เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

สละ

ชมรมผู้ปลูกสละจันทบุรี

ศัตรูของสะละ และ การป้องกันกำจัด

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคใบจุด

สาเหตุ ปัจจุบันพบเชื้อราสาเหตุ 2 ชนิด คือ Helminthosporium sp. และ Bipolaris sp.
ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลสีเหลืองอ่อน ขนาดหัวเข็มหมุด ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ แผลขยายออกมีลักษณะค่อนข้างกลม มักเกิดกับต้น สะละที่ปลูกในสภาพแจ้งไม่มีร่มเงา

การป้องกันกำจัด
- สร้างร่มเงาที่เหมาะสมให้แก่ต้นสะละ

โรคผลเน่า

สาเหตุ เกิดจากการเข้าทำลายของเส้นใยเห็ดรา ชนิด Marasmius palmivorus Sharples
ลักษณะอาการ เปลือกของผลสะละจะมีสีน้ำตาล มีเส้นใยสีขาวหรือขาวอมชมพูเกิดขึ้น เส้นใยจะแทงทะลุเปลือกเข้าไปในผล ทำให้เปลือกเปราะแตก เนื้อในเน่า ผลร่วงหล่น เมื่อเส้นใยเจริญเต็มที่จะสร้างดอกเห็ดสีขาว เมื่อดอกบานจะปลดปล่อยสปอร์กระจายและระบาดไปสู่ทะลายผลอื่น ๆ ได้

การป้องกันกำจัด

  • ปรับสภาพสวนให้มีการระบายอากาศดี ควบคุมไม้ร่มเงาให้ได้แสงกับสะละ ประมาณ 50
  • ผลที่แสดงอาการเน่าควรปลิดทิ้ง พร้อมกับเก็บผล ที่ร่วงหล่น เผาทำลายก่อนที่จะสร้างดอกเห็ด
  • การป้องกันโดยการใช้จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อ สาเหตุก่อนการระบาด เช่น บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis
  • การป้องกันโดยการใช้สารเคมีป้องกันกำ จัดเชื้อรากลุ่มคาร์บ๊อกซิม (carboxin) เช่น ไวตาแว็กซ์ 75% WP อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไธเบนดาโซล (thiabendazol) เช่น ท็อปซิม-เอ็ม + ฟอสฟอรัส แอซิค ฉีดพ่นก่อนการระบาดของเชื้อสาเหตุหรือก่อนฤดูฝน และหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน

» พันธุ์
» การปลูก
» การดูแลรักษา
» สุขลักษณะและความสะอาด
» ศัตรูของสะละ และการป้องกันกำจัด
» แมลงที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
» คำแนะนำการใช้สารป้องกันจำกัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
» การเก็บเกี่ยว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย