เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
โรคที่สำคัญในโคนม
การให้ยาทางปากแก่โค
ยาที่ใช้ให้ทางปากมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ เป็นเม็ด เป็นผงใช้ละลายน้ำ และเป็นของเหลวหรือสารละลายแขวนลอย
ธรรมชาติในช่องปากของโค ไม่มีฟันด้านข้างทั้งบนและล่าง การให้ยาทางปากผ่านช่องทางนี้จึงปลอดภัย หลักการให้ยาทางปากแก่โคก็คือ
- บังคับให้ส่วนหัวของโคอยู่นิ่ง หน้าแหงนขึ้นเล็กน้อย ระวังอย่าให้เชือกรัดคอหรือหน้าแหงนมากเกินไป เพราะจะทำให้กลืนลำบากและสำลักยาทิ้ง
- เปิดปากโคโดยสอดมือเข้าด้านข้างที่ไม่มีฟัน ดึงลิ้นโคออกมา
- ถ้าเป็นยาชนิดเม็ด ให้วางยาลงบนโคนลิ้นให้ลึกที่สุด แล้วหุบปากโคให้แน่นสักครู่ กะให้โคกลืนยาแล้วจึงปล่อย การกรอกน้ำตามก็เป็นวิธีที่ได้ผลดี
- ถ้าเป็นยาน้ำ ควรบรรจุยาลงในขวดคอยาว เช่น ขวดน้ำอัดลมหรือขวดเหล้า สอดมือเปิดปากโคด้านหนึ่งและสอดปากขวดเข้ าอีกด้านหนึ่งเทยาลงช้า ๆ เป็นจังหวะ ให้โคกลืนลงไปเองอย่ายืดลิ้นโคไว้แน่นจนไม่สามารถช่วยกลืนได้
- ถ้ายาเป็นสารละลายแขวนลอย ให้คนเป็นเนื้อเดียวกันก่อนใช้
- ถ้าเป็นยาผงที่ใช้ผสมน้ำกรอก ต้องใช้ทันที อย่าผสมทิ้งไว้
- ยาบางอย่างอาจใช้ผสมในนมให้ลูกโคได้ แต่บางครั้งไม่ควรผสมในอาหารให้แม่โค ถ้าไม่แน่ใจว่าโคจะกินอาหารหมด (ยาอาจมีกลิ่นและรสที่โคไม่ชอบ) หรือมีการหกหล่น
»
วัคซีนโค
»
ประเภทของเวชภัณฑ์
»
ตู้ยาประจำคอกโคนม
»
การใช้ปรอทวัดไข้
»
โรค
»
โรคปอดบวมในลูกโค
»
ฝี
»
ปัสสาวะแดง
»
วัณโรค
»
โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
»
โรคปากและเท้าเปื่อย
»
โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
»
โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
»
โรคเต้านมอักเสบ
»
โรคไข้น้ำนม
»
หูดโค
»
ขี้กลากโค
»
ท้องอืดในโค
»
พยาธิภายในของโคนม
»
พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
»
พยาธิตัวตืด
»
พยาธิใบไม้ในตับ
»
หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
»
การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
»
การให้ยาโคนม
» การให้ยาทางปากแก่โค
»
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
»
การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
»
การให้ยาภายนอก
»
การให้ยาสอดเต้านม
»
การทำลายซากโค