เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

ระยะการเจริญเติบโตของทุเรียน

ระยะผลอ่อน-ผลแก่

  1. ตัดแต่งผล 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อผลอายุ 21-30 วันตัดให้คงเหลือจำนวน 2 เท่าของปริมาณที่ต้องการ ครั้งที่ 2 เมื่อผลอายุ 35-42 วัน ครั้งที่ 3 ตัดให้เสร็จก่อนสัปดาห์ที่ 6-7 หลังดอกบานตัดผลให้คงเหลือปริมาณที่ถพอเหมาะกับอายุและความสมบูรณ์ของต้นทุเรียน
  2. บำรุงผล ผลอายุ 35 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17 + 2 อัตรา 2 กก./ต้น ในกรณีที่ต้นและใบไม่สมบูรณ์ เมื่อผลอายุ 56-63 วัน ให้ใส่ธาตุอาหารเสริม คือ ไมโครเมทคอมเพล็กซ์ อัตรา 250 กรัม/ต้น ใส่ทางดิน ธาตุรองอัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
  3. เพิ่มคุณภาพของเนื้อ รสชาติ และสี ใช้ปุ๋ยเกร็ดโปแตสเซียมซัลเฟต (K2SO4) (0-0-50) อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบก่อนเก็บเกี่ยวผล 30 วัน หรือใส่ทางดิน อัตรา 1-2 กก.ต้น เมื่อผลอายุ 6-8 สัปดาห์
  4. ป้องกันความเสียหายกับกิ่งและผล ค้ำโยงกิ่งและผลโดยใช้ไม้รวกและเชือก
  5. ควบคุมหนอนกินขั้วผล สำรวจตรวจนับหนอนกินขั้วผล และศัตรูธรรมชาติ 7 วัน/ครั้ง ประเมินประสิทฺภาพของศัตรูธรรมชาติในการควบคุมหนอนกินขั้วผลและเปอร์เซนต์ของผลที่หนอนกินขั้วผลทำลายหลังการสำรวจ ตรวจนับทุกครั้ง ใช้แสงไฟ black blue light ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย ตัดแต่งผลที่ถูกทำลายแล้ว ไปเผาทำลายในระหว่างตัดแต่งผลครั้งที่ 1-2 ใช้สารสะเดา อัตรา 1 กก./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ผลเมื่อพบหนอน 1 ตัว/ผล และ หยุดใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 15 วัน ใช้สารเคมี เมื่อพบผลถูกทำลาย > 10% หลังการตัดแต่งผลครั้งที่ 3 ฟลูเฟ็นน็อกซูรอน (แคสเคค) 5% EC อัตรา 20-40 มล./น้ำ 20 ลิตร
  6. ควบคุมหนอนเจาะผล สำรวจ ตรวจนับหนอนเจาะผลและศัตรูธรรมชาติ 7 วัน/ครั้ง ประเมินประสิทธิภาพของศัตรูธรรมชาติในการควบคุมหนอนเจาะผล และ เปอร์เซนต์ของผลที่ถูกเจาะผลทำลายหลังการสำรวจ ตรวจนับทุกครั้ง ตัดแต่งผลที่ติดกันเป็นคู่ และไม่สมบูรณ์ทิ้งในระหว่างการตัดแต่งผลครั้งที่ 1-2 ใช้กระดาษแข็งคั่นระหว่างผลที่ติดกันเป็นคู่ที่มีรูปทรงสมบูรณ์ ใช้แสงไฟล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย ตัดแต่งผลที่ถูกทำลาย และตัวหนอนไปทำลาย ใช้สารสะเดา อัตรา 1 กก./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ผลเมื่อพบรอยทำลายของหนอน และหยุดใช้ก่อนการเก้บเกี่ยวผล 15 วัน ใช้สารเคมีเมื่อพบผลถูกทำลาย 10% หลังการตัดแต่งผล ครั้งที่ 3 ฟลูเฟ็นน็อกซูรอน(แคสเคค) 5% EC อัตรา 20-40 มล./น้ำ 20 ลิตร
  7. ควบคุมเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ สำรวจ ตรวจนับเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ และศัตรูธรรมชาติ 7 วัน/ครั้ง ประเมินประสิทธิภาพของศัตรูธรรมชาติในการควบคุมเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ และเปอร์เซนต์ของผลที่ถูกเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ทำลายหลังการสำรวจตรวจนับทุกครั้ง ตัดแต่งผลที่ถูกทำลายแล้ว ไปเผาทำลายในระหว่างการตัดแต่งผลครั้งที่ 1-2 ฉีดพ่นน้ำล้างเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟให้หลุดออกจากผล
  8. ควบคุมหนอนเจาะเมล็ด สำรวจ ติดตามสถานการณ์โดยใช้กับดักแสงไฟตั้งแต่สัปดาห์ที่ 7 หลังดอกบาน ในระยะแต่งผล นำผลที่ตัดทิ้งผ่าดูร่องรอย เมื่อพบผีเสื้อหนอนเจาะเล็ดในกับดักแสงไฟ 1 ตัว ใช้สารเคมี ไซเปอร์เมทริน (พาร์ซอน) 6.25% EC + ฟอสซาโลน (โซโลน) 22.25% EC อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ เอ็นโดซันเฟน (ธีโอดาน) 20% EC อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร คาร์บาริล 85% W.P (เซฟวิน 85)
  9. ควบคุมโรคผลเน่า สำรวจ ตรวจนับโรคผลเน่า 7 วัน/ครั้ง ตัดผลเน่าไปเผาทำลาย ใช้สารเคมีเมื่อพบผลเน่า 1 ผล ฟอสเอ็ทธิล อลูมินั่ม 80% WP อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

» ระยะใบเพสลาด
» ระยะใบแก่ ก่อนออกดอก
» ระยะดอกบาน ติดผล 2 สัปดาห์
» ระยะผลอ่อน-ผลแก่
» ปฏิทินทุเรียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย