เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

โรคที่สำคัญในโคนม

      โครีดนมทุกตัวจะต้องรับการตรวจวัณโรคและโรคบรูเซลโลซิส (แท้งติดต่อ) ทุกปี เพราะทั้งสองโรคนี้ติดต่อถึงคนได้ทางน้ำนม เกษตรกรที่ได้รับการนัดตรวจโรคจะต้องกักโคไว้ เตรียมซองบังคับสัตว์และเชือกไว้ให้พร้อมถ้าผลการตรวจชี้ชัดว่าโคเป็นโรคบรูเซลโลซิสหรือวัณโรคแล้วจะต้องคัดทิ้งทันที่เพราะเป็นอันตรายต่อการติดโรคไปยังโคตัวอื่น ๆ ในฝูงและผู้เป็นเจ้าของเองเป็นอย่างยิ่ง

  • การตรวจวัณโรค โคจะถูกฉีดทูเบอร์คิวลิน (น้ำยาที่ใช้ตรวจ) ที่ใต้โคนหางและเจ้าหน้าที่จะมาอ่านผลภายใน72 ชั่วโมง นั่นคือ เกษตรกรจะต้องกักโคไว้ให้ตรวจโรค 2 ครั้งห่างกัน 3 วัน
  • การตรวจโรคบรูเซลโลซิส (แท้งติดต่อ) เจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดบริเวณคอจำนวน 5-10 มิลลิลิตร เพื่อแยกเอาซีรั่มไปตรวจในห้องปฏิบัติการ

เกษตรกรควรเห็นความสำคัญและผลดีของการตรวจโรคประจำปีเพราะ

  1. ทำให้ฝูงโคนมปลอดจากเชื้อโรคทั้งสอง แม้จะต้องคัดสัตว์ป่วยออกแต่ก็เป็นการกำจัดโรคเสียแต่ต้นมือ ผลเสียหายย่อมน้อยกว่าปล่อยให้โรคแพร่กระจายไปยังโคหลายตัว
  2. เป็นโอกาสที่เจ้าหน้าที่และสัตวแพทย์จะได้เห็นโคทั้งหมดอย่างใกล้ชิดซึ่งอาจมีคำแนะนำบางประการให้แก่เกษตรกรเฉพาะราย

» วัคซีนโค
» ประเภทของเวชภัณฑ์
» ตู้ยาประจำคอกโคนม
» การใช้ปรอทวัดไข้
» โรค
» โรคปอดบวมในลูกโค
» ฝี
» ปัสสาวะแดง
» วัณโรค
» โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
» โรคปากและเท้าเปื่อย
» โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
» โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
» โรคเต้านมอักเสบ
» โรคไข้น้ำนม
» หูดโค
» ขี้กลากโค
» ท้องอืดในโค
» พยาธิภายในของโคนม
» พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
» พยาธิตัวตืด
» พยาธิใบไม้ในตับ
» หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
» การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
» การให้ยาโคนม
» การให้ยาทางปากแก่โค
» การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
» การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
» การให้ยาภายนอก
» การให้ยาสอดเต้านม
» การทำลายซากโค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย