เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกฝรั่ง
กรมส่งเสริมการเกษตร
ฝรั่งเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างจะคุ้นเคยกับชีวิตประจำวันของคนไทยและเป็นผลไม้ที่มีขายตลอดทั้งปี มีรสชาติดี ราคาไม่แพง มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะวิตามินซีและวิตามินเอ สามารถนำมาใช้รับประทานผลสด หรือนำมาแปรรูปเป็นน้ำฝรั่ง เยลลี่ฝรั่ง แยมฝรั่ง เป็นต้น
ฝรั่งจัดเป็นไม้ผลขนาดกลาง มีกิ่งเหนียว แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปกว้าง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ถ้าปลูกในดินร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาก และมีการระบายน้ำดี ก็ยิ่งจะได้ผลผลิตดี ฝรั่งมีความต้านทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี จึงนิยมปลูกกันอยู่ทั่วไป ปัจจุบันพื้นที่ที่มีการปลูกกันมากได้แก่ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี และบริเวณจังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร และเริ่มขยายแหล่งปลูกไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ฝรั่งที่ปลูกในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ แต่ที่นิยมใช้รับประทานผลสด ได้แก่ ฝรั่งพันธุ์ที่มีผลใหญ่ ผลดก รสอร่อย เช่น พันธุ์กมลสาลี่ แป้นสีทอง ทูลเกล้า นอกจากนี้ยังมีพันธุ์พื้นเมืองต่าง ๆ พันธุ์อินเดีย พันธุ์จีน เป็นต้น
สำหรับฝรั่งที่นำมาใช้แปรรูป ได้แก่ พันธุ์บังมองท์ และพันธุ์คาฮังคูล่า เนื่องจากทั้งสองพันธุ์นี้มีเนื้อมา สีชมพู มีกลิ่นหอม รสกลมกล่อม
»
การปลูกฝรั่ง
»
การดูแลรักษา
»
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
»
การห่อผล
»
ลักษณะฝรั่งที่เหมาะสมสำหรับส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
»
การขยายพันธุ์
»
การเตรียมดิน
»
วิธีปลูก
»
การบังคับให้ฝรั่งออกดอก
»
การเก็บเกี่ยว
เรียบเรียงโดย จุไรรัตน์ แสงสวัสดิ์ กองส่งเสริมพืชสวน
จัดทำโดย วิเชียร ภิรมย์สุภาพ กองเกษตรสัมพันธ์
เอกสารอ้างอิง
- พิชัย สราญรมย์ และเบญจพร ตั้งสุขเกษมสันต์. 2527. ความก้าวหน้าของฝรั่งในเมืองไทย. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ ฉบับเดือนธันวาคม-มกราคม.
- ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์. 2531. การปลูกฝรั่งเพื่ออุตสาหกรรม. ห้างหุ้นส่วนจำกัดฟันนี่พลับบลิชชิ่ง กรุงเทพฯ.
- วิจิตร วังใน. 2531. ฝรั่ง. วารสารสมาคมพิชสวน ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน.
- สุรพล จารุพงศ์. 2531. การปลูกฝรั่ง. คำแนะนำที่ 73 กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
- ศุภลักษณ์ กลับน่วม และจุไรรัตน์ แสงสวัสดิ์. 2536. การปลูกฝรั่ง. คำแนะนำที่ 73 กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสกรณ์.