เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
แกลดิโอลัส
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แกลดิโอลัสจัดเป็นพืชหัว (Corm) เมื่อปลูกแล้วจะเกิดหัวใหม่ขึ้นแทนหัวเก่า สามารถใช้ขยายพันธุ์ ได้ต่อไป และยังมีหัวย่อยเกิดขึ้นอีกมากมาย ปัจจุบันนี้มีการผลิตหัวย่อยได้ผลดีที่ภาคเหนือ ชนิดของแกลดิโอลัส ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และได้มีการนำมาใช้เป็นหลักในการพัฒนาการผลิต พันธุ์แกลดิโอลัสพันธุ์ใหม่ ๆ คือ
- แกลดิโอลัส แกรนดิฟลอรัส (Gladiolus grandiflorus) เป็นชนิดต้นใหญ่ ช่อดอกอวบยาว และ แข็งแรง ดอกใหญ่เรียงชิดกัน ช่อดอกหนึ่ง ๆ อาจมีดอกถึง 20 ดอก และดอกบานพร้อมกันประมาณ 5-7 ดอก
- แกลดิโอลัส พรายมูลินัส (Gladiolus primulinus) เป็นชนิดต้นเล็ก ช่อดอกเล็กยาวเรียว ดอกเล็กเรียงห่างกัน จำนวนดอกในช่อน้อย มีลักษณะพิเศษคือ กลีบบนชั้นในงุ้มงอปรกเกสร
- แกลดิโอลัส ทูเบอเจนนิอาย (Gladiolus tubergenii) เป็นชนิดที่ต้นและดอกเล็ก แต่ดอกใน ช่อเรียงชิดกัน ใช้ในการผสมเพื่อผลิตแกลดิโอลัสพันธุ์ดอกจิ๋ว
- แกลดิโอลัส โควิลลีอาย (Gladiolus covillei) เป็นลูกผสมระหว่างแกลดิโอลัส คาร์ดินาลิส (Gladiolus cardinalis) ซึ่งเป็นชนิดที่มีต้นสูงใหญ่ ดอกสีแดง กับแกลดิโอลัส ทริสติส (Gladiolus tristis) ซึ่งเป็นชนิดดอกเล็ก สูงไม่เกิน 60 ซม. ใน 1 ช่อมีเพียง 2-4 ดอก มีสีขาวหรือครีม และมีสี ม่วงหรือสีน้ำตาลปนอยู่เป็นเส้น
- แกลดิโอลัส นานุส (Gladiolus nanus) เป็นประเภทหนึ่งของพันธุ์โควิลลีอายที่ต้นมีขนาดเล็ก ช่อดอกเล็กเรียวยาว ขนาดดอกเล็กบอบบาง มีสองสีในแต่ละกลีบจำนวนดอกในช่อน้อยและ ดอกจะบานพร้อมกันคราวหนึ่งเพียง 1-2 ดอก ในแต่ละช่อ
»
ทำเลหรือพื้นที่ปลูก
» ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
»
พันธุ์ดอกแกลดิโอลัส
»
พันธุ์ดอกเล็กและดอกจิ๋ว
»
ขยายพันธุ์โดยใช้หัวและหัวย่อย
»
การปลูกและการดูแลรักษา
»
โรคและแมลง
»
การตัดดอก
»
การตลาด