เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

สละ

ชมรมผู้ปลูกสละจันทบุรี

การดูแลรักษา

สะละในระยะก่อนให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี)

การใส่ปุ๋ย

  • ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 2-5 กิโลกรัม ต่อกอ ต่อปี แบ่งใส่ 2-4 ครั้ง ต่อป
  • ปุ๋ยคอก อัตรา 10-20 กิโลกรัม ต่อกอ ต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต่อปี

การให้น้ำ

  • ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอประมาณ 0.7 เท่า ของอัตราการระเหยน้ำจากถาดระเหยน้ำ ชนิด A (Class A cvaportion pan) หรือเท่ากับ 2.8-3.2 มิลลิเมตร ต่อวัน หรือคิดเป็น 100-118 ลิตร ต่อกอ ต่อวัน สำหรับระยะปลูก 6x6 เมตร ในเขตจังหวัดจันทบุรีมีอัตราการระเหยน้ำจากถาดระเหยน้ำ ประมาณ 4.0-4.5 มิลลิเมตร ต่อวัน ในช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม

การตัดแต่งทางใบ

  • ไม่ควรตัดแต่งทางใบมากนัก นอกจากทางใบที่แก่หมดสภาพแล้วเท่านั้น หากทางใบโน้มกีดขวางการทำงานควรใช้เชือกไนลอนผูกรวบไว้ ทางใบที่ตัดแล้วควรนำไปปูคลุมรอบโคนต้นโดยคว่ำด้านหนามลงดิน หรือบดละเอียดด้วยเครื่องบดทางสะละเป็นปุ๋ยหมักต่อไป

การตัดแต่งหน่อและการไว้กอ

สะละอายุได้ประมาณ 1 ปี จะแตกหน่อออกมาจำนวนมาก หากปลูกแบบกอควรเลี้ยงหน่อไว้เพียงหน่อเดียว (2 ต้น ต่อกอรวมทั้งต้นแม่) จะทำให้สะละตกผลเร็ว หลังจากนั้น ค่อยเลี้ยงหน่อเพิ่มขึ้นให้ได้จำนวนต้นตามต้องการ คอยหมั่นตัดแต่งหน่อที่ไม่ต้องการออก

สะละในระยะให้ผลผลิต (อายุ 3 ปี ขึ้นไป)

การใส่ปุ๋ย

  • ควรเก็บตัวอย่างดินและใบสะละไปวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อประเมินความต้องการธาตุอาหารของสะละ สำหรับใช้เป็นแนวทางการใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง
  • ควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย และใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ
  • ปุ๋ยคอก อัตรา 30-40 กิโลกรัม ต่อกอ ต่อปี แบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง
  • ปุ๋ยเคมีที่มีเรโซเท่ากับ 1:1:1 sinv 2:1:2 หรือใกล้เคียง อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อกอ ต่อเดือน ใส่ทุกเดือน เดือนละ 1-2 ครั้ง โดยพิจารณาจากความสมบูรณ์ของต้นและ ปริมาณผลผลิตประกอบด้วย

การให้น้ำ

  • ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 0.7 เท่า ของอัตราการระเหยน้ำจากถาดระเหยน้ำ ชนิด A (Class A cvaportion pan) หรือเท่ากับ 2.8-3.2 มิลลิเมตร ต่อวัน หรือคิดเป็น 100-118 ลิตร ต่อกอ ต่อวัน สำหรับระยะปลูก 6x6 เมตร

การตัดแต่งทางใบ

  • สะละที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรไว้ทางใบ 15-20 ทางใบ
  • ไม่ควรตัดแต่งทางใบที่รองรับทะลายผล จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
  • ทางใบช่วงที่มีใบตัดแล้วนำมาปูคลุมโคนโดยคว่ำหนามลงดิน ส่วนช่วงโคนที่ไม่มีใบนำไปบดละเอียดด้วยเครื่องบดทางสะละเป็นปุ๋ยหมักต่อไป

การตัดแต่งหน่อและไว้กอ

  • หลังจากเลี้ยงหน่อได้จำนวนต้นที่ต้องการแล้วคอยหมั่นตัดหน่อที่ไม่ต้องการออก ทั้งหน่อข้างต้น (หน่อต๊อก) และหน่อดิน
  • เมื่อสะละมีอายุได้ประมาณ 7-8 ปี หรือเมื่อต้นมีความสูงไม่น้อยกว่า 1 เมตร อาจตัดต้นแม่ออกนำไปขยายพันธุ์ เพื่อให้มีช่องว่างตรงกลางกอ จะทำให้ปฏิบัติการดูแลรักษาสะดวกยิ่งขึ้น

การตัดแต่งดอก

  • คานดอกที่ออกมาในระยะก่อน 2 ปี ควรตัดทิ้ง เพราะผลผลิตที่ได้ ในระยะนี้จะไม่มีคุณภาพ
  • ตัดแต่งช่อดอกในแต่ละคานให้เหลือปริมาณพอเหมาะกับความสมบูรณ์ต้น โดยสังเกตจากช่อดอกหากสมบูรณ์จะอวบยาว สีแดงเข้ม กาบหุ้มมีสีดำ หรือสีน้ำตาล

การผสมเกสร

  • สะละต้องช่วยผสมเกสร
  • ผสมเกสรโดยตัดช่อดอกตัวผู้ของระกำ สะกำ หรือสะละที่ บานแลวมาเคาะใส่ช่อดอกตัวเมียที่บานแล้ว ประมาณ 50% ของช่อดอกขึ้นไป ให้ละอองเกสรตกลงไปผสมกับเกสรตัวเมีย
  • ผสมเกสร โดยใช้เกสรสำเร็จรูปที่เก็บรวบรวมไว้ ผสมกับแป้งทาลคัม อัตรา 1:10 พ่นบนช่อดอกตัวเมียที่บานแล้ว 80% ก่อนนำเกสรสำเร็จรูปไป ใช้ควรทดสอบเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตของละอองเกสรก่อน
  • การผสมเกสรสามารถทำได้ตลอดทั้งวัน แต่ในฤดูฝนเมื่อ ผสมแล้วต้องคลุมดอกไว้อย่างน้อย 2 วัน

การโยงผล

  • โยงผลตามความเหมาะสมโดยเฉพาะใน ต้นเล็กที่กระปุกผลอยู่ใกล้พื้นดิน

» พันธุ์
» การปลูก
» การดูแลรักษา
» สุขลักษณะและความสะอาด
» ศัตรูของสะละ และการป้องกันกำจัด
» แมลงที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
» คำแนะนำการใช้สารป้องกันจำกัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
» การเก็บเกี่ยว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย