เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

การปลูกชมพู่

โรคและแมลงศัตรูชมพู่

1. โรคชมพู่

สำหรับโรคที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชมพู่ได้แก่

  • โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบการทำลายบนผลชมพู่ที่ห่อไว้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ต้นและใบไม่ค่อยพบร่องรอยการทำลาย ลักษณะที่ปรากฏบนผลจะมีการเน่าสีดำ แผลจะยุบตัวเล็กน้อย มีวงสปอร์สีดำเป็นวง ๆ ซ้อนกันบางครั้ง อาจพบเมือกสีแสดด้วย

    การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นผลก่อนห่อด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เบนโนมิล แคบแทน ค็อปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์

2. แมลงศัตรูชมพู่

  • แมลงค่อมทอง เป็นด้วงงวงชนิดงวงสั้น ลำตัวสีเขียวเหลืองทอง รูปไข่ ขนาดลำตัวกว้าง 0.5 มิลิเมตร ยาว 1.30 - 1.50 เซนติเมตร มักพบอยู่เป็นคู่ ๆ การทำลายตัวแก่ชอบกัดกินใบอ่อนยอดอ่อน ทำให้เว้าแหว่ง

    การป้องกันกำจัด โดยเขย่าต้น เก็บตัวแก่ทำลาย กรณีระบาดอย่างรุนแรง พ่นสารเคมีคาร์บาริล (เซฟวิน 85% WP) อัตรา 60 กรัม / น้ำ 20 ลิตร หรือ เมธาไมโดฟอส (ทามารอล 600 56% WP) อัตรา 20 มิลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร หรือโมโนโครโตฟอส อัตรา 30 มิลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร
  • ด้วงม้วนใบ เป็นด้วงงวงชนิดส่วนคอยาว ขนาดเล็กลำตัวสีน้ำตลา มีจุดสีเหลืองบนปีกทั้ง 2 ข้าง ส่วนงวงยาวเกือบเท่าลำตัว

    การทำลาย ตัวเมียจะกัดใบเป็นรูเล็ก ๆ แล้ววางไข่ 2 - 3 ฟองในใบม้วน ตัวอ่อนเจริญกัดกินในใบ และเข้าเป็นดักแด้ในใบม้วน

    การป้องกันกำจัด เก็บใบม้วนเผาทำลาย กรณีระบาดรุนแรง ควรพ่นด้วยสารเคมีคาร์บาริล(เซฟวิน 85% WP) อัตรา 60 กรัม / น้ำ 20 ลิตร หรือ เมธาไมโดฟอส (ทามารอล 600 56% WP) อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
  • เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายเข็ม ตัวแก่มีปีก มักจะเข้าทำลายยอดอ่อน ใบอ่อน โดยดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ใบแห้งตาย หรืองิก บิดเบี้ยว แคระแกร็น

    การป้องกันกำจัด โดยการใช้สารเคมีคาร์บาริล(เซฟวิน 85% WP) อัตรา 60 กรัม / น้ำ 20 ลิตร หรือ โมโนโครโตฟอส 30 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
  • แมลงวันทอง เป็นแมลงวันที่ทำลายผลไม้ชินิดหนึ่ง ลำตัวมีสีดำปนเหลือง

    การทำลาย ตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่มีผลแก่ และตัวหนอนเข้ากัดกินเนื้อในผล ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นในที่สุด

    การป้องกันกำจัด ห่อผลด้วยถุงพลาสติด หรือใช้เมธิลยูจินอล ล่อแมลงวันตัวผู้ หรือใช้เหยื่อพิษ โปรตีนไฮโดรไลเสท 100 กรัม + น้ำตาล 20 กรัม / น้ำ 4 ลิตร + มาลาไธออน 1.5 กรัม หรือใช้ไดอะซิโนน หรือเฟนิโตไธออนแทนมาลาไธออน ผสมเป็นเหยื่อพิษอีกชนิดหนึ่ง

» สถานการณ์การผลิตและการตลาดชมพู่
» พันธุ์
» การขยายพันธุ์
» การปลูก
» การกำจัดวัชพืช
» การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลชมพู่หลังการเก็บเกี่ยว
» การผลิตชมพู่นอกฤดู
» การใช้สารเคมี
» โรคและแมลงศัตรูชมพู่

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย