เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

การเลี้ยงห่าน

เรือนโรงสำหรับเลี้ยงห่าน

ปกติแล้วโรงเรือนสำหรับเลี้ยงห่านใหญ่ไม่ค่อยจะจำเป็นนัก นอกจากลูกห่านในระยะแรกเกิด ควรจะมีโรงเรือนเลี้ยงเป็นสัดส่วน แต่อย่างไรก็ตามอาจจะสร้างเป็นโรงเรือนเล็ก ๆ สำหรับใช้เลี้ยงห่านโดยทั่วไปก็ได้ อย่างเช่น โรงเรือนเลี้ยงไก่หรือเป็ด แต่หากจะประหยัด หรือลดต้นทุนการผลิตอาจจะกั้นบริเวณใต้ถุนหรือบริเวณลานบ้าน ใช้สังกะสีหรือลวดตาข่ายสูง 1 เมตร ล้อมกั้นบริเวณก็ได้ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนสถานที่ สิ่งที่สำคัญก็คือ พื้นเล้าของโรงเรือน หรือบริเวณที่กั้นเลี้ยงห่านจะต้องแห้ง มีสิ่งรองพื้นหนาพอสมควร ในการเลี้ยงปล่อยควรมีร่มต้นไม้ไว้สำหรับห่านได้หลบแดดด้วย

ความต้องการพื้นที่เลี้ยงของห่านขนาดต่างๆ

  • ลูกห่านอายุ 1 สัปดาห์ ควรจัดให้มีพื้นที่ 1/2 - 3/4 ตารางฟุต/ตัว
  • ลูกห่านอายุ 2 สัปดาห์ ควรจัดให้มีพื้นที่ 1 - 1 1/2 ตารางฟุต/ตัว
  • ลูกห่านอายุ 2 สัปดาห์ขึ้นไปอย่างน้อย 2 ตารางฟุต/ตัว

แต่ควรปล่อยอิสระออกเลี้ยงในทุ่งหญ้าหรือแปลงหญ้า การเลี้ยงห่านอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือ

  1. การเลี้ยงห่านเพื่อผลิตไข่ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก ทั้งนี้เนื่องจากห่านไข่ไม่ดก เพราะให้ไข่ปีละ 4-5 ครั้ง ๆ ละ 7-10 ฟองเท่านั้น
  2. การเลี้ยงห่านเพื่อขยายพันธุ์ โดยทั่วไปแล้วห่านที่เลี้ยงเพื่อการขยายพันธุ์จะเป็นห่านที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งในช่วงการให้ไข่ปีที่ 2 และปีที่ 3 ห่านจะให้ไข่ดี
  3. การเลี้ยงห่านเนื้อ เพื่อขายเป็นห่านกระทง อายุระหว่าง 2-4 เดือน ห่านที่ใช้เลี้ยงเป็นห่านเนื้อ ควรจะเจริญเติบโตเร็วมีขนสีขาวและขนขึ้นเต็ม มีซากตกแต่งแล้วขนาดปานกลาง

» ประโยชน์ของการเลี้ยงห่าน
» เรือนโรงสำหรับเลี้ยงห่าน
» วิธีเริ่มต้นเลี้ยงห่าน
» การฟักไข่ห่าน
» การดูเพศของห่าน
» การจัดการและการเลี้ยงดู
» การคัดเลือกห่านสำหรับผสมพันธุ์
» การผสมพันธุ์
» การสุขาภิบาลและการป้องกันโรค
» คุณค่าทางอาหารของเนื้อห่าน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย