เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงเป็ดโป๊ยฉ่าย
พันธุ์และการผสมพันธุ์
เป็ดโป๊ยฉ่ายเป็นเป็ดที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเป็ดเทศตัวผู้กับเป็ดพันธุ์ไข่
หรือพันธุ์เนื้อทั่วๆ ไป ลูกผสมที่เกิดมาจะเป็นหมัน ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้
เนื่องจากว่าเป็ดเทศและเป็ดพันธุ์ไข่หรือเป็ดพันธุ์เนื้อทั่วๆ ไป เป็นคนละสกุล
(genus) จึงมีจำนวนโครโมโซมไม่เท่ากัน
ลูกผสมที่ได้จึงเป็นหมันไม่สามารถขยายพันธุ์ได้
แต่เหมาะที่จะเป็นเป็ดเนื้อเพราะว่าลูกผสมมีการเจริญเติบโตสูงกว่าเป็ดพื้นเมือง
หรือเป็ดพันธุ์ไข่ทั่วๆ ไป สำหรับเป็ดเทศพันธุ์แท้ๆ นั้น
ตัวของมันเองมีการเจริญเติบโตสูงแต่มีข้อจำกัดคือ ตัวเมียมีไข่ไม่มากปีละ 60-70 ฟอง
ไม่เหมาะที่จะทำเป็นกิจการใหญ่โต
หรือทำเป็นการค้าแต่ว่าถ้าใช้เป็ดเทศเป็นสายพ่อพันธุ์
และใช้แม่พันธุ์พื้นเมืองของเราแล้วจะผลิตลูกผสมออกได้พอกับความต้องการของตลาดได้
เป็ดโป๊ยฉ่าย (Mule Duck)
ในประเทศไทยเรามีการผลิตและเลี้ยงกันมาก่อนตั้งแต่นมนานมาแล้ว
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตและผสมพันธุ์โดยชาวจีน
เพราะการเลี้ยงเป็ดโป๊ยฉ่ายเป็นเทคโนโลยีของชาวจีนแผ่นดินใหญ่มาตั้งแต่โบราณเป็นพันปีมาแล้ว
การเลี้ยงเป็ดโป๊ยฉ่ายในบ้านเราก็อยู่ในแถบจังหวัดนครปฐม อ่างทอง สิงห์บุรี
สมุทรสงคราม และสมุทรปราการ โดยเฉพาะแถบจังหวัดนครปฐมจะมีมากกว่าจังหวัดอื่นๆ
แต่การผลิตลูกยังมีข้อจำกัด เพราะยังไม่ทราบเทคนิคการผลิต และการเลี้ยงดูที่ถูกวิธี
โดยเฉพาะวิธีผสมเทียมยังไม่ได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
ข้อกำจัดนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่สามารถผลิตลูกเป็ดโป๊ยฉ่ายได้มากตามความต้องการทั้งนี้
เพราะว่าการผสมพันธุ์ระหว่างเป็ดเทศตัวผู้กับตัวเมียเป็นไปด้วยความลำบาก
การผสมติดต่ำ เพราะว่าเป็ดเทศพ่อพันธุ์มีขนาดและน้ำหนักใหญ่กว่าตัวเมีย ถึง 45-50%
ทำให้การขึ้นผสมของตัวผู้ลำบาก จึงทำให้การผสมติดต่ำ
ถ้าหากได้มีการนำวิธีการผสมเทียมมาใช้จะสะดวกรวดเร็ว และขยายพันธุ์ได้มากเป็นหมื่น
เป็นแสนๆ หรือล้านตัวก็ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในจีน ไต้หวัน เขาผลิตเป็ดโป๊ยฉ่ายโดยการผสมพันธุ์เป็น 3 สายพันธุ์
ขั้นแรกเราจะผลิตเป็น 2 สายพันธุ์
ระหว่างพ่อพันธุ์เป็ดปักกิ่งผสมกับเป็ดพื้นเมืองพันธุ์ไข่ ชื่อ ไชยา
ก่อนแล้วใช้เป็ด 2 สายพันธุ์นี้เป็นฝ่ายแม่ เพื่อผสมกับเป็ดเทศสีขาวตัวผู้
ลูกที่เกิดมาจะเป็ดเป็ดโป๊ยฉ่ายขนสีขาว และนำไปเลี้ยงเป็นเป็ดเนื้อ
และขายขนไปพร้อมๆ กัน
ต่อไปนี้จะเป็นแผนการผสมพันธุ์
และลักษณะการเจริญเติบโตประสิทธิภาพการใช้อาหารของเป็ดโป๊ยฉ่ายใต้หวัน
แสดงการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กิน ประสิทธิภาพการใช้อาหารของเป็ดโป๊ยฉ่ายของจีน
ไต้หวัน เป็นลูกผสม 2 สาย และ 3 สายพันธุ์
การเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กินต่อวัน
และต่อสัปดาห์ของเป็ดโป๊ยฉ่ายที่เกิดจากการผสมของเป็ดเทศสีขาว
และเป็ดปักกิ่งของกรมปศุสัตว์ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ สุราษฏร์ธานี
เป็นเป็ดโป๊ยฉ่ายของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี
ที่ทำการผสมระหว่างเป็ดเทศพ่อพันธุ์สีขาวกับเป็ดปักกิ่งของกรมปศุสัตว์ เมื่อปี พ.ศ.
2532 โดยทำการเลี้ยงด้วยอาหารผสมชนิดผงมีโปรตีน 18% เมื่ออายุ 0-4 สัปดาห์
แล้วจึงเปลี่ยนเป็นอาหารชนิดเดียวกัน แต่มีโปรตีน 16% เมื่ออายุ 5-10 สัปดาห์
จากข้อมูลผลการทดลองดังกล่าวข้างต้น
และเห็นว่าเป็ดโป๊ยฉ่ายของกรมปศุสัตว์มีศักยภาพที่จะทำการพัฒนาไปได้อีกมาก
โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะส่งตลาดได้ภายในอายุต่ำกว่า หรือเท่ากับ 8 สัปดาห์
เพราะว่าเมื่อเป็ดโป๊ยฉ่ายพันธุ์นี้มีอายุระหว่าง 9-10 สัปดาห์
เป็ดจะกินอาหารมากแต่มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ
ถ้าพัฒนาพันธุ์ให้สามารถส่งตลาดได้ภายในเวลา 8 สัปดาห์
แล้วจะได้กำไรมากอันเนื่องมาจากเป็ดกินอาหารน้อยแต่ได้น้ำหนักมาก
การวิจัยและพัฒนาควรจะเน้นในด้านเพิ่มปริมาณเนื้อแดงให้มากขึ้นแทนการเพิ่มโครงกระดูก
หรือไขมันใต้ผิวหนัง
ซึ่งขณะนี้กรมปศุสัตว์กำลังทำการวิจัยและพัฒนาพันธุ์เป็ดชนิดนี้อยู่
หากเกษตรกรมีความสนใจต้องการนำพันธุ์และวิธีการผลิตลูกเป็ดโป๊ยฉ่ายกรมปศุสัตว์
โดยกลุ่มงานสัตว์ปีก กองบำรุงพันธุ์สัตว์
ยินดีที่จะให้การสนับสนุนด้านพันธุ์และวิชาการแนะนำ
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลต้นทุนการผลิตเป็ดพันธุ์เนื้อของเกษตรกรของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.
2532 จะเห็นว่าต้นทุนการผลิตเป็ดพันธุ์เนื้อ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นค้าลูกเป็ด
โดยเฉพาะเป็ดพันธุ์ปักกิ่ง และเป็ดโป๊ยฉ่าย
อย่างไรก็ดีเป็ดโป๊ยฉ่ายยังกำไรให้สูงกว่าเป็ดพันธุ์ปักกิ่ง
ทั้งนี้เพราะต้นทุนค่าอาหารต่ำกว่าเป็ดปักกิ่ง
ต้นทุนการผลิตเป็ดเนื้อพันธุ์ปักกิ่ง ลูกผสมพื้นเมืองและเป็ดโป๊ยฉ่ายของประเทศไทย
ปี 2532
»
การเลี้ยงลูกเป็ดโป๊ยฉ่าย อายุ 0-2 สัปดาห์
»
การเลี้ยงเป็ดโป๊ยฉ่าย อายุ 3-8 สัปดาห์
»
การเลี้ยงเป็ดโป๊ยฉ่ายระยะสุดท้าย อายุ 8-10 สัปดาห์
»
การฝักไข่เป็ดโป๊ยฉ่าย
» พันธุ์และการผสมพันธุ์
»
ความต้องการอาหาร