เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

การปลูกชมพู่

การใช้สารเคมี

สำหรับการใช้สารเคมี กฤษฎา ทัสนารมย์ (2537) รายงานว่า มีการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซล กับชมพู่พันธุ์ทูลเกล้าอายุ 3 ปี โดยใช้สารเข้มข่น 1, 2 และ 4 กรัม ของสารออกฤทธิ์ และพ่นทางใบระดับความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 2 ซีซี. / น้ำ 20 ลิตร ที่ใบมีอายุ 40 - 90 วันหลังการตัดแต่งกิ่ง ทำให้ดอกในช่วง 60 วัน หลังให้สาร โดยระดับความเข้มข้น 4 กรัม / ต้น โดยราดลงดิน 2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นทางใบให้ดอกสูงกว่าความเข้มข้นระดับอื่น ๆ

ในชมพู่เพชร ประทีป กุณาศล ได้ทำการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซล กับชมพู่เพชรอายุ 7 ปีขึ้นไป และ 2 - 4 ปี โดยใช้สารจำนวน 30 ซีซี. ผสมน้ำ 2 ลิตร กับทรงพุ่มที่มีขนาดผ่าศูนย์กลาง 2 - 3 เมตร โดยราดสารในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ชมพู่แทงช่อในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ซึ่งต้นที่ได้รับสารจะออกดอก 90% ขณะที่ต้นที่ไม่ได้รับสาร ออกเพียง 5% ชมพู่ไม่แสดงอาการผิดปกติ ยกเว้นข้อใบสั้นลงเท่านั้น อย่างไรก็ตามหลังให้สารแก่ต้นชมพู่แล้วประมาณ 1 เดือน ควรให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงได้แก่ 12 - 24 - 12 , 8 - 24 - 24 หรือ 9 - 24 - 24 เพื่อให้ต้นชมพู่เตรียมพร้อมในการสร้างตาดอก ซึ่งอาจจะทำให้ชมพู่สามารถออกดอกได้มากยิ่งขึ้น

» สถานการณ์การผลิตและการตลาดชมพู่
» พันธุ์
» การขยายพันธุ์
» การปลูก
» การกำจัดวัชพืช
» การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลชมพู่หลังการเก็บเกี่ยว
» การผลิตชมพู่นอกฤดู
» การใช้สารเคมี
» โรคและแมลงศัตรูชมพู่

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย