เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงโคนมสำหรับเกษตรกร
กองปศุสัตว์สัมพันธ์ กรมปศุสัตว์
การเลี้ยงดู
การเลี้ยงดูลูกโค
ก่อนที่จะพูดถึงการเลี้ยงลูกโค ควรจะทำความรู้รู้จักกับนมน้ำเหลืองก่อน นมน้ำเหลือง คือน้ำนมที่ผลิต ออกมาจากแม่โคในระยะแรกคลอดจะผลิตออกมานานประมาณ 2-5 วัน ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นนมธรรมดา ลักษณะของนมน้ำเหลืองจะมีสีขาวปนเหลือง มีรสขม มีคุณสมบัติคือ จะมีภูมิคุ้มโรค อีกทั้งช่วยป้องกันโรคที่ เกิดกับระบบลำไส้และผิวหนังและยังเป็นยาระบายท้องอ่อน ๆ ของลูกโคได้อีกด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูงเมื่อ ลูกโคคลอดมาใหม่ ๆ ควรแยกลูกโคออกจากแม่โคทันที และควรจะให้กินนมน้ำเหลืองจากแม่โคภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงโดยเร็ว ลูกโคควรได้กินนมน้ำเหลืองราว 2-5 วัน ให้กินวันละ 2 เวลา เช้า, เย็น
วิธีการฝึกให้ลูกโคกินนม
อาจฝึกได้โดยให้ลูกโคกินนมจากถังพลาสติกหรืออะลูมิเนียมหัดให้กินโดยใช้นิ้วมือจุ่มลงในน้ำนมให้เปียก
แล้วแหย่เข้าไปในปากลูกโคให้ลูกโคดูด แล้วกดหัวลูกโคให้ปากจุ่มลงไปในน้ำนม
ลูกโคจะดูดนิ้วมือ ขณะเดียวกันน้ำนมก็จะไหลเข้าไปได้หัดดูดนิ้วมือเช่นนี้ประมาณ 3-4
ครั้งต่อ ๆ ไปจึงค่อย ๆ ดึงนิ้วมือออก ปล่อยให้ลูกโคดูดกินเองต่อไป ทำเช่นนี้ประมาณ
1-3 วัน ลูกโคก็จะค่อย ๆ เคยชิน สามารถดูดจากถังเองได้
วิธีเลี้ยงลูกโคระยะแรกอาจปฏิบัติได้ดังนี้
นมแม่ ให้ลูกโคกินต่อหลังจากนมน้ำเหลืองหมดจนลูกโคอายุได้ 1 เดือน (4 สัปดาห์)
แล้วจึงให้กินนมเทียม หรือนมผงละลายน้ำต่อจนอายุได้ 3-4 เดือน (12-16 สัปดาห์)
จึงหย่านม
นมเทียม หรือนมผงละลายน้ำ สำหรับการเลี้ยงลูกโคเพศเมีย
ควรให้กินต่อจากนมแม่เมื่ออายุได้ 1 เดือน (4 สัปดาห์) แต่สำหรับลูกโคเพศผู้
ควรให้กินนมแม่อย่างน้อย 1 สัปดาห์ จึงเริ่มให้กินนมเทียมหรือนมผง ละลายน้ำ
และให้กินต่อไปจนหย่านมหรืออายุได้ประมาณ 3-4 เดือน (12-16 สัปดาห์)
หมายเหตุ การเลี้ยงดูลูกโคนมดังกล่าวมาแล้ว เป็นการเลี้ยงดูลูกโคแบบ
"ให้นมจำกัดหรือให้อาหารข้น ลูกโคอ่อน" ไม่ว่าเลี้ยงดูด้วยนมแม่หรือนมเทียมกล่าวคือ
การให้นมควรจะให้ในปริมาณที่เกือบคงที่ตลอดไป คือประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว
ตัวอย่างเช่น ลูกโคเกิดมามีน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ก็ให้นมวันละ 3-4 กิโลกรัม
ตลอดไปโดยแบ่งให้เข้า 2 กิโลกรัม บ่าย 2 กิโลกรัม
จนอายุหย่านมในขณะเดียวกันควรตั้งอาหารข้น
สำหรับลูกโคและหญ้าแห้งคุณภาพดีวางไว้ให้ลูกโคได้ทำความรู้จักและหัดกิน
ตั้งแต่ลูกโคอายุได้ 1 สัปดาห์ จนถึง 12 สัปดาห์ต่อจากนั้นให้กินหญ้าสด
วิธีการดังกล่าวเป็นการหัดโดยการบังคับให้ลูกโค ช่วยเหลือตัวเอง
โดยเร็วที่สุดเป็นวิธีการที่ประหยัดนมแม่โคได้มาก และรวมทั้งนมเทียมด้วย
เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงดู ลูกโค
อนึ่ง สำหรับวิธีการผสมนมเทียม หรือนมผงละลายน้ำเราอาจใช้การผสมในอัตราส่วน 1 ต่อ 7 ถึง 10 ส่วน แต่ที่นิยมใช้คือ 1 ต่อ 8 หรือ 1 ต่อ 9 ส่วน ตัวอย่างเช่นถ้าใช้นมผง 1 กิโลกรัมก็ต้องผสมน้ำ 8 กิโลกรัม หรือ ถ้าใช้นมผง ฝ กิโลกรัม ก็ต้องผสมน้ำ 4 กิโลกรัม ในการผสมแต่ละครั้งควรคนให้เข้ากัน และต้องเติมน้ำมัน ตับปลาหรือวิตามินลงไปด้วยการผสมนมผงแต่ละครั้งมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับท่านมีลูกโคจำนวนมาก น้อยเพียงใด
การทำเครื่องหมาย
ลูกโคที่เกิดออกมาโดยมีพ่อและแม่พันธุ์เดียวกัน พ่อตัวเดียวกันก็ย่อมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เมื่อโตขึ้น อาจจะสัตว์ไม่ได้ หรือจำผิดพลาดได้ว่าเกิดเมื่อไร พ่อแม่ชื่ออะไร หรือเบอร์อะไร และเมื่อทำการซื้อ-ขาย จะทำประวัติก็เป็นการยุ่งยากลำบาก ดังนั้นลูกโคจึงจำเป็นที่จะต้องทำเครื่องหมายเพื่อแสดงให้ทราบว่าเกิดจากพ่อแม่พันธุ์อะไร เบอร์อะไร เมื่อไหร่ ซึ่งจะเป็นการสะดวกในการทำประวัติ และป้องกันรักษาโรค ซึ่งอาจทำได้หลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น ทำเครื่องหมายโดยตัดหู ตีเบอร์ติดหู ตีเบอร์ไฟ หรืออื่น ๆ เป็นต้น และเมื่อลูกโคอายุได้ประมาณ 3-6 สัปดาห์ หรือประมาณ 1-2 เดือน ก็ควรทำการจี้เขาเพื่อทำไม่ให้มีเขาอันจะเป็นอันตรายต่อฝูงโคหรือเจ้าของสัตว์เองได้
การเลี้ยงโครุ่น-โคสาว
เมื่อลูกโคอายุได้ 4 เดือน ระบบการย่อยได้พัฒนาดีขึ้นในช่วงนี้อัตราการตายจะต่ำ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าพ้นช่วงระยะอันตรายแล้วจากระยะนี้ถึงระยะโครุ่น คืออายุประมาณ 180-205 วัน ( น้ำหนักประมาณ 120-150 กิโลกรัม ) ซึ่งระยะนี้ถึงระยะโครุ่น คืออายุประมาณ 180-205 วัน (น้ำหนักประมาณ 120-150 กิโลกรัม) ซึ่ง ระยะนี้โคจะสามารถกินหญ้าได้ดีแล้ว จากนั้นก็จะถึงระยะการเป็นโคสาว (น้ำหนักประมาณ 200-250 กิโลกรัม) ต่อไปก็จะถึงระยะเกณฑ์ผสมพันธุ์ คืออายุได้ประมาณ 18-22 เดือน (น้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม หรือประมาณ 60-70% ของน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่) ในช่วงดังกล่าวนี้ โคจะเจริญอย่างรวดเร็ว ควรเพิ่มอาหารผสมให้บ้างเป็นวันละ 1-2 กิโลกรัม และให้หญ้ากินเต็มที่ ในกรณีที่เลี้ยงแบบปล่อยลงใน แปลงหญ้าก็จะเป็นการดียิ่งขึ้น เพราะโคได้ออกกำลังกายและยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและแรงงาน ได้มากอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในการให้อาหารผสม (อาหารข้น) แก่โครุ่น-โคสาว ในปริมาณมากน้อย เท่าใดนั้นให้พิจารณาถึงคุณภาพของหญ้าที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นสำคัญ
การเลี้ยงและดูแลโครีดนม
แม่โคจะให้นมหรือมีน้ำนมให้รีดก็ต่อเมื่อหลังจากคลอดลูกในแต่ละครั้งซึ่งจะให้นมเป็นระยะยาว, สั้น มากน้อยต่างกันขึ้นกับความสามารถของแม่โคแต่ละตัว, พันธุ์และปัจจัยอื่น ๆ อีก แต่โดยทั่วไปจะรีดนม ได้ประมาณ 5-10 เดือน นมน้ำเหลืองควรจะรีดให้ลูกโคกินจนหมดไม่ควรนำส่งเข้าโรงงานเป็นอันขาดและ ควรให้อาหารแก่นมโคอย่างเพียงพอเพื่อแม่โคจะได้ไปสร้างน้ำนมและเสริมสร้างร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่ยังไม่ สมบูรณ์ได้อย่างเพียงพอ ภายหลังจากคลอดลูกโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30-70 วันหลังจากคลอดมดลูกจะ เริ่มกลับเข้าสู่สภาพปกติ แม่โคจะเริ่มเป็นสัดอีกแต่อย่างไรก็ตามเมื่อแม่โคแสดงอาการเป็นสัดภายหลังคลอด น้อยกว่า 25 วันยังไม่ควรให้ผสม เพราะมดลูกและอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพิ่งฟื้นตัวใหม่ ๆ ยังไม่เข้าสู่ สภาพปกติ ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ควรจะรอให้เป็นสัดครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจึงค่อยผสมซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ เวลาประมาณ 45-72 วัน หลังจากคลอด
การเป็นสัดคืออะไร
การเป็นสัดคือการที่สัตว์ตัวเมียยอมให้ผสมพร้อม ๆ กันจะมีการตกไข่เกิดขึ้น (โคนมลูกผสมส่วนมากจะมี อายุเข้าสู่วัยหนุ่มสาวประมาณ 1-2 ปีโดยเฉลี่ย) โคเป็นสัดก็หมายถึงโคที่เริ่มจะเป็นสาวแล้วพร้อมที่จะได้ รับการผสมโดยวิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งอาจเป็นการผสมเทียม หรือผสมแบบธรรมชาติก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกหรือ ความต้องการของผู้เป็นเจ้าของ การเป็นสัดของโคแต่ละรอบจะห่างกันประมาณ 21 วัน และในแต่ละครั้ง ของการเป็นสัดแล้วประมาณ 14 ชั่วโมง ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทำการผสมคือระยะก่อนที่ไข่ จะตกเล็กน้อย โดยทั่ว ๆ ไปเจ้าของสัตว์อาจจะพบหรือสังเกตเห็นสัดของตนเป็นสัดในเวลาเย็นหรือตอน กลางคืนหรืออาจจะพบเมื่อใกล้ถึงตอนปลายของการเป็นสัดแล้ว ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติอาจแนะนำ พอเป็นแนวทางในการปฏิบัติคือ ถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนเข้าก็ควรจะผสมอย่างช้าตอนบ่ายวันเดียวกัน และถ้า เห็นโคเป็นสัดตอนบ่ายหรือเย็นก็ควรจะผสมอย่างช้าเช้าวันรุ่งขึ้น
การสังเกตการเป็นสัดในโคตัวเมีย
เจ้าของสัตว์อาจสังเกตหรือพบเห็นอาการของโคที่เป็นสัดจากอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจแสดงออกมา พร้อม ๆ กันให้เห็นได้ดังนี้
- ส่งเสียงร้องที่ผิดปกติ
- เครื่องเพศบวมแดง
- ปัสสาวะถี่
- มีน้ำเมือกใสและเหนียวไหลออกมาจากช่องคลอด หรือเลอะบริเวณก้นทั้งสองข้าง
- ไม่สนใจอาหารหรือกินอาหารน้อยทั้งอาหารข้นและหญ้า
- ถ้าเป็นแม่โคที่กำลังให้นมจะพบว่าน้ำนมลดลง
- ขึ้นขี่ตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขี่
- สังเกตที่ดวงตา จะเห็นม่านตาเบิกกว้างบ่อยครั้งกว่าปกติส่อให้เห็นการตื่นตัวและตื่นเต้นง่าย
การผสมเทียม
การผสมเทียม
หมายถึงการรีดน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะของสัตว์ตัวเมียนั้น
แสดงอาการของการเป็นสัดแล้วทำให้เกิดการตั้งท้องแล้วคลอดออกมาตามปกติ
ประโยชน์ของการผสมเทียม
- ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์เมื่อรีดเก็บน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์ได้แต่ละครั้ง สามารถนำมาละลายน้ำเชื้อ แล้วแบ่งใช้ผสมกับสัตว์ตัวเมียได้จำนวนมาก
- สามารถผสมพันธุ์สัตว์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันได้โดยไม่มีอันตรายจากการขึ้นทับของพ่อพันธุ์
- ไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์
- ตัดปัญหาในเรื่องขนส่งโคไปผสม เพราะสามารถนำน้ำเชื้อไปผสมได้ไกล ๆ
- บังคับสัตว์ให้ตกลูกได้ตามฤดูกาล คือเลือกระยะเวลาผสมให้ตกลูกตามระยะที่ต้องการ
- แก้ปัญหาการผสมติดยาก เช่น กรณีปากมดลูกกดหรือตีบช่องคลอดผิดปกติ เป็นต้น
- ป้องกันโรคติดต่อและโรคระบาด เพราะใช้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ปราศจากโรคและเครื่องมือใช้ในการผสม ได้รับการฆ่าเชื้อโรคเป็นอย่างดีและใช้ผสมเฉพาะตัว
- ย่นระยะเวลาการพิสูจน์พ่อพันธุ์ เพราะผสมได้จำนวนมากในระยะสั้น
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียม
โคตัวเมียที่แสดงอาการเป็นสัดดังกล่าวควรจะได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาช่วงกลางของการเป็นสัด หรือใกล้ระยะที่จะหมดการเป็นสัด (อาจจะหมดการเป็นสัดไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง ก็ได้หรือเมื่อโคเมีย ตัวนั้นยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขี่ซึ่งใช้เป็นหลักในการผสมพันธุ์) โดยทั่ว ๆ ไป โคเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 18 ช.ม. แล้วต่อมาอีก 14 ช.ม. จึงจะมีไข่ตกเพื่อรอรับการผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อพ่อโค จึงเห็นสมควรที่ต้อง เลือกเวลาที่เหมาะสม ในการดำเนินการเรื่องของรับบริการผสมเทียมดังมีหลักการที่จะใช้ในการปฏิบัติ งานผสมเทียมคือ
-
เมื่อโคเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนรุ่งเช้าของวันใดวันหนึ่งควรที่จะได้รับการผสมเทียมในวัน
เวลาเดียวกัน (ก่อน 16.30 น.)
ฉะนั้นพอรุ่งเช้าของแต่ละวันเจ้าของสัตว์ควรจะได้ไปแจ้งและบอกเวลา (ประมาณ)
ที่ท่านได้เห็นสัตว์ของท่านแสดงอาการเป็นสัด
- ถ้าโคตัวเมียใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายของวันใดวันหนึ่งควรที่จะได้รับการผสมเทียมตอนเช้า หรือก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นเจ้าของสัตว์เมื่อพบว่าสัตว์แสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายหรือตอนเย็น ท่านควรจะไปแจ้งและบอกเวลาของการเป็นสัด (ประมาณ) ในรุ่งเช้าของวันต่อไปก็ได้
ถ้าท่านได้ศึกษาและรู้จักสังเกตการแสดงอาการเป็นสัดว่าอาการเป็นอย่างไรและหาระยะเวลาที่จะผสม
เทียมให้พอเหมาะแล้ว
จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาเรื่องการผสมเทียมติดยากหรือผสมไม่ค่อยติดในโคตัวเมีย
ของท่านได้ทางหนึ่ง
และจะทำให้เป็นประโยชน์ในด้านการเพิ่มจำนวนและปริมาณน้ำนมในกิจการโคนม
ของท่านยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรที่จะเรียกช่วงเวลาอันสำคัญนี้ว่า
"นาทีทองในโคนมตัวเมีย"
จะรู้ได้อย่างไรว่าโคตั้งท้องหรือไม่
เมื่อโคนางได้รับการผสมไปแล้วประมาณ 21 วัน
หากโคไม่กลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่า
ผสมติดหรือโคตัวนั้นเริ่มตั้งท้องแล้วหรือเพื่อให้รู้แน่ชัดยิ่งขึ้นภายหลังจากการผสมโคนางแล้ว
50 วันขึ้นไป อาจติดต่อสัตวแพทย์ หรือบุคคลผู้มีความชำนาญในการตรวจท้องแม่โค
(โดยวิธีล้วงเข้าไปคลำลูกโคทางทวาร ของแม่โค)
มาทำการตรวจท้องแม่โคก็จะทราบได้แน่ชัดยิ่งขึ้น
ข้อสังเกต ในกรณีโคสาวจะสังเกตได้จากการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น
กินจุขึ้นความจุของลำตัวโดยเฉพาะส่วนท้อง ซี่โครง จะกางออกกว้างขึ้น
ขนเป็นมันและไม่เป็นสัดอีก
การคลอดลูก
โดยทั่ว ๆ ไปแม่โคจะตั้งท้องประมาณ 283 วัน หรือประมาณ 9 เดือนเศษ ในช่วงนี้แม่โคควรจะได้รับการ เอาใจใส่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่และอาหารเป็นพิเศษ เพราะลูกในท้องเจริญขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นไปอย่าง รวดเร็ว ในระยะก่อนคลอดประมาณ 45-80 วัน ควรเพิ่มอาหารผสมให้แก่แม่โคท้อง เพื่อแม่โคจะได้นำไป เสริมสร้างร่างกายส่วนที่ลึกหรอและนำไปเลี้ยงลูก หรือนำไปสร้างความเจริญเติบโตสำหรับอวัยวะบางอย่าง ที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อไม่ให้แม่โคซูบผอม สำหรับแม่โคที่กำลัง ให้นม เมื่อตั้งท้องลูกตัวต่อไป ควรจะหยุดรีดนมก่อนคลอดประมาณ 45-60 วัน สำหรับแม่โคท้องแรกหรือ ท้องสาวหรือแม่โคที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ (อายุไม่ถึง 5 ปี) แม้จะให้ลูกมาแล้ว 1 หรือ 2 ตัวก็ตาม ก่อน คลอดลูกตัวต่อไปควรจะหยุดพักการรีดนมเร็วกว่าแม่โคที่โตเต็มที่แล้วอย่างน้อยก่อนคลอดประมาณ 45-60 วัน เพื่อให้แม่โคได้มีเวลาเตรียมตัวได้พักผ่อนร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ บ้าง มิฉะนั้นแม่โคอาจจะได้รับผล กระทบกระเทือนนั่นหมายถึงผลเสียหายที่จะตามมาภายหลังได้เช่น ร่างกายจะชะงักการเติบโตเพราะ อาหารไม่พอหรือร่างกายไม่สมบูรณ์ หรือเมื่อคลอดลูกออกมาลูกโคอ่อนแอหรือมีช่วงระยะการให้นมใน ต่อไปสั้นลงหรือผสมติดยาก ทิ้งช่วงการเป็นสัดนานและอื่น ๆ เป็นต้น
อาการที่แม่โคแสดงออกเมื่อใกล้คลอด
- เราอาจจะสังเกตอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้
- เต้านมขยายใหญ่ขึ้น
- อวัยวะเพศขยายตัวใหญ่ขึ้น ยิ่งใกล้วันคลอดเข้ามา สังเกตเห็นมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอด
- กระดูกเชิงกรานขยายตัวออกกว้างขึ้น โคนหางตรงกระดูกก้นกบจะบุ๋มลึกลงทั้งสองข้าง
- ช่องท้องตรงสวาปจะลึกหย่อนลง
- ยกหางขึ้น-ลง เล็กน้อยเป็นครั้งคราว
- ถ้าเป็นโคที่ปล่อยรวมฝูงจะพยายามแยกตัวออกจากฝูง
- แม่โคที่ถูกขังจะไม่สนใจในการกินหญ้า อาหาร ยืนกระสับกระส่ายยกขาหลังแตะอยู่เรื่อย ๆ มีการ แบ่งคลอดตลอดเวลา
จะรู้ได้อย่างไรลูกโคคลอดปกติหรือไม่
ลักษณะการคลอดลูกในท่าปกติของแม่โค คือลูกโคจะเหยียดขาหน้าตรงออกมาพร้อมกันทั้งสอง (ส่วนหัวแนบชิดกับเข่า) จะเห็นเป็น 3 จุดคือ 2 กีบ ข้างหน้าและจมูก ถ้าหากมีลักษณะอื่น ๆ ผิดไปจากนี้ ให้ถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ อาทิ เช่นหัวพบ หรือเอาด้านหลังออกมาก่อนส่วนอื่นหรือกรณีที่ลูกโคมี ขนาดใหญ่จนไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้ หรือกรณีอื่น ๆ เช่นนี้ควรรีบติดต่อสัตวแพทย์มาช่วย ทำการคลอด และหากลูกโคคลอดออกมาแล้วรกยังไม่ออกตามมาถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ควรรีบตามสัตวแพทย์ มาช่วยแก้ไข เพราะถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับแม่โคซึ่งต้องรีบทำการรักษา
หลังจากลูกโคคลอดออกมาแล้ว ควรรีบเช็ดทำความสะอาดตัวลูกโคให้แห้งโดยเร็ว โดยเฉพาะเมือกบริเวณ จมูกปาก และลำตัวพร้อมกับทำการตัดสายสะดือ ให้ห่างจากตัวโคประมาณ 1 นิ้ว แล้วทาด้วยทิงเจอร์ ไอโอดีน
การรีดนม
หมายถึงการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะเอานมออกจากเต้านมของแม่โค
น้ำนมส่วนมากจะถูกขับ ออกมาโดยการกระตุ้นทางระบบประสาทและฮอร์โมนพร้อม ๆ
กันการรีดนั่นคือ การทำให้ภายในหัวนม เกิดมีแรงอัดดันจนทำให้รูหูหัวนมเปิดออก
น้ำนมซึ่งอยู่ภายในจึงไหลออกให้
การรีดนมมีอยู่ 2 วิธีคือ
- การรีดนมด้วยมือ
- การรีดนมด้วยเครื่อง
หลักที่ควรคำนึงถึงและถือปฏิบัติในการรีดนม
- ควรรีดให้สะอาด
- ควรรีดให้เสร็จโดยเร็ว
- ควรรีดให้น้ำนมหมดเต้า
ขั้นตอนในการรีดนมเพื่อให้ได้น้ำนมที่สะอาด
- การเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อโดยใช้น้ำยาคลอดรีนอย่างเจือจาง
- การเตรียมอุปกรณ์การรีด ซึ่งรวมถึงผู้ที่ทำการรีด และแม่โคให้เรียบร้อย การเตรียมการต่าง ๆ ควรจัด การให้สะอาดหรือฆ่าเชื้อก่อนด้วยยาคลอริน
- ทำความสะอาดตัวโคและบริเวณคลอรินที่สกปรก
- ล้างเต้านมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำยาคลอรีน พร้อมกับนวดเช็ดเบา ๆ
- ก่อนลงมือรีดควรตรวจสอบความผิดปกติของน้ำนมหรือทำการรีดน้ำนมที่ค้างอยู่ในหัวนมทิ้งเสียก่อน
- ขณะลงมือรีดน้ำควรรีบรีดให้เร็วที่สุดไม่หยุดพักกะให้เสร็จภายใน 5-6 นาที และต้องรีดให้หมดทุกเต้า
การรีดนมด้วยมือ
กระทำได้โดยการใช้นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้บีบหรือรีดหัวนมตอนบนเพื่อเป็นการปิดทางนม
เป็นการกันไม่ให้น้ำนม ในหัวนมหนีขึ้นไปอยู่ตอนบนต่อมาก็ใช้นิ้วที่เหลือ (กลาง,
นาง, ก้อย) ทำการบีบไล่น้ำนมตั้งแต่ตอนบนเรื่อย
ลงมาข้างล่างจะทำให้ภายในหัวนมมีแรงอัดและน้ำนมจะถูกดันผ่านรูนออกมาและเมื่อขณะที่ปล่อยช่องนิ้ว
(หัวแม่มือ, นิ้วชี้) ที่รีดหัวนมตอนบนออก น้ำนมซึ่งมีอยู่ในถุงพับนม
ข้างบนจะไหลลงมาส่วนล่างเป็นการเติม
ให้แก่หัวนมอีกเป็นเช่นนี้ตลอดระยะเวลาที่รีดจนกระทั่งน้ำนมหมด
วิธีการหยุดรีดนมแม่โค
ในการหยุดรีดนมแม่โคโดยเฉพาะแม่โคที่เคยให้นมมาก ๆ ควรจะต้องระมัดระวังในการหยุดรีด
เพราะ อาจจะทำให้เกิดโรคเต้านมอักเสบได้โดยง่าย
วิธีการหยุดรีดควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือในขั้นต้น
อย่ารีดให้น้ำนมหมดเต้าเลยทีเดียว ในช่วงแรก ๆ ควรค่อย ๆ ลดอาหารข้นลงบ้างตามส่วน
แล้วต่อไปจึง เริ่มลดจำนวนครั้งที่รีดนมในวันหนึ่ง ๆ ลงมา ลงเป็นวันละครั้ง
ต่อมาจึงรีดเว้นวันและต่อมาก็เว้นช่วงให้นาน ขึ้นจนกระทั่งหยุดรีดนมในที่สุด
ซึ่งปกติโดยทั่ว ๆ ไป จะใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน และในขณะที่หยุดพัก
รีดนมนี้จะต้องหมั่นสังเกตเต้านมอยู่เสมอ
ถ้าปรากฏว่าบวมแดงหรืออักเสบต้องรีบตามสัตวแพทย์มาช่วย รักษา
และต้องหวนกลับมารีดนมตามเดิมไปก่อนถ้าไม่มีโรคแทรกแล้ว
เต้านมของแม่โคที่พักการให้นม ใหม่ ๆ
โดยทั่วไปก็จะคัดเต้าอยู่สักระยะหนึ่งแล้วจึงค่อย ๆ ลีบเล็กลงไปในที่สุด
ปัญหาที่พบบ่อยในการรีดนม
- ถ้ารู้ว่าโคตัวใดเป็นโรคเต้านมอักเสบทำให้การรีดหลังโคตัวอื่น ๆ เพื่อป้องกันการกระจายของโรคและ ควรรีดเต้าที่อักเสบทีหลังสุด และให้ระวังการเช็ดล้างเต้านม
- ถ้าโคตัวใดเป็นแผลหรือเป็นฝีที่หัวนม ขณะที่ทำการรีดนมแม่โคอาจแสดงอาการเจ็บปวด อาจทำร้าย คนรีดได้ในกรณีเวลารีดควรแตะต้องแผลให้น้อยที่สุด และควรรีบจัดการรักษาใส่ยาหรือใช้ขี้ผึ้งทา หลังรีดนม เสร็จแล้วควรล้างมือให้สะอาดด้วย
- ถ้ามีโคตัวใดนมรั่ว ซึ่งเกิดจากเต้านมคัด ซึ่งเป็นเพราะกล้ามเนื้อวงแหวนที่รัดรูหัวนมไม่แข็งแรงพอ หรือค่อนข้างเสื่อมสมรรถภาพ กรณีที่ไม่มีแนวทางแก้ไขอาจใช้จุกปิดหรืออุดรูหัวนมหรือใช้วิธีรีดนมให้ถี่ขึ้น ก็ได้
- ถ้าพบว่าแม่โคบางตัว ให้น้ำนมที่มีสีผิดปกติเกิดขึ้นกล่าวคือน้ำนมอาจเป็นสีแดงหรือมีสีเลือดปนออกมา ซึ่งอาจเป็นเพราะเส้นเลือดฝอยในเต้านมแตก ซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ จะค่อย ๆ หายไปเองในไม่ช้า น้ำนม ที่ได้ควรนำไปให้ลูกโคกินไม่ควรบริโภค
- ถ้าพบว่าแม่โคตัวใดเตะเก่ง ขณะทำการรีดจะต้องใช้เชือกมัดขา ซึ่งควรค่อย ๆ ทำ การฝึกหัดให้เคยชิน โดยไม่ต้องใช้เชือกมัด เพราะวิธีการมัดขารีดนมไม่ใช่เป็นวิธีการที่ดีจะทำให้วัวเคยตัว
»
พันธุ์โคนม
» การเลี้ยงดู
»
อาหารและการให้อาหาร
»
การป้องกันโรคและสุขาภิบาล