เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร

การปลูกหม่อน

แมลงศัตรูที่สำคัญของหม่อน

1. แมลงประเภทปากดูด

ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงหวี่ขาว ไรแดง เพลี้ยจั๊กจั่น เป็นต้น แมลงเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อนและลำต้น ทำให้ต้นหม่อนชะงักการเจริญเติบโตถ้าระบาดมาก ๆ จะทำให้ใบหงิกงอและแห้งตาย

การป้องกันและกำจัด

  1. ตัดแต่งกิ่งหม่อนและนำกิ่งและใบหม่อนที่มีแมลงพวกนี้อยู่ไปเผาทำลาย
  2. ถ้าพบว่ามีแมลงศัตรูระบาดมาก ให้ใช้สารเคมีประเภทดูดซึมฉีดพ่น เช่น
    - โมโนโครโตฟอส ชื่อการค้า นูวาครอน ออโซดริน คาร์วิน อาโซเดรน อาโกติน อนูเรท
    - ไดเมทโธเอ็ท ชื่อการค้า ไดเม็ท โรเกอร์ ไดซัน-แอน ร๊อกไซออน อีโคโธเมท

ข้อควรระวัง : สารเคมีประเภทดูดซึม จะมีพิษตกค้างในใบหม่อนนานไม่น้อยกว่า 20 วัน ดังนั้น ควรจะเก็บใบหม่อนไปเลี้ยงไหมหลังจากฉีดพ่นแล้วประมาณ 30-35 วัน

2. แมลงประเภทปากกัด ที่สำคัญ

ได้แก่

  • ด้วงเจาะลำต้น จะเข้าทำลายบริเวณต้นและโคนต้น เห็นเป็นเศษขุยเนื้อไม้ออกมากองบริเวณปากรู ทำให้ต้นหม่อนอ่อนแอ และตายในที่สุด แปลงหม่อนที่มีการระบาดของด้วงเจาะลำต้นมากจะสังเกตเห็นยอดหม่อนเหลืองและเหี่ยวหักพับ ป้องกันและกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น ไดคลอร์วอส ชื่อการค้า ดีดีแวป ในอัตรา 10 ซีซี (1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดเข้าไปในรูที่หนอนเจาะแล้วอุดด้วยดินเหนียว
  • ปลวก จะทำลายกัดกินเนื้อไม้เป็นอาหาร ทำให้ต้นหม่อนไม่สามารถเจริญเติบโต แคระแกร็น ต้นและกิ่งหักล้มได้ง่ายและอาจตายในที่สุด ป้องกันและกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น เฮปตาคลอร์ ออลดริน ดีลดริน อาลามอนในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้นหม่อนที่ถูกทำลาย ห้ามใช้สารเคมีประเภทนี้ฉีดพ่นต้นหม่อนเพราะมีฤทธิ์ตกค้างนาน

» การดูแลรักษาสวนหม่อน
» การตัดแต่งกิ่งหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมวัยอ่อนและวัยแก่
» แมลงศัตรูที่สำคัญของหม่อน
» การเตรียมท่อนพันธุ์
» การจัดการสวนหม่อน
» การตัดแต่งกิ่งหม่อน
» โรคที่สำคัญของหม่อน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย