เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
โรคที่สำคัญในโคนม
การให้ยาภายนอก
ยาที่ใช้ภายนอกร่างกาย แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- ยากำจัดพยาธิภายนอก อยู่ในรูปของของเหลวหรือสารละลาย
ใช้พ่นหรือเช็ดหรืออาบให้สัตว์ ควรผสมในอัตราส่วนที่ถูกต้อง
น้ำยาที่เข้มข้นเกินไป อาจทำอันตรายขนและผิวหนังโคได้
และถ้าโคเลียกินเข้าไปก็จะแสดงอาการแพ้ นอกจากนี้
ยังเป็นเหตุให้พยาธิภายนอกเกิดการดื้อยาได้เร็วขึ้นด้วย
ผู้พ่นควรอยู่เหนือลมและงดบริโภคอาหารทุกสิ่ง
เมื่อเสร็จจากการใช้ยาเหล่านี้แล้วต้องชำระร่างกายและเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่มเสีย
- ยาใส่แผลภายนอก ที่ใช้เป็นประจำในโคนมก็คือ ทิงเจอร์ไอโอดีน สำหรับแผลสดและเนกาซันท์สำหรับพ่นแผลกันแมลง ทุกครั้งที่เกิดบาดแผลขึ้นเกษตรกรจะต้องทำความสะอาดแล้วโกนขนรอบ ๆ บาดแผลเสียก่อน แล้วจึงใส่ยา มิฉะนั้นแล้ว ความสกปรกของขนรอบ ๆ บาดแผลจะทำให้แผลหายช้าลงหรือกลายเป็นแผลเรื้อรังไปในที่สุด
ทุกครั้งที่ใช้ยากำจัดแมลงหรือตัวหนอนใส่บาดแผล พึงระลึกเสมอว่ายาฆ่าหนอนได้ก็สามารถฆ่าโคได้เช่นกัน ถ้าหากโคเลียกินเข้าไปมาก ๆ จึงควรป้องกันโดยผูกเชือกคอให้สั้นแค่พอก้มลงกินน้ำและอาหารได้เท่านั้น
นอกจากนี้ยังมียาทาภายนอกเฉพาะแห่ง เช่น ยารักษาเชื้อรา ครีม ปฏิชีวนะ เป็นต้น ซึ่งก็มีหลักการใช้เช่นเดียวกับยาภายนอกที่กล่าวมาแล้ว
»
วัคซีนโค
»
ประเภทของเวชภัณฑ์
»
ตู้ยาประจำคอกโคนม
»
การใช้ปรอทวัดไข้
»
โรค
»
โรคปอดบวมในลูกโค
»
ฝี
»
ปัสสาวะแดง
»
วัณโรค
»
โรคแท้งติดต่อ(บรูเซลโลซีส)
»
โรคปากและเท้าเปื่อย
»
โรคคอบวมหรือโรคคอดัง
»
โรคกาลีหรือโรคแอนแทรกซ์
»
โรคเต้านมอักเสบ
»
โรคไข้น้ำนม
»
หูดโค
»
ขี้กลากโค
»
ท้องอืดในโค
»
พยาธิภายในของโคนม
»
พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร
»
พยาธิตัวตืด
»
พยาธิใบไม้ในตับ
»
หน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคพยาธิ
»
การเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
»
การให้ยาโคนม
»
การให้ยาทางปากแก่โค
»
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโคนม
»
การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
» การให้ยาภายนอก
»
การให้ยาสอดเต้านม
»
การทำลายซากโค