เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

การเลี้ยงโคนมสำหรับเกษตรกร

กองปศุสัตว์สัมพันธ์ กรมปศุสัตว์

พันธุ์โคนม

โคนมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อน เช่น พันธุ์เรดซินดี้ , ซษฮิวาล เป็นต้น จะสังเกตได้ได้ง่ายคือ โคนม พวกนี้จะมีโหนกหลังใหญ่และทนร้อนได้ดี แต่ให้นมได้ไม่มากนัก
  2. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว หรือเรียกโคยุโรป มีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ ซึ่งโคยุโรปนี้จะสังเกต ได้ง่ายคือไม่มีโหนกที่หลัง คือ จะ เห็นแนวสันหลังตรง มักไม่ค่อยทนต่ออากาศร้อน พันธุ์ที่สำคัญได้แก่ ขาวดำ หรือ โฮลสไตน์ฟรีเชียน

โคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน

โคพันธุ์นี้ มีถิ่นกำเนิดในประเทศฮอลแลนด์ เป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและ ได้รับความนิยม เลี้ยงกันมากที่สุดเพราะให้นมมากมีสีดำตัดขาว รูปร่างใหญ่ขนาดโตเต็มที่ ตัวผู้หนักให้นมมาก มีสีดำตัดขาว รูปร่างใหญ่ขนาดโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 800 -1,000 ก.ก. ตัวเมียหนัก 600-700 ก.ก. โคพันธุ์นี้ชอบอากาศหนาว อุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 22 ซ. แต่ในประเทศต่าง ๆ ที่มีอากาศร้อน ก็ยังนิยมเลี้ยงโคพันธุ์นี้กันมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ โดยเลี้ยงลูกผสมที่มีเลือดโคพันธุ์โลสไตน์ โดยผสมพันธุ์ด้โคที่มีสายเลือดพอเหมาะ สำหรับในประเทศไทย ซึ่งเป็น ประเทศร้อน การเลี้ยงโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ ที่เป็นพันธุ์แท้มักจะมีปัญหามาก ถ้าหากการจัดการไม่ดี ดังนั้น เกษตรกรควรจะเลี้ยงลูกผสม ระหว่างโคพันธุ์โฮลสไตน์ กับโคพื้นเมืองหรือโคที่มีกำเนิดในแถบร้อนพันธุ์อื่น ๆ โดยมีสายเลือด โคนมพันธุ์โฮลสไตน์อยู่ระหว่าง 50 -70 % จึงจะพอเหมาะ ซึ่งลูกผสมระดับสายเลือดนี้จะให้ผลิต การให้นมเฉลี่ยปีละประมาณ 1,800 - 2,200 ก.ก.

เป็นโคนมพันธุ์ผสมที่เกิดขึ้นจากการผสมพันธุ์ ระหว่าง พ่อพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน พันธุ์แท้ ( ขาว -ดำ ) กับ แม่พันธุ์ซึ่งมีสายเลือดอเมริกันบราห์มันสูง กรมปศุสัตว์ปรับปรุงพันธุ์นี้ให้เป็นพันธุ์โคนมหลักของประเทศ

» พันธุ์โคนม
» การเลี้ยงดู
» อาหารและการให้อาหาร
» การป้องกันโรคและสุขาภิบาล

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย