เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
หญ้ากินนีสีม่วง
หญ้ากินนีสีม่วง (Purple guinea) เป็นหญ้าในสกุลกินนี (Panicum maximum) นายกีร์ โรแบร์ ที่ปรึกษา กรป.กลาง นำมาจากประเทศไอเวอรี่โคส ทวีปอัฟริกา ประมาณปี พ.ศ. 2518 ปลูกครั้งแรกที่จังหวัดสกลนคร ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ดี เป็นที่นิยมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคอย่างแพร่หลาย กรมปศุสัตว์ได้เริ่มขยายพันธุ์เพื่อผลิตเมล็ดในหน่วยงานของกองอาหารสัตว์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และส่งเสริมให้เกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่าย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2537 สามารถผลิตเมล็ดได้ทั้งหมด 14.8 ตัน โดยสถานีอาหารสัตว์ ผลิตได้ 4.8 ตัน ที่เหลือผลิตโดยเกษตรกร ส่วนในปี พ.ศ. 2538 มีเป้าหมายการผลิตถึง 183 ตัว (กองอาหารสัตว์, 2537)
ลักษณะทั่วไป
หญ้ากินนีสีม่วงเป็นพืชที่มีอายุหลายปี การเจริญเติบโตเป็นแบบกอตั้งตรง มีใบขนาดใหญ่ ดก อ่อนนุ่ม มีลำต้นสูงใหญ่กว่าหญ้ากินนีธรรมดา ส่วนของข้อปล้อง กลุ่มดอก (Spilelets) และเมล็ดสีม่วงอมเขียวต่างจากหญ้ากินนีพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีสีเขียว ขนาดของเมล็ดใหญ่กว่ากินนีธรรมดา หญ้ากินนีสีม่วงมีช่วงเวลาของการเจริญเติบโต ก่อนออกดอกอยู่ระหว่าง 90-110 วัน ความสูงเมื่อเริ่มออกดอก ประมาณ 220 เซนติเมตร (ศศิธร และคณะ, 2536 ก) สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพร่มเงา เช่นเดียวกับหญ้ากินนีธรรมดาหญ้ากินนีสีม่วงสามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ตั้งแต่ดินเหนียว จนถึงดินทราย ทนทานต่อสภาพดินค่อนข้างเค็ม ทนแล้ง และสามารถตอบสนองต่อการให้น้ำ และปุ๋ยได้ดี
ช่วงเวลาปลูก
สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่โดยทั่วไปควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
ประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
การเตรียมพื้นที่ปลูก
ควรมีการไถย่อยดินให้ละเอียด ร่วนซุย เหมาะสำหรับการฝังตัวของเมล็ด โดยต้องไถพรวน 2
ครั้ง ซึ่งในการไถครั้งที่ 1 เป็นการไถเพื่อกำจัดวัชพืชที่ปกคลุมอยู่ให้หมดไป
และการไถครั้งที่ 2
เพื่อทำลายต้นกล้าวัชพืชที่ขึ้นมาใหม่พร้อมทั้งทำให้ดินละเอียดเป็นการปรับสภาพแปลงหญ้าให้ราบเรียบ
การปรับปรุงแปลงหญ้าเก่า ควรไถพรวนทุก 3 ปี ในช่วงต้นฤดูฝน
โดยไม่จำเป็นต้องหว่านเมล็ด
วิธีการปลูก
การปลูกอาจทำได้ดังนี้
1. ปลูกหญ้ากินนีสีม่วงอย่างเดียว
สามารถปลูกได้ด้วยเมล็ดหรือหน่อพันธุ์ การปลูกด้วยเมล็ด ควรใช้เมล็ดอัตรา 1-2
กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกโดยการหว่านไม่ต้องกลบ หรือปลูกเป็นหลุมระยะระหว่างหลุม 50x50
เซนติเมตร (ศศิธร และคณะ, 2537 ก) การปลูกโดยการเพาะกล้า ใช้เมล็ด 1 กิโลกรัม
เพาะกล้าในพื้นที่ 200 ตารางเมตร ซึ่งสามารถนำไปปลูกได้ในพื้นที่ 3 ไร่ (ธวัช
และชุมพล, 2537) ส่วนการปลูกด้วยหน่อพันธุ์ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้หน่อพันธุ์ประมาณ 400
กิโลกรัม ปลูกหลุมละ 3 ต้น
2. การปลูกหญ้ากินนีสีม่วงร่วมกับถั่ว
ถ้าปลูกร่วมกับถั่วเวอราโนสไตโล ควรปลูกหญ้าโดยใช้ระยะปลูก 75 เซนติเมตร
และโรยถั่วในระหว่างแถว
ตารางที่ 1
ผลผลิตน้ำหนักแห้งของหญ้ากินนีสีม่วงผสมถั่วเวอราโนสไตโลที่ระยะปลูกต่างกัน
ที่มา : ศศิธร และคณะ (2537 ข)
การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่
และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังเก็บเกี่ยวทุกครั้งในอัตรา 10 กิโลกรัม N ต่อไร่
หญ้ากินนีสีม่วงตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงขึ้นจะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น (ตารางที่ 2)
การใส่ปุ๋ยคอก 4 ตันต่อไร่ จะทำให้ผล
ผลิตหญ้าเพิ่มขึ้นเท่าตัว (Kataoka, 1994)
ตารางที่ 2 ผลผลิตน้ำหนักแห้งของหญ้ากินนีสีม่วง ที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนอัตราต่างกัน
ที่มา : ชิต
และคณะ (2537)
การกำจัดวัชพืช
ควรกำจัดวัชพืชภายหลังปลูก 2-4 สัปดาห์
การให้น้ำ
ในช่วงฤดูแล้ง หญ้ากินนีสีม่วงสามารถให้ผลผลิตได้ดีถ้ามีการให้น้ำ
ในสภาพดินร่วนปนทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรให้น้ำทุก 14 วัน (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3
ผลผลิตที่น้ำหนักแห้งของหญ้ากินนีสีม่วงในช่วงฤดูแล้งที่มีการให้น้ำในระหว่าง
มี.ค.-พ.ค. (3 เดือน)
ที่มา : วิรัชและคณะ (2537)