เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ประมง

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

         การประกอบอาชีพการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์มักจะมีปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ที่มีมูลค่าสูงในขณะที่การขายผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่มักไม่ได้ราคาดีเท่าที่ควร เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบปัญหาทางด้านรายได้ จากการผลิตไม่คุ้มทุนหรือได้กำไรน้อย ฐานะของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่มั่นคงยากจนและมีหนี้สิน เกษตรกรหลายรายจึงได้พยายามดิ้นรนหาวิธีการช่วยตัวเองให้พ้นจากปัญหานี้ โดยการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ซึ่งพบว่าหากผสมผสานกิจกรรมทางด้านการเกษตรหลายกิจกรรมเข้าด้วยกัน จะสามารถลดต้นทุนการผลิตของผลผลิตบางอย่างลงได้อย่างมาก โดยการใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมหนึ่งไปเป็นปัจจัยการผลิตของอีกกิจกรรมหนึ่งได้ ทำให้ระบบการผลิตโดยรวมมีต้นทุนลดลงดังกล่าวนี้

หลักการเกษตรแบบผสมผสานเป็นเรื่องที่เกษตรกรรู้จักวิธีการนี้มานานแล้วแต่การนำไปใช้ในทางปฏิบัติในบ้านเรายังมีอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ การเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช การเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ และการเลี้ยงปลาร่วมกับปลา ก็เช่นกัน เกษตรกรได้ปฏิบัติกันมานานนับศตวรรษแล้วทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมทั้งบางประเทศในยุโรปตะวันออกเช่น ฮังการี ด้วยประเทศเหล่านี้ ต่างยอมรับว่าระบบการผลิตสัตว์น้ำและสัตว์บกที่ผสมผสานกันนี้ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่กันและกันเป็นอย่างดี นับเป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่งเท่าที่มีมา

» ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
» ลักษณะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
» ขนาด ลักษณะ ของบ่อเลี้ยงปลา และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
» พันธุ์ปลาที่ใช้เลี้ยง
» การจัดการบ่อเลี้ยงแบบผสมผสาน
» ผลผลิตปลาจากการเลี้ยงแบบผสมผสาน
» ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
» ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรที่จะเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
» แนวโน้มการเลี้ยงปลาผสมผสานในอนาคต

เรียบเรียง : วัฒนะ ลีลาภัทร

เอกสารอ้างอิง

  • คำนึง คำอุดม. 2531. ไปสัมผัสตะพาบน้ำฟาร์มแก้วปิ่นทอง. นิตยสารฐานเกษตรกรรม ฉบับที่ 54 ปีที่ 5. หน้า 11-20.
  • คุณเต็มดวง สมศิริ. โรคตะพาบน้ำ สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ.
  • บุญช่วย เชาว์ทวี. 2528. เต่าและตะพาบน้ำ. วารสารการประมง ฉบับที่ 5ปีที่ 38. หน้า 123-129.
  • นายประวิทย์ สุรนีรนาถ วิทย์ ธารชลานุกิจ และประจักษ์ ตาบทิพย์วรรณ. 2522.วารสารการประมง ฉบับที่ 4 ปีที่ 32. หน้า 33-339.
  • นายประโยชน์ เตชะเพียวเลิศ. การศึกษาวิเคราะห์เศรษฐกิจตะพาบน้ำของไทยเอกสารเศรษฐกิจการประมงเลขที่ 1/2537.
  • คุณยุพินท์ วิวัฒน์ชัยเศรษฐ์. การเลี้ยงตะพาบน้ำที่ชลบุรี. วารสารการประมงปีที่ 47ฉบับที่ 3 ปี 2537.
  • นายสมศักดิ์ ล้วนปรีดา. 2524. เพาะเลี้ยงตะพาบน้ำที่ญี่ปุ่น. วารสารข่าวประมงฉบับที่ 4 ปีที่ 8. หน้า 27-32.
  • นางสาวศิริลักษณ์ ตันตะสุทธิ. ตะพาบน้ำพันธุ์ไต้หวัน สูตรสำเร็จการเลี้ยงเพื่อการค้า.
  • เอกสารเผยแพร่ของงานเอกสารคำแนะนำกรมประมง. 5 หน้า.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย