เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
อาหารจากข้าวโพด
กรมส่งเสริมการเกษตร
การใช้ประโยชน์ของข้าวโพดในรูปของอาหาร
- ข้าวโพดรับประทานฝักสด คนไทยส่วนใหญ่บริโภคข้าวโพดในรูปอาหารหวาน
หรืออาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร โดยนำข้าวโพดที่เมล็ดยังไม่แก่เต็มที่มาต้ม นึ่ง
หรือปิ้งให้สุก ใส่น้ำเกลือบ้าง ใส่เนยบ้าง เพื่อเพิ่มรสชาติ
สำหรับความนิยมในชนิดหรือพันธุ์อาจมีแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม คุณภาพและรสชาติ
ความหวานของข้าวโพด รับประทานฝักสดจะขึ้นอยู่กับ
- อายุการเก็บเกี่ยว ควรเก็บในช่วงระยะเวลาที่พอเหมาะ เมล็ดโตเต็มที่หรือไหมเริ่มมีสีน้ำตาล เช่น ข้าวโพดหวานควรเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 65-70 วัน หลังปลูก
- ระยะเวลาการบริโภค ภายหลังการเก็บเกี่ยวหรือเมื่อหักฝักจากต้นแล้วคุณภาพและรสชาติความหวานจะเริ่มลดลง ยิ่งเก็บไว้นานก็ยิ่งจืดและเหนียวขึ้นทุกทีเนื่องจากน้ำตาลในเมล็ดข้าวโพดเปลี่ยนเป็นแป้งหมด
- การเก็บรักษา อุณหภูมิหรือแสงแดดจะทำให้ความหวานของเมล็ดข้าวโพดลดลงอย่างรวดเร็ว จึงควรเก็บในที่เย็น เพื่อช่วยรักษาคุณภาพและรสชาติไว้ได้บ้าง
- ข้าวโพดฝักอ่อน คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารบริโภคในรูปฝักสด
เช่นเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ต่างประเทศนิยมในรูปข้าวโพดฝักอ่อน บรรจุกระป๋อง
ซึ่งมีหลายประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง
ที่ซื้อข้าวโพดอ่อนบรรจุกระป๋องจากประเทศไทย
เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่นำมูลค่าส่งออกสูงให้ประเทศ
คุณภาพและรสชาติของข้าวโพดฝักอ่อนขึ้นอยู่กับ
- อายุการเก็บเกี่ยว ให้สังเกตจากไหมเริ่มโผล่พ้นจากปลายฝักประมาณ 1-2 ซม. ฝักบนสุดเป็นฝักแรกจะเจริญเติบโตเร็วมากและฝักอื่น ๆ ถัดต่ำลงมา การหักฝักควรให้ติดลำต้นไปด้วย เพราะทำให้มองเห็นต้นที่เก็บเกี่ยวแล้วได้ ต้นหนึ่งสามารถเก็บฝักอ่อนได้ 2-3 ฝักเป็นอย่างน้อย อายุการเก็บเกี่ยว 48-50 วัน หลังปลูกและมีช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
- ระยะเวลาบริโภค เมื่อเก็บแล้วควรประกอบอาหารรับประทานทันทีจะทำให้ได้คุณภาพและรสชาติดี
- การเก็บรักษา ควรเก็บในที่เย็นจะช่วยรักษาคุณภาพและรสชาติได้บ้าง
- ข้าวโพดเมล็ดแห้ง ข้าวโพดจัดเป็นอาหารจำพวกแป้งเช่นเดียวกับข้าว
คนในประเทศแถบทวีปแอฟริกา นิยมนำเมล็ดข้าวโพดมาแช่น้ำ และบดทั้งเมล็ด
ด้วยโม่หินหรือเครื่องบด บีบน้ำออกแล้วนำมานึ่งรับประทาน
ส่วนประเทศแถบทวีปอเมริกากลางและใต้มีผลิตภัณฑ์ข้าวโพดที่นิยมบริโภคเป็นอาหารหลักคือ
ทอร์ทิลลา (Tortilla) โดยใช้เมล็ดข้าวโพดแก่ทั้งเมล็ดแช่ในน้ำด่าง
นำมาบดบีบน้ำออก นำมารีดแล้วตัดเป็นแผ่นบาง ๆ ทิ้งให้หมาด นำมาทอด
รับประทานกับถั่วบดผสมเนื้อและใส่เครื่องเทศ
- แป้งข้าวโพด
ได้จากการสกัดเอาแป้งจากเมล็ดข้าวโพดที่แก่และแห้งแล้วโดยการโม่แยกส่วนคัพพะและเปลือกออกเหลือเอนโดสเปอร์ม
ซึ่งเป็นส่วนของเนื้อแป้งไว้ แป้งข้าวโพดที่ได้มี 3 ลักษณะคือ
ชนิดหยาบเรียกคอร์นกริท (corn grit) ค่อนข้างละเอียดเรียกว่า คอร์นมิล (corn
meal) และชนิดละเอียดเรียกแป้งข้าวโพด (corn flour)
นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวโพดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นอาหารเช้า
(breakfast cereal) และขนมปังข้าวโพด ใช้เป็นแป้งชุบทอด
ใช้เป็นน้ำซุปข้นราดบนอาหารหลายชนิด
สำหรับประเทศไทย นิยมใช้แป้งข้าวโพดน้อยมาก เนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพง สามารถใช้แป้งมันสำปะหลังที่มีราคาถูกกว่า ในการประกอบอาหารที่ต้องการความข้นหนืดและเหนียวแทน ถึงแม้ว่าความหนืดจะไม่คงตัวหรือคืนตัวง่ายกว่าที่ใช้แป้งข้าวโพดก็ตาม
- น้ำมันข้าวโพด
เป็นน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดข้าวโพดที่แก่และแห้งแล้วประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวและมีกรดไขมันที่จำเป็น
คือกรดไลโนเลอิกอยู่มาก
น้ำมันข้าวโพดจัดเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดีและมีประโยชน์เหมาะแก่การบริโภคมากชนิดหนึ่งใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด
เช่น ทำน้ำมันสลัด ทำขนม ใช้ทอดอาหารต่าง ๆ
- น้ำเชื่อมข้าวโพด (corn syrup) เป็นน้ำเชื่อมที่ได้จากการย่อยสลายแป้งข้าวโพดใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและขนมหวานต่าง ๆ เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ตกผลึกและคงรูป
»
การจำแนกชนิดข้าวโพด
»
ส่วนประกอบและคุณค่าทางอาหาร
» การใช้ประโยชน์ของข้าวโพดในรูปของอาหาร
»
การใช้ประโยชน์อื่น ๆ
»
แกงเลียงข้าวโพดอ่อน
»
ข้าวโพดฝักอ่อนผัด
»
ข้าวโพดทอดมัน
»
ข้าวโพดผัดรวมมิตรเปรี้ยวหวาน
»
ข้าวโพดเปียกชนิดข้น
»
ต้มส้มข้าวโพดอ่อน
»
วิหคสวรรค์
»
ห่อหมกข้าวโพด
»
ขนมข้าวโพด
»
ข้าวโพดคลุกเสวย
»
ข้าวโพดเปียก
»
ข้าวโพดอบเนย
»
ข้าวโพดนึ่งอบเนย
»
ข้าวโพดคั่วหวาน
»
ข้าวโพดคั่วเค็ม
»
ข้าวโพดปิ้งทาเนย
»
ข้าวโพดน้ำกะทิ
»
ไอศกรีมข้าวโพดกะทิสดหอมกะทิ
»
กระทงทองข้าวโพด
»
ข้าวโพดหรุ่ม
»
ข้าวโพดฝักอ่อนชุบแป้งทอด
»
ข้าวโพดทอด
»
กาแฟข้าวโพด
»
ข้าวโพดฝักอ่อนบรรจุขวด
»
ข้าวโพดเมล็ดในน้ำเชื่อม
»
ข้าวเกรียบข้าวโพด
»
น้ำข้าวโพดเข้มข้น
»
น้ำพริกเผาข้าวโพด
»
ทองม้วนข้าวโพด