เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
บัวหลวง
เก็บเกี่ยวส่วนอื่นๆ จากบัว
1. การเก็บไหล หลังจากปลูกประมาณ 2-3 เดือน
บัวที่ปลูกเจริญเติบโตเต็มที่สามารถเริ่มเก็บไหลได้ โดยสังเกตใบที่แตกขึ้นมาใหม่
หากชูใบขึ้นมาพ้นน้ำและยังไม่คลี่ใบ แสดงว่าเก็บไหลบัวได้
ระดับน้ำในบ่อต้องคงที่ที่ความสูงประมาณ 50 ซม .
นำใช้ได้ไหลบัวที่อ่อนมีคุณภาพและเก็บได้ง่าย
แต่ถ้าความลึกของน้ำลึกมากกว่าใบบัวจะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาต้องใช้เวลานานทำให้ไหลแก่เกินไป
กรณีที่เก็บไหลจำหน่ายถ้าพบว่ามีดอกออกมาควรทำการหักทิ้งหากปล่อยให้บัวออกดอกจะทำให้ไหลไม่ค่อยแตกและมีขนาดสั้นลง
อายุการเก็บไหล 1 ฤดูกาลปลูกใช้เวลา 3 เดือน หลังจากนั้นต้นบัวจะโทรมให้ผลผลิตน้อย
จึงต้องมีการบังคับให้แตกไหลใหม่
โดยการระบายน้ำออกจากนาให้แห้งแล้วไถเพื่อลดความหนาแน่นของต้นบัวแล้วปล่อยน้ำเข้าแปลงอีกครั้ง
การปลูกบัวเพื่อเก็บไหลไม่สามารถทำได้ทั้งปี
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวบัวจะหยุดการเจริญเติบโตและไม่แตกไหล รอพ้นฤดูหนาว ( ช่วงเดือน
ก . พ .) จึงเริ่มหันมาดูแลเพื่อเก็บเกี่ยวไหลใหม่
2. การเก็บเหง้า ( รากบัว ) ทำการผลิตในแหล่งน้ำธรรมชาติ
รากบัวที่เก็บควรจะมีอายุประมาณ 1 ปี เพื่อให้รากมีความสมบูรณ์เต็มที่
รากบัวแต่ละแห่งจะมีคุณภาพไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
ต้นที่เหมาะแก่การเก็บรากบัวสังเกตได้จากต้นมีการโอนตัวลง ใบแก่ ใบตะแคงหนีน้ำฝน
การเก็บเกี่ยวสามารถทำได้ในช่วงฤดูแล้งโดยปล่อยให้ดินแห้งจนแตกระแหง
ใช้เสียมขุดงัดตามระแนงที่ดินแตกออกเป็นก้อนๆ
จากนั้นจึงนำมาล้างและคัดขนาดก่อนจำหน่าย
3. การเก็บใบแห้ง สามารถทำได้โดยตัดใบชิดโคน จากนั้นนำมาตากแดดประมาณ 1-2
วัน ( ให้แห้งพอหมาด ) แล้วจึงนำมาพับครึ่งใบเรียงซ้อนกันประมาณ 1 กิโลกรัม (60 ใบ
)
4. การเก็บฝักอ่อน การผลิตมีวิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับการผลิตเพื่อตัดดอก
แต่สายพันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นสายพันธุ์แหลมขาวและแหลมชมพู
การเก็บเกี่ยวจะเก็บฝักหลังจากดอกบานประมาณ 1 สัปดาห์ ความถี่ในการเก็บเกี่ยวประมาณ
1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาของการเก็บเกี่ยวฝักประมาณ 6 เดือน
การนำบัวฝักอ่อนสำหรับใช้ประดับจะนำฝักบัวไปชุบสีเงิน หรือสีทองแล้วจึงนำไปอบแห้ง
ฝักบัวแต่ละขนาดจะมีราคาที่ต่างกัน เช่น เส้นผ่าศูนย์กลางฝัก 8 ซม . ขึ้นไป
ราคาฝักละ 5 บาท เส้นผ่าศูนย์กลางฝัก 6-7 ซม . ราคาฝักละ 4 บาท และ
เส้นผ่าศูนย์กลางฝักต่ำกว่า 6 ซม . ขึ้นไป ราคาฝักละ 2 บาท
5. การเก็บฝักสดเพื่อรับประทาน
การผลิตส่วนใหญ่จะปลูกเองและมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ( บ่อน้ำ สระน้ำ )
สายพันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นสายพันธุ์แหลมขาวและแหลมชมพู จะปล่อยติดให้ฝักติดเมล็ด
รับประทานเมล็ดสดแทน
6. การเก็บเมล็ดบัวปอกเปลือกแล้วตากแห้ง
โดยการนำเอาเมล็ดบัวที่แก่จัดไปต้มน้ำให้เดือดประมาณ 3-5 นาที
จากนั้นยกลงไปแช่น้ำเย็นแล้วแกะเปลือกและไส้ ( ดีบัว ) ในออก (
ดีบัวเป็นส่วนของต้นอ่อนในเมล็ดมีรสขมนิยมใช้รับประทานเป็นยา ) ตากให้แห้ง
เก็บรักษาในถุงพลาสติก
ปิดปากถุงให้สนิทเพื่อป้องกันฝุ่นและความชื้นผลผลิตเมล็ดบัวแห้งจะได้ไร่ประมาณ 144-
180 กิโลกรัม
»
สถานการณ์การผลิต
»
สายพันธุ์
»
การปลูกและการดูแลรักษา
»
การขยายพันธุ์
»
การเตรียมดิน
»
การปลูกบัว
»
ศัตรูพืช
»
การเก็บเกี่ยวดอกบัว
»
การดูแลรักษานาบัว
»
แนวทางการปฏิบัติกับดอกบัวเพื่อการส่งออก
» เก็บเกี่ยวส่วนอื่นๆ จากบัว
»
การตลาด