เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ดอก-ไม้ประดับ

การปลูกปทุมมาและกระเจียว

กรมส่งเสริมการเกษตร กองส่งเสริมพืชสวน

ศัตรูและการป้องกันกำจัด

วัชพืชเป็นศัตรูที่พบและเป็นปัญหามากในแปลงปลูก เกษตรกรต้องสิ้นเปลืองแรงงานในการถอนกำจัดวัชพืชเป็นอย่างมาก ซึ่งจัดเป็นต้นทุนการผลิตส่วนหนึ่งที่ค่อนข้างสูง การใช้ยากำจัดวัชพืชชนิดยาคุมกำเนิดหญ้า ซึ่งทำลายเมล็ดวัชพืชได้หรือการใช้ยากำจัดวัชพืชใบกว้างน่าจะถูกลองนำมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานในท้องที่ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานสูงหรือหาแรงงานยาก

โรครากเน่า เป็นศัตรูที่ทำลายต้นและดอกของไม้ดอกกลุ่มปทุมมาและกลุ่มกระเจียว โรคนี้จะทำให้เหง้า, โคนเน่า และทำให้ใบประดับและใบเป็นจุดเน่า เชื้อสาเหตุของโรคนี้มี 2 ชนิดคือ เชื้อรา Rhizoctomia และเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas เชื้อรานั้นเจริญได้ดีในสภาพดินเป็นด่าง แต่ป้องกันกำจัดได้โดยการฉีดพ่นยากำจัดเชื้อราเช่น เทอร์ราคลอร์ ซูเปอร์เอ๊กซ์ หรือรอฟรอล (Rovral) ขณะที่เชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคนั้นเจริญได้ดีในสภาพดินที่เป็นกรด ซึ่งเป็นสภาพดินที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่อง และป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีได้ยาก การป้องกันที่ดีที่สุดโดยทำให้ดินเป็นด่างอย่างอ่อน ด้วยการใช้ปุ๋ยหมักหรือปูนขาว ดังนั้นจึงควรจัดการให้สภาพแปลงปลูกไม่เหมาะต่อการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรีย โดยยอมให้เชื้อราเจริญได้แต่ควบคุมเชื้อราด้วยสารเคมีแทน

ไรแดง หนอนม้วนใบ และตั๊กแตน เป็นแมลงที่พบในแปลงปลูกอยู่บ้าง การใช้ยากำจัดแมลงจึงอาจต้องการทำบ้างเป็นครั้งคราว นอกจากแมลงเหล่านี้แล้วยังอาจพบการทำลายของหอยทากด้วย อนึ่งปัญหาเรื่องแมลงนี้เป็นปัญหาที่ไม่รุนแรงเท่ากับปัญหาเรื่องโรค

» ลักษณะทั่วไปเกี่ยวกับปทุมมาและกระเจียว
» พันธุ์และการขยายพันธุ์ปทุมมาและกระเจียว
» การขยายพันธุ์
» การแยกเหง้า
» การขยายพันธุ์ด้วยชิ้นส่วนขนาดจิ๋ว
» การดูแลรักษา
» การให้น้ำ
» การพรางแสง
» การให้ปุ๋ย
» การตัดดอก
» การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
» การผลิตดอกนอกฤดู
» การเก็บเหง้า
» ศัตรูและการป้องกันกำจัด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย