เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ความรู้เกี่ยวกับอาหารสัตว์สำหรับเกษตรกร
วัตถุดิบอาหารที่ให้โปรตีน
กากถั่วเหลือง
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใช้ผสมอาหารข้น ใช้ได้สูงถึง 50 % ในสูตร แต่ปกติจะใช้ไม่เกิน 20% ใช้ร่วมกับแหล่งโปรตีนอื่น ๆ
- ถั่วเหลืองดิบ ไม่เหมาะนำมาใช้เลี้ยงสัตว์เพราะมีสารยับยั้งการเจริญเติบโต คือ สารยับยั้งทริปซินอยู่สูง
ข้อแนะนำการใช้
- กรณีเมล็ดถั่วเหลืองนำไปทำให้สุกโดยผ่านความร้อน (100 ซ นาน 30 นาที) สามารถทำลายสารยับยั้งทริปซินจนเกือบหมดและนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
- เนื่องจากกากถั่วเหลืองมีราคาแพง ในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงนิยมใช้กากถั่วเหลืองรวมกับแหล่งโปรตีนอื่น ๆ เช่น กากพืชน้ำมัน ยูเรีย ใบกระถิน หรือใบมันสำปะหลัง เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารและได้โปรตีนตรงตามต้องการ
กากเนื้อในปาล์ม
คุณสมบัติ ส่วนของเนื้อปาล์มที่กระเทาะเปลือกออกแล้วนำมาอัดหรือสกัดนำมันออก
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ในสูตรอาหารข้น โค - กระบือใช้ได้ 10 - 50%
- ในโคนมใช้ได้ไม่เกิน 10 - 15% ในสูตรอาหาร เพราะจะทำให้ในอาหารมีไขมันสูงเกนไป ทำให้การใช้ประโยชน์ได้ลดลง
ข้อแนะนำการใช้
ควรใช้ร่วมกับแหล่งโปรตีนอื่น ๆ
กากเมล็ดยางพารา
คุณสมบัติ
ส่วนของเมล็ดยางพาราทั้งที่กระเทาะเปลือกและไม่กระเทาะเปลือก
ที่ผานขบวนการอัดหรือสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว มีกลิ่นหอม สัตว์ชอบกิน
ชนิดกระเทาะเปลือกจะมีคุณภาพดีกว่า
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใช้ผสมอาหารข้น ปกติใช้ได้ 20% ในสูตร โดยใช้ร่วมกับแหล่งโปรตีนชนิดอื่น ๆ
- มีสารพิษคือกรดไฮโดรไซยานิค ซึ่งสามารถทำให้ลดปริมาณลงได้โดยการเก็บกากเมล็ดยางพาราทิ้งไว้เฉย ๆ นาน 1 เดือน หรือนำไปอบด้วยความร้อน 100 ซ นาน 18 ชั่วโมง หรือนำไปผึ่งกลางแดดดี ๆ ประมาณ 2 แดด
กากมะพร้าว
คุณสมบัติ ผลพลอยได้จากการอัดน้ำมัน
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- โดยทั่วไปในอาหารข้นใช้ได้ระดับ 20 - 30%
- ในอาหารโคนม ไม่ควรให้รับมากเกิน 2 กก. / ตัว / วัน จะมีผลให้ไขมันนมแข็งเร็วกว่าปกติ
- กากมะพร้าวเก็บไว้ใช้ไม่ได้นาน จะเหม็นหืนง่าย
กากเมล็ดฝ้าย
คุณสมบัติ
ผลพลอยได้จากขบวนการอัดน้ำมันหรือสกัดน้ำมัน
มีทั้งชนิดกากเมล็ดฝ้ายกระเทาะเปลือกและไม่กระเทาะเปลือก
กากเมล็ดฝ้ายชนิดกระเทาะเปลือก มีคุณภาพดีกว่าชนิดไม่กระเทาะเปลือก
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ปกติใช้ผสมอาหารข้น ระดับไม่เกิน 25% ในสูตร หรือใช้ร่วมกับแหล่งโปรตีนอื่น ๆ ที่มีราคาถูก เช่น ยูเรีย ใบพืชตระกูลถั่ว ใบมันสำปะหลังเป็นต้น
- กรณีโค - กระบือ กินอาหารหยาบคุณภาพต่ำ อาจให้กากเมล็ดฝ้ายเสริมให้กินวันละไม่เกิน 1 กก. ในสัตว์ใหญ่ หรือไม่เกิน 0.5 กก. / ตัว / วัน ในสัตว์ขนาดเล็ก
- กากเมล็ดฝ้ายไม่เหมาะจะใช้กับลูกสัตว์อ่อน หรือสัตว์ขนาดเล็กเป็นระยะเวลานาน เพราะมีสารพิษกอสซิปอล ทำให้สัตว์น้ำหนักลดเบื่ออาหาร จึงไม่ควรใช้กากเมล็ดฝ้ายเป็นแหล่งโปรตีนเพียงอย่างเดียว
ใบกระถิน
คุณสมบัติ
ใบกระถินป่นคุณภาพดี ควรมีสีเขียวมีกากป้นเล็กน้อย
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใช้ผสมอาหารข้นได้สูงถึง 40% แต่ปกติใช้ประมาณ 10 - 15% โดยใช้ร่วมกับแหล่งโปรตีนชนิดอื่น เช่น กากพืชน้ำมัน ยูเรีย ข้อควรระวังในการใช้ใบกระถินผสมอาหารในระดับสูง ๆ จะทำให้อาหารเป็นฝุ่น ความน่ากินลดลง และโคจะมีอาการระคายเคืองบริเวณขอบตาและจมูก
- ให้เสริมร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง จะทำให้การใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบดีขึ้น
- ใบกระถินสด มีสารพิษ ไมโมซิน ไม่ควรใช้กับสัตว์ขนาดเล็ก
ข้อแนะนำการใช้
- ใบกระถินยักษ์ ให้ผลผลิตสูง และมีสารพิษไมโมซินต่ำกว่าใบกระถินพื้นเมือง
- การลดสารพิษในใบสด ทำได้โดยตากแห้งหรือสับและแช่ใบสดในน้ำนาน 24 ชั่วโมง แล้วผึ่งให้แห้ง แต่ที่สะดวกคือตากแห้งและเก็บไว้ใช้
ใบมันสำปะหลัง
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใบมันสำปะหลังสดมีสารพิษ คือ กรดไฮโดรไซยานิค จึงควรใช้ในรูปใบแห้ง ให้เสริมร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ โดยทั่วไประดับที่ ใช้ 0.5 - 1 กิโลกรัม / ตัว / วัน เพื่อเพิ่มคุณภาพอาหารหยาบและรักษาน้ำหนักโคในหน้าแล้ง
- ใบมันสำปะหลัง ใช้ผสมในอาหารข้นได้สูง 40% ในสูตรแต่โดยทั่วไปมักใช้ระดับ 10 - 15% ในสูตรร่วมกับแหล่งโปรตีนชนิดอื่น เช่นเดียวกับใบกระถิน
ข้อแนะนำการใช้
- สามารถเก็บเกี่ยวใบมันสำปะหลังจากต้นที่ปลูกหลัง 6 เดือนแล้วมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ โดยไม่กระทบต่อผลผลิตหัว และเก็บได้ 1 - 2 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยวหัวมัน
- ใบมันสำปะหลังที่มีคุณภาพดี ควรมีสีเขียวและแห้งสนิด สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานถึง 6 เดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการตากและวิธีการเก็บ
ยูเรีย
คุณสมบัติ
เป็นแหล่งโปรตีนระดับสูง สัตว์เคี้ยวเอื้องใช้ประโยชน์จากยูเรียทางอ้อม
โดยการย่อยสลายจุลินทรีย์ในกระเพาะหมัก (ผ้าขี้ริ้ว) ให้เป็นโปรตีน
ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีขาวเล็ก รสเฝื่อน หาซื้อได้ในรูปของปุ๋ยยูเรีย (46 -0 - 0)
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใช้ผสมอาหารข้นไม่เกิน 3% ของสูตรอาหาร ใช้มากเกินกว่านี้จะเป็นพิษต่อสัตว์
- ในสูตรอาหารที่ผสมยูเรีย ต้องผสมอาหารพวกให้พลังงานสูง เช่น ข้าวโพด มันเส้น เป็นหลักร่วมด้วย และควรมีแหล่งโปรตีนขากพืชน้ำมันชนิดอื่น ๆ หรือใบพืชสกุลถั่ว ใบกระถิน ใบมันสำปะหลัง ร่วมด้วย
- ไม่ควรใช้ยูเรียผสมอาหารเลี้ยงลูกโค - กระบือ ที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน
ข้อแนะนำการใช้
- เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากยูเรียเป็นไปโดยเต็มที่ ควรผสมกำมะถัน ในสูตรอาหารด้วนในอัตราส่วนของ ยูเรียต่อกำมะถันเท่ากับ 13.5 : 1
- เมื่อเริ่มผสมยูเรียให้สัตว์ควรเริ่มทีละน้อย ๆ เพื่อให้สัตว์มีเวลาปรับตัว หลังจากนั้นควรแบ่งให้อาหารข้นหลายครั้ง หรือให้สลับกับอาหารหยาบเพื่อให้สัตว์ได้รับโภชนะพอเพียงในแต่ละวัน
- การผสมยูเรียในอาหารต้องให้ยูเรียกระจายตัวเข้ากันดี เพื่อป้องกันสัตว์ได้รับมากเกินไปจนเกิดพิษ
- อาหารที่ผสมยูเรีย ไม่ควรเก็บไว้ใช้นานเกินไป จะเกิดการแตกตัวของยูเรีย คุณค่าอาหารลดลง
»
การผลิตเมล็ดพันธุ์หญ้ารูซี่
»
การผลิตเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีสีม่วง
»
การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วฮามาต้า
»
การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเกรแฮมสไตโล
»
การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเซนโตรซีมา
»
การปลูกและการจัดแปลงหญ้า
»
แปลงหญ้าประเภทใดที่ควรปลูก
»
ควรปลูกหญ้าพันธุ์ใด
»
ควรปลูกถั่วอาหารสัตว์พันธุ์ใด
»
ส่วนประกอบของแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่ดี
»
การปลูกและจัดการแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์
»
การใช้แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์
»
ควรปลูกหญ้ากี่ไร่ต่อสัตว์ 1 ตัว
»
การปลูกหญ้าสลับกับพืชไร่
»
การสำรองอาหารสัตว์สำหรับช่วงฤดูแล้ง
»
การทำหญ้าหมักในถุงพลาสติก
»
การทำฟางปรุงแต่ง
»
วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นและการนำมาใช้เลี้ยงสัตว์
»
วัตถุดิบอาหารที่ให้พลังงาน
» วัตถุดิบอาหารที่ให้โปรตีน
»
วัตถุดิบอาหารประเภทแร่ธาตุ
»
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม