เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย
โดย ปรีชา พราหมณีย์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน
อ้อยก็เหมือนกับมนุษย์คือ ต้องการแร่ธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตแข็งแรง มีความต้านทานโรค ให้ผลผลิตและขยายพันธุ์ต่อ ๆ ไปได้ แร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของอ้อยมี 16 ธาตุ บางธาตุอ้อยได้มาจากน้ำและอากาศ เช่นคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน บางธาตุอ้อยต้องการน้อยมากและดินเมืองไทยก็มีพอเพียงอยู่แล้วจึงไม่เป็นปัญหา มีธาตุอาหาร 3 ธาตุ ที่อ้อยต้องการในปริมาณมากและดินที่ปลูกอ้อยก็มีให้ไม่พอเพียง ธาตุทั้ง 3 คือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม ซึ่งเราจะต้องใส่เพิ่มให้กับไร่อ้อยในรูปของปุ๋ย
ลักษณะทางเคมีอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อการปลูกอ้อยคือความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เราวัดได้โดยใช้ค่าที่เรียกว่าพีเอช ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 1-14 โดยทั่วไปดินที่ทำการเกษตรมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 4-8 แต่ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยควรมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 6.0-7.5 เพราะธาตุอาหารในดินจะละลายออกมาให้อ้อยดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัดเกินไปจะทำให้ธาตุอาหารบางชนิดไม่ละลายออกมาให้อ้อยดูดไปใช้ได้ และธาตุอาหารบางชนิดละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษแก่อ้อย ดังนั้นถ้าเราทราบความเป็นกรดเป็นด่างของดินเราก็พอจะบอกได้คร่าว ๆ ว่า ดินจะมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์เพียงใด ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินในไร่อ้อย
»
ชนิดของดินที่ใช้ปลูกอ้อย
»
หลักการพิจารณาคุณสมบัติของดิน
»
การจัดการดินทางด้านกายภาพ
»
การปรับปรุงและแก้ไขดินที่มีลักษณะทางกายภาพเลว
» การปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน
»
การแก้ดินกรดและการใช้ปูน
»
การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อย
»
ปริมาณปุ๋ยที่ใช้
»
การใส่ปุ๋ย