เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ระยะการเจริญเติบโตของทุเรียน
ระยะหลังเก็บเกี่ยว-ใบอ่อน
- ตรวจวิเคราะห์ดินและปรับปรุงสภาพดินใช้ Ca2NO3 (15-0-0) อัตรา 2 กก./ต้น
- ตัดแต่งกิ่ง ตัดกิ่งเป็นโรค กิ่งไม่เจริญ กิ่งแห้งตาย กิ่งกระโดง กิ่งน้ำค้างออกให้หมด
- บำรุงต้นและใบให้สมบูรณ์ ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 หรือ 15-15-15 อัตรา 2 กก./ต้น สำหรับต้นที่ทรุดโทรมใช้ทางด่วน (อาหารสำเร็จรูปที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก) + สารสกัดจากสาหร่ายทะเล อัตรา 30 มล. + ธาตุรอง + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
- กระตุ้นการแตกใบอ่อนให้พร้อมกันทั้งต้น พ่นปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 200 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ที่ใบ (ต้นละ 10 ลิตร) ให้น้ำทางดินและใบ
- ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ สำรวจตรวจนับเพลี้ยไก้แจ้และศัตรูธรรมชาติในระยะใบอ่อน 7 วัน/ครั้ง ประเมินประสิทธิภาพของศัตรูธรรมชาติในการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้และเปอร์เซนต์ของใบที่ถูกเพลี้ยไก่แจ้ทำลายหลังการตรวจนับทุกครั้ง ใช้กับดักสารเหนียวสีเหลืองล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย ใช้น้ำฉีดพ่นที่ใบเพื่อลดปริมาณไข่และตัวอ่อน ใช้สารเคมีเพื่อพบยอดถูกทำลาย > 50% ของการแตกใบอ่อนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เอ็นโดซัลเฟน (ธิโอดาน) 35% EC อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือบูโปรเฟซิน (แอพพลอด) 25% WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ 50% WP อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- จัดการน้ำ ให้น้ำปริมาณ 4-5 มม./ต้น/วัน
- ควบคุมวัชพืช ตัดวัชพืชเดือนละ 1 ครั้ง
»
ระยะใบเพสลาด
»
ระยะใบแก่ ก่อนออกดอก
»
ระยะดอกบาน ติดผล 2 สัปดาห์
»
ระยะผลอ่อน-ผลแก่
»
ปฏิทินทุเรียน
- ที่มา : คู่มือการปฏิบัติงานไอ พี เอ็ม ทุเรียน (2540-41) โครงการป้องกันและกำจัดศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสมผสาน