เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเล
การเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันสามารถพัฒนาวิธีการและเทคนิคในการเพาะพันธุ์ไปสู่รูปแบบที่เหมาะสมมากขึ้น ทำให้ได้ลูกกุ้งที่แข็งแรง และมีอัตราการรอดตายสูง ลูกกุ้งทะเลที่มีการเพาะและอนุบาลกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ กุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วย เป็นต้น
กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon)
กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) เป็นกุ้งทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีเปลือกหัวเกลี้ยงไม่มีขน ฟันกรีด้านบน 7-8 ซี่ ด้านล่าง 3 ซี่
ช่องข้างกรีทั้งสองด้านแคบและยาวไม่ถึงฟันกรีสุดท้าย
ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มและมีแถบสีเข้มกับสีจางพาดขวางลำตัว ถิ่นอาศัยของกุ้งกุลาดำ
ได้แก่ น่านน้ำแถบใต้ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และที่พบมากได้แก่ ไทย
อินเดีย และออสเตรเลีย กุ้งชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน
สามารถทนอยู่ได้ตั้งแต่ความเค็มต่ำใกล้ศูนย์ ถึงความเค็มสูงสุดเกือบ 40 ส่วนในพัน
กุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis)
กุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) มีสันกรีสูง ปลายกรีแคบ
ส่วนของกรีมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมีสีน้ำเงิน ฟันกรีด้านบนมี 8-10 ซี่
ฟันกรีด้านล่างมี 2-3 ซี่ ร่องข้างกรีและร่องบนกรีตื้น ลำตัวมีสีขาวครีม
ถิ่นอาศัยจะพบแพร่กระจายอยู่ในเขตเวสต์อินโดแปซิฟิค ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย ปากีสถาน
อินเดีย มาเลเซีย และไทย กุ้งชนิดนี้อยู่ได้ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลถึงทะเลลึก
พื้นทะเลเป็นโคลนปนทราย อาศัยอยู่ในความเค็มระหว่าง 10-35 ส่วนในพัน
ชีววิทยาบางประการของกุ้งกุลาดำและกุ้งแชบ๊วย
เพศผู้มีอวัยวะที่เรียกว่า Petasma ลักษณะเป็นติ่งอยู่ระหว่างโคนขาว่ายน้ำคู่ที่ 1 ซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยในการถ่ายถุงน้ำเชื้อ ไปใส่ในอวัยวะเพศเมีย
»
การพัฒนารังไข่ของกุ้งกุลาดำและกุ้งแชบ๊วย
»
การพัฒนาของรังไข่ไปเป็นตัวอ่อน
»
การเตรียมการก่อนการเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเล
»
การจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพของลูกกุ้ง
»
การจัดการระหว่างการอนุบาล
»
แนวโน้มการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล