เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
โรคที่สำคัญในโคนม
โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
เป็นโรคระบาดในโค-กระบือ มักพบเมื่อสัตว์อ่อนแอลง เช่น
อ่อนเพลียจากการเคลื่อนย้าย, อากาศชื้นแฉะหรือขาดอาหาร
ในรายที่เป็นอย่างร้ายแรงอาจทำให้สัตว์ตายก่อนที่จะแสดงอาการให้เห็น
สัตว์จะมีไข้สูงอย่างรวดเร็ว หายใจหอบ น้ำลายฟูมปาก หยุดกินและเคี้ยวเอื้อง
ท้องผูกในระยะแรก แล้วต่อมาท้องร่วง อาการที่พบทั่วไปได้แก่
คอบวมร้อนและแสดงอาการเจ็บปวด หายใจดัง การบวมอาจลามลงไปถึงใต้คาง แก้ม คอส่วนล่าง
จนถึงไหล่และขาหน้า กลืนอาหารลำบาก ลิ้นบวมห้อยจุกปาก เยื่อบุปากมีสีแดงจัด
น้ำมูกน้ำลายไหลตลอดเวลา สัตว์อาจตายเนื่องจากหายใจไม่สะดวกภายใน 6 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังอาจแสดงอาการทางลำไส้และปอดด้วย คือ ปวดเสียด ท้องเดิน
หายใจช้าและในรายที่เป็นอยู่นานจะแสดงอาการไอ
เมื่อมีโคแสดงอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้
ให้รีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ท้องที่หรือสัตวแพทย์อำเภอทันที
เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การรักษาในระยะเริ่มแรก
โดยใช้ยาปฏิชีวนะพวกเตตราไซคลีนและเพนนิซิลินหรือยาซัลฟาจะได้ผลดี
และควรรักษาให้โรคหายขาดจริง ๆ
ส่วนการป้องกันที่ได้ผลดีก็คือการฉีดวัคซีนซึ่งผลิตโดยกรมปศุสัตว์ให้แก่โคอายุตั้งแต่
6 เดือนขึ้นไป ปีละ 2 ครั้ง และหลีกเลี่ยงการทำให้โคเกิดความเครียดหรืออ่อนเพลีย
»
วัคซีนโค
»
ประเภทของเวชภัณฑ์
»
ตู้ยาประจำคอกโคนม
»
การใช้ปรอทวัดไข้
»
โรค
»
โรคปอดบวมในลูกโค
»
ฝี
»
ปัสสาวะแดง
»
วัณโรค
»
โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
»
โรคปากและเท้าเปื่อย
» โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
»
โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
»
โรคเต้านมอักเสบ
»
โรคไข้น้ำนม
»
หูดโค
»
ขี้กลากโค
»
ท้องอืดในโค
»
พยาธิภายในของโคนม
»
พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
»
พยาธิตัวตืด
»
พยาธิใบไม้ในตับ
»
หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
»
การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
»
การให้ยาโคนม
»
การให้ยาทางปากแก่โค
»
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
»
การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
»
การให้ยาภายนอก
»
การให้ยาสอดเต้านม
»
การทำลายซากโค