เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

ส้มโอ

กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคของส้มโอ

1. โรคยางไหล
โรคนี้เกิดจากเชื้อรา อาการที่แสดงให้ เห็นคือ มีน้ำเหลวสีน้ำตาลไหลออกมา หรือเกาะติดตามกิ่งและ ลำต้น มีแผลเล็กๆ อยู่ตรงส่วนที่ยางไหลออกมา เริ่มแรกจะ เห็นเป็นจุดวงสีน้ำตาล ต่อมาจุดนี้จะลามออกไปเป็นแผลใหญ่ๆ มีน้ำยางสีน้ำตา.ลไหลออกมามากมายหรือรอบกิ่ง หรือเกาะเหนียวอยู่ตามกิ่งและ ลำต้น ถ้าต้นที่โตแล้วเป็นมากจะสังเกตเห็นว่าใบเริ่มเหลืองเล็กและหลุดร่วงไป ต้นแสดงอาการทรุดโทรม ผลเล็ก ยอดแห้ง ในที่สุดต้นก็จะตาย

การป้องกันกำจัด

  • ถ้าพบอาการเป็นแผลและยางไหลออกมาให้รีบเฉือนเปลือกไม้ส่วนที่เป็นแผลออกให้หมด ทาแผลรวมทั้งรดดินบริเวณโคนต้นด้วยสารเคมี เข่น ฟอสเอทธีล อีล
  • อย่าให้น้ำขังหรือท่วมบริเวณต้นส้มโอเป็นเวลานานๆ ควรทำการระบายน้ำอย่าให้ขังหรือชื้นแฉะ
  • ส้มที่ตายแล้วหรือส่วนของส้มที่ตัดทิ้งนำมารวมกันเผาทำลาย

2. โรคโคนเน่าและรากเน่า
โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกันกับโรคยางไหลมักจะเกิดบริเวณโคนต้นใกล้ผิวดิน เริ่มจากเปลือกจะเป็นจุดๆ แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเน่า เปลือกอ่อนหลุดออกมาได้ง่าย ถ้าอากาศชื้นทิ้งไว้ 1 - 2 วัน จะเห็นเส้นใยของราฟูขาวขึ้นมา อาการเน่าจะลุกลาม ออกไป เปลือกที่เน่าจะมียางสีน้ำตาลไหลออกมา เมื่อเน่ารอบ โคนต้นส้มจะตาย อาการที่รากจะเป็นเช่นเดียวกับที่โคนต้น ในระยะนี้ใบจะเหลืองซีดร่วงหล่น กิ่งเริ่มแห้ง และตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด

การป้องกันกำจัดให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับโรคยางไหล

3. โรคใบแก้ว
โรคนี้อาจจะเกิดจากการขาดธาตุอาหารหรือเชื้อมายโคพลาสมา อย่างใดอย่างหนึ่งจะพบมาก หลังจากที่ต้นส้มโอให้ผลไปแล้ว 2 - 3 ปี ส้มให้ผลดกมากเกินไป อาการที่พบบนใบจะทำให้ใบเล็กลง ใบมีสีเหลือง ใบชี้ปลายใบค่อนข้างเรียวแหลม โดยเฉพาะใบแก่จะแสดงอาการเหลืองเป็นจ้ำ ๆ ก่อนที่ส้มจะปรากฏอาการของโรคบนใบรุนแรงนั้น ส้มจะอยู่ในลักษณะงามเต็มที่ออกดอกมาก ถ้าอาการรุนแรงผลจะร่วงมากผิดปกติ อาการอีกชนิดหนึ่งคือส้มโอให้ผลผลิตสูงโดยตลอดติดต่อกัน 2-3 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เริ่มทรุดโทรมและแห้งตายไปในที่สุด

การป้องกันกำจัด

  • ฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเมทโธเอท เพื่อป้องกัน แมลงพาหะ ฉีดเมื่อส้มเริ่มแตกใบใหม่
  • อย่าปล่อยให้ต้นติดผลมากจนเกินควร ถ้าออกผลมากควรปลิดทิ้งให้เหลือพอเหมาะกับขนาดของต้น
  • หลังเก็บผลแล้วควรตัดกิ่งและบำรุงดินให้อยู่ ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะควรไข้ปุ๋ยอินทรีย์ไห้มาก เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกตามด้วยปุ๋ยเคมี
  • การปลูกส้มโอทดแทนหรือเริ่มทำสวนส้มใหม่ ๆ ควรแน่ใจว่าใช้ต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรค
  • เมื่อพบว่าต้นใดเป็นโรคใบแก้ว ควรตัดกิ่งที่เป็นทิ้ง ถ้าเป็นทั้งต้นให้ขุดไปเผาไฟทำลาย

4. โรคแคงเกอร์
โรคนี้มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดในระยะที่ใบอ่อนและผลที่ยังอ่อน แรก ๆ จะเห็นเป็นจุดใส ๆ ขนาดเล็กเท่ากับหัวเข็มหมุดสีขาวหรือเหลืองอ่อน กระจายอยู่ทั่วไป ต่อมาจะยายโตขึ้นนูนทั้งด้านบนและด้านล่างใบ แผลจะกลายเป็นสีเหลือง ภายในแผลมีลักษณะขรุขระ ถ้าเป็นมากจะทำให้ใบร่วง บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วย อาการที่กิ่งจะเป็นแผลตกสะเก็ดที่เปลือก ากจะทำให้ใบร่วง บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วย อาการที่ กิ่งจะเป็นแผลตกสะเก็ดที่เปลือก ถ้าเป็นมากทำให้กิ่งตายได้

การป้องกันกำจัด

  • ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เมื่อมีนนอนชอนใบระบาดเพราะหนอนทำให้ใบและกิ่งเป็นแผล เชื้อโรคระบาดเข้าไปได้ เนื่องจากหนอนชอนใบเป็นพาหะ
  • กิ่งที่จะนำไปปลูกใหม่ต้องปราศจากโรค
  • ตัดกิ่งที่เป็นรุนแรงมากไปเผาทำลาย
  • ตัดแต่งกิ่งภายในทรงต้นให้โปร่ง
  • ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรค เช่น สเตรปโตมัยซิน 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และใช้คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ร่วมกับ ยากำจัดหนอชอนใบ

5. โรคแสค๊ป
โรคนี้เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง เป็นได้ทุกระยะ อาการจะเป็นแผลนูนๆ กลีน้ำตาลที่ใบหรือที่ด้านใต้ของผลจะเป็นรอยบุ๋ม แผลมักจะติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ทำให้ใบบิดเบี้ยว บางทีมียางไหลออกมา

การป้องกันกำจัด

  • ฉีดพ่นด้วยการเคมี เข่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์
  • ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย

6. โรคราสีชมพู
เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งอาการ เริ่มแรกจะ.ปรากฏภายในเปลือกของกิ่ง จะเป็นจุดช้ำเล็ก ๆ สีน้ำตาล ต่อมาแผลจะรุกรามถึงกันทำให้กิ่งแห้งตาย จะเห็น สีชมพูของราตรงส่วนที่แห้งคล้ายกับเอาปูนแดงไปป้ายไว้ กิ่งที่เป็นโรคจะมีใบเหี่ยวและร่วง

การป้องกันกำจัด

  • ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่อง ได้ทั่วถึง
  • ถ้าเป็นมากๆ ให้ตัดกิ่งที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย
  • ฉีดพ่น ด้วยสารเคมี เช่นคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์

7. โรคจุดสนิม
เกิดจากสาหร่ายชนิดหนึ่ง อาการจะพบตามกิ่งใบและผลระบาดมากในฤดูฝนจะเห็นเป็นจุดกลม สีเขียวหรือแดงคล้ายกำมะหยี่ขี้นอยู่บนใบ ขนาดไม่แน่นอน ถ้าเกิดบนกิ่งจะทำให้กิ่งแตก ใบที่อยู่บนกิ่งนั้นจะเขียวซีดกิ่งแห้งตาย บนผลจะทำให้เนื้อเยื่อนูนผิดปกติ ผิวเปลือกแตกออก

การป้องกันกำจัด

  • ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่นเดียวกับโรคแสค๊ป
  • ตัด กิ่ง ใบ และผล ที่เป็นโรคเผาไฟทำลาย

8. โรคราดำ
เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มักพบในสภาพที่มีหมอกลงจัด อากาศชื้นจะมีเชื้อราขึ้นตามใบและผลเป็นสีดำ ถ้าเป็นมากจะคลุมใบไม่ให้ได้รับแสงแดด ต้นส้มจะไม่งามเท่าที่ควร ถ้าเป็นที่ผลจะทำให้ผลร่วง โดยเฉพาะผลอ่อน

การป้องกันกำจัด

  • ฉีดพ่นน้ำที่ใบและกิ่งเพื่อชะล้างเชื้อราโดยตรง
  • ฉีดพ่นสารเคมีปีองกันเชื้อราเป็นครั้งคราว
  • ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงปากดูดที่มาเกาะกินใบและถ่ายมูลทิ้งไว้ ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราอย่างดี สารเคมีที่ใช้ เช่นไดเมทโธเอท

» พันธุ์ส้มโอ
» การขยายพันธุ์ส้มโอ
» ระยะปลูก
» วิธีปลูก
» การกักน้ำส้มโอเพื่อช่วยในการออดอก
» ผลผลิตและการเก็บเกี่ยว
» สภาพดินฟ้าอากาศ
» วิธีตอนกิ่ง
» การปลูก
» การดูแลรักษา
» การป้องกันน้ำเค็มและน้ำเสีย
» ประโยชน์ของส้มโอ
» การป้องกันกำจัดศัตรูส้มโอ
» โรคของส้มโอ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย