เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกไม้ดอกกระถาง
การแพร่ระบาดของโรค
เชื้อโรคพืชสามารถแพร่ระบาดไปยังต้นพืชอื่นได้หลายทาง คือ
- ติดไปกับส่วนขยายพันธุ์
เชื้อโรคหลายชนิดสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ได้ เช่น
โรคที่ติดไปกับเมล็ด ได้แก่ โรคใบด่างของถั่วฝักยาว โรคแอนแทรคโนสของพริก
โรคที่ติดไปกับท่อนพันธุ์ เช่น โรคดอกเขียวของดาวเรือง
โรคบางชนิดถ่ายทอดไปกับกิ่งพันธุ์กุหลาบ โรคใบด่างของแกลดิโอลัส
โรคยอดบิดของหวายมาดาม ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
- ดินหรือเครื่องปลูก อาจเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อสาเหตุ
หรือเป็นที่สะสมของหน่วยขยายพันธุ์ของเชื้อสาเหตุ เช่น สปอร์
ทำให้เกิดการแพร่ระบาดโรคได้
- ลม สปอร์เชื้อราเกือบทุกชนิดปลิวไปกับลมได้
ฝุ่นละอองจากดินที่มีขนาดเล็กสามารถปลิวไปกับลมได้ง่าย ๆ
ฝุ่นเหล่านี้อาจจะพาเอาเชื้อแบคทีเรียและไส้เดือนฝอยแพร่กระจายไปด้วย
- น้ำ น้ำจะช่วยแพร่กระจายเชื้อโรค โดยพาสปอร์ของเชื้อราไป
หรือน้ำฝนตกลงมาแรง ๆ ก็จะทำให้ดินกระเด็นพาเอาเชื้อขึ้นไปด้วย
- แมลง แมลงเป็นพาหนะสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อโรคบางชนิด
อาจติดไปกับส่วนของอวัยวะของแมลง
แมลงบางชนิดดูดกินพืชที่เป็นโรคก็จะพาเชื้อโรคติดไปยังพืชปกติได้เมื่อไปดูดกินพืชปกติ
เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัสไวรอยด์ และมายโคพลาสมา
- สัตว์อื่น ๆ เช่น ไส้เดือนฝอยบางชนิดสามารถถ่ายทอดเชื้อโรคไปยังพืชอื่น ๆ
ได้ ไรและไส้เดือนฝอยสามารถพาเชื้อราที่ติดอยู่บริเวณลำต้นแพร่ระบาดต่อไปด้วย
- กาฝากและฝอยทอง สามารถถ่ายทอดเชื้อโรคจากพืชเป็นโรคไปยังพืชปกติได้
- มนุษย์ เป็นตัวการแพร่กระจายโรคไปยังที่ต่าง ๆ โดยไม่มีขอบเขต เช่น การเคลื่อนย้ายส่วนขยายพันธุ์ของพืช จากต้นพืชที่มีโรคติดอยู่ ดินที่มีเชื้อโรค ผลิตผลการเกษตรที่มีเชื้อโรคติดอยู่ หรือแม้แต่การปฏิบัติต่อพืชโดยใช้เครื่องมือทางการเกษตร เช่น จอบ เสียม กรรไกร ก็สามารถพาเชื้อโรคแพร่กระจายจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งได้เช่นกัน
»
การเพาะเมล็ด
»
การย้ายกล้า
»
การย้ายปลูกลงกระถาง
»
การเด็ดยอด
»
การให้น้ำ
»
การให้ปุ๋ย
»
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
»
โรคของไม้ดอกกระถาง
» การแพร่ระบาดของโรค
»
ลักษณะอาการของโรค
»
การป้องกันกำจัดโรคพืช
»
แนวทางการป้องกันกำจัดโรค
»
การปฏิบัติเพื่อให้มีอายุใช้งานได้นาน