เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

ลองกอง

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาที่พบในช่วงนี้ คือ โรคราดำ ทำให้ผลลองกองมีตำหนิ เห็นเป็นคราบสีดำเคลือบอยู่ที่ผิวผลแต่ไม่ทำลายเนื้อ สาเหตุของโรคราดำนอกจากจะมีเพลี้ยแป้งเพลี้ยหอยดูดกินน้ำเลี้ยง และถ่ายมูลที่มีน้ำหวานตกค้างบนผิวผลแล้ว ในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 5-8 หลังดอกบาน ผลลองกองจะขับน้ำหวานออกมาจากต่อมน้ำหวานที่ผิวผล สังเกตเห็นเป็นหยดน้ำหวานได้ชัดเจนในช่วงเข้าที่อากาศเย็นและชื้น ซึ่งน้ำหวานนี้นอกจากเป็นแหล่งอาหารของราดำแล้วยังล่อให้แมลงอื่น เช่น ผีเสื้อมวนหวานมาดูดกินและทำลายผลลองกองอีกด้วย ดังนั้น จึงควรทำการป้องกันกำจัดทั้งเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเชื้อรา ตามคำแนะนำ สำหรับผีเสื้อมวนหวานให้ใช้เหยื่อพิษล่อ

การปฏิบัติอื่น ๆ เพื่อเป็นการช่วยให้ช่อผลลองกองมีคุณภาพดีขึ้น แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

  • การฉีดพ่นสารละลายแคลเซียม เพื่อลดการหลุดร่วงและการแตกของผล โดยฉีดพ่นสารแคลเซียมคลอไรด์ 250 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อช่อออผลมีอายุ 2 สัปดาห์ หลังติดผล และฉีดพ่นซ้ำทุก 2 สัปดาห์ ติดต่อกันจนผลลองกองเริ่มเปลี่ยสี (ประมาณสัปดาห์ที่ 10-11) โดยให้ฉีดพ่นที่ช่อหรือใบโดยตรงและสามารถฉีดพ่นร่วมกับสารป้องกันกำจัดเชื้อราได้
  • การห่อช่อผล ควรห่อในช่วงสัปดาห์ที่ 5-8 หลังติดผลเพื่อป้องกันแมลงมาดูดกินผลลองกอง และเพื่อเป็นการป้องกันราดำก็ควรจะฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนห่อผล วัสดุที่ใช้ห่ออาจนำกระสอบปุ๋ยตัดให้มีขนาดพอเหมาะกับช่อ ซึ่งการห่อผลนี้จะทำให้ได้ช่อผลที่มีสีเหลืองสวยและไม่มีริ้วรอยขูดขีด

» สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
» พันธุ์
» การขยายพันธุ์
» การปลูก
» การปฏิบัติดูแลต้นลองกองหลังปลูก
» การกำจัดวัชพืช
» การปฏิบัติดูแลลองกองในช่วงที่ให้ผลผลิตแล้ว
» การกระตุ้นการออกดอกและเร่งการพัฒนาของช่อดอก
» การจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลผลิตของลองกอง
» การใส่ปุ๋ยบำรุงผล
» การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
» การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาช่อผลลองกอง
» โรคแมลงและการป้องกันกำจัด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย