เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ดอก-ไม้ประดับ

การปลูกเบญจมาศ

การเตรียมดิน

ขุดดินลึก 50 เซนติเมตร เพื่อระบายน้ำ เพิ่มความร่วนซุยในดินโดยผสมแกลบ และ ปุ๋ยหมัก (หรือปุ๋ยคอก) ในอัตราส่วนดังนี้

ดิน : แกลบ : ปุ๋ยคอก (หรือปุ๋ยหมัก) 3 : 2 : 1 ผสมให้เข้ากันในระดับ 20 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องพรวนดิน ตรวจวัดสภาพดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 5.8 - 6.5 และปริมาณเกลือ ในดิน (EC) 0.8 - 1.0 mS/cm (มิลลิเซียมต่อเซนติเมตร) หากดินเค็มเกินไปให้ชะเกลือ ออกโดย ใช้สปริงเกอร์ หลังจากนั้นปรับสภาพ ความเป็นกรดเป็นด่างด้วยโดโลไมล์ (หากดินเป็นกรด) หรือ กำมถันผง (หากดิน เป็นด่าง)

การปรับปรุงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

การปรับปรุงคุณภาพดินกรดก่อนปลูกพืชโดยโดโลไมท์ กำหนดค่าที่เหมาะสมในการ ปลูก ไม้ดอก pH =6.5 อัตราที่ใช้โดโลไมท์ 1.6 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพื่อให้ค่า pH เพิ่มขึ้น 0.5 หน่วย หรือใช้โดโลไมท์ อัตรา 32 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางเมตร

การให้น้ำ

เบญจมาศต้องการน้ำประมาณ 35 -40 ลิตรต่อตารางเมตรต่อสัปดาห์ ในระยะแรก ที่ปลูกใหม่ควรให้น้ำเช้า - เย็น เมื่อต้นตั้งตัวได้แล้วให้รดน้ำวันละ 5 -6 ลิตรต่อตารางเมตร หรือทุก 3 วัน (15ลิตรต่อตารางเมตร) แล้วแต่สภาพของดิน ไม่ควรรดน้ำติดต่อกันจนแฉะ ควรเว้นให้ดินแห้งบ้าง เพื่อให้รากได้ปรับอากาศ การรดน้ำควรรดในช่วงเช้า เพื่อหลีกเลี่ยง ไม่ให้ใบเปียกช่วงกลางคืน เป็นการป้องกันการระบาดของเชื้อรา ควรรดน้ำจนโชกเพื่อให้ น้ำ ซึมไหลผ่านลงในดินให้มากพอ ไม่ควรรดน้ำให้ถูกใบเพื่อป้องกันโรคที่เกิดเชื้อรา (อาจ ทำได้โดยให้น้ำแบบน้ำหยด)

» ประเภทของพันธุ์เบญจมาศที่จำแนกตามรูปทรง
» ขั้นตอนการขยายพันธุ์
» การเตรียมดิน
» การปลูก
» การปลูกภายใต้โรงเรือน
» การบังคับไม่ให้เบญจมาศสร้างดอก
» การบังคับให้เบญจมาศสร้างดอก
» การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
» โรคและแมลงที่สำคัญ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย