เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
คุณค่าทางอาหารสัตว์ของหญ้าแฝก
ลักษณะทั่วไป
หญ้าแฝกมีลักษณะเป็นกอแน่น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 30 เซนติเมตร โคนต้นมีลักษณะแบน ใบค่อนข้างแข็ง แตกออกจากโคนกอเรียงซ้อนกันแน่น ขอบใบขนาน ส่วนปลายใบสอบ แหลมยาว ช่อดอกสูงประมาณ 20-40 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะคล้ายกระสวย มีทั้งดอกชนิดสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้ เมล็ดมีรูปขอบขนาน โคนมน ปลายแหลม มีหนามแหลมสั้นที่บริเวณผิวของเมล็ด รากหญ้าแฝกเป็นระบบรากฝอย (Fibrous root) รากแข็งแรง มีปริมาณมาก สานกันแน่นและหยั่งลึกลงไปในดิน ไม่แผ่ขนาน มีรากแกน รากแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรากฝอยมาก จึงช่วยยึดเหนี่ยวดิน ช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดินและการพังทะลายของดินได้เป็นอย่างดีแผ่กว้างโดยรอบกอเพียงประมาณ 50 เซนติเมตร จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการปลูกร่วมกับพืชอื่น เพราะไม่เกิดปัญหาการแย่งอาหารกัน
ชนิดของหญ้าแฝก
หญ้าแฝก แบ่งตามลักษณะภายนอกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- หญ้าแฝกหอม หรือ หญ้าแฝกลุ่ม หรือหญ้าแฝกบ้าน (Vetiveria zizanioides Nash) พบขึ้นอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ สามารถปรับตัวเข้ากับพื้นที่นั้น ๆ ได้ดี และเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
- หญ้าแฝก หรือ หญ้าแฝกดอน หรือ หญ้าแฝกป่า (Vetiveria nemoralis A. Camus) พบทั่วไปในที่ค่อนข้างแล้ง หรือ ที่ดินที่มีการระบายน้ำได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในป่าเต็งรัง แต่จะมีน้อยในภาคใต้สามารถขึ้นได้ดีทั้งในที่แดดจัดและแดดปานกลาง
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบลักษณะที่แตกต่างของหญ้าแฝกหอมและหญ้าแฝกดอน
ที่มา : คณะทำงานติดตามและประเมินผลการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก
ตารางที่ 2 หญ้าแฝก 28 สายพันธุ์ในประเทศไทย (ตามทะเบียนของกรมพัฒนาที่ดิน)
ที่มา : กองฝึกอบรม กรมพัฒนาที่ดิน, 2536
เนื่องจากในปัจจุบัน ได้มีการรณรงค์ให้ใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
โดยให้เกษตรกรปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเอียงหรือที่ซึ่งเป็นร่องน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน
หรือการพังทลายของดิน ดังนั้น กองอาหารสัตว์
จึงได้ทำการศึกษาปริมาณผลผลิตและคุณค่าทางโภชนะของหญ้าแฝก
เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำหญ้าแฝกเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ได้
» ลักษณะทั่วไป
»
ผลผลิตน้ำหนักแห้งและคุณค่าทางโภชนะ