็มยอด ให้ทำทันทีหลังจากปลูกสำเร็จสามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 4 เดือน
»
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
»
พันธุ์ที่ปลูกมากในประเทศไทย
»
พันธุ์ที่ใช้สำหรับปลูกเป็นไม้ประดับ
»
ส่วนขยายพันธุ์และการขยายพันธุ์
»
การเตรียมดิน
» การเตรียมหน่อพันธุ์ก่อนปลูก
»
ฤดูปลูกและวิธีปลูก
»
การปลูกเพื่อส่งโรงงานบรรจุกระป๋อง
»
การควบคุมและกำจัดวัชพืช
»
ประโยชน์ของสับปะรด
»
การใช้สารเคมีเร่งการออกดอกในสับปะรด
»
การเก็บเกี่ยว
»
การไว้หน่อสับปะรด
»
โรค-แมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด
»
อาการผิดปกติของสับปะรด