เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

การตีราคารังไหม

ขั้นตอนในการตีราคารังไหม

ในการตีราคารังไหมที่เกษตรกรนำมาจำหน่ายให้แก่โรงงานสาวไหมหรือ บริษัฑผู้รับซื้อ โดยส่วนใหญ่เกษตรกรไทยมักจะนำรังไหมมาจำหน่ายเป็นรายๆ ไป มีไม่มากนักที่จำหน่ายในลักษณะกลุ่ม ดังนั้น ในการนำรังไหมมาจำหน่าย นั้นจะมีการบรรจุรังไหมมาเป็นรายๆไป ซึ่งในการตีราคาดังกล่าวมีขั้นตอนในการ ปฎิบัติดังนี้ คือ

  1. การสุ่มตัวอย่างรังไหมเพื่อทำการทดสอบคุณภาพรังไหม
    เปอร์เซนต์เปลือกรังและเปอร์เซนต์รังดี โดยทั่วๆไปจะทำการสุ่มตัวอย่างรังไหม ประมาณ 2 3 เปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักหรืออาจจะใช้วิธีการสุ่มทุกๆ 50 กิโลกรัม สุ่มตัวอย่างประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม
  2. นำตัวอย่างรังไหมที่สุ่มมาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ คือ
    ส่วนที่ 1 ใช้รังไหมประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของรังไหมที่สุ่มไว้ ทำการหาเปอร์เซนต์เปลือกรัง โดยการคัดเลือกรังดีมาไม่น้อยกว่า 30 รัง เพื่อ หาเปอร์เซนต์เปลือกรังตามวิธึการดังนี้ คือ
    สูตร
    เปอร์เซนต์เปลือกรัง = (น้ำหนักเปลือกรัง / น้ำหนักรังไหม) x 100
    น้าหนักเปลือกรังหมายถึง รังไหมที่ผ่าเอาดักแค้และเศษคราบของหนอนไหมวัย 5 ที่อยู่ในรังออกแล้ว
    นำหนักรังไหม หมายถึง น้ำหนักรังไหมที่ยังไม่ได้ผ่าเอาส่วนใดๆออกเลย

    ตัวอย่าง
    รังไหมมีน้ำหนักเปลือกรัง 11.2 กรัม น้ำหนักรังไหม 49.2 กรัม
    แทนค่าในสูตร เปอร์เซนต์เปลือกรัง = (11.2 /49.2) X 100
    = 22.76/.(ตัวเลขเศษทศนิยมปัดขึ้น)
    = 23 %

ส่วนที่ 2 ใช้รังไหมส่วนที่เหลือประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ของ รังไหมที่สุ่มไว้ แล้วทำการหาเปอร์เซนต์ รังเสีย ซึ่งในการหาเปอร์เซนต์รังเสียใน ปัจจุบันมีวิธีการปฎิบัติอยู่ 2 วิธี ด้วยกัน คือ

  1. การหาเปอร์เซนต์รังเสียโดยใช้รังไหมสด นำรังไหมในส่วน ที่จะหาเปอร์เซนต์รังเสียทั้งหมดไปชั่งน้าหนักพร้อมทั้งจดบันทึก จากนั้นจึงนำ มาคัดเลือกเพื่อแยกรังดีและรังเสียออกจากกัน แล้วนำรังเสียไปชั่งน้ำหนักและจด บันทึกไว้
  2. การหาเปอร์เซนต์รังเสียโดยใช้รังไหมแห้ง นำรังไหมในส่วน ที่จะหาเปอร์เซนต์รังเสียทั้งหมดไปทำการอบแห้งที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 80- 90 องศาเซลเซลเซียสเป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง แล้วนำมาชั่งน้าหนักและจดบันทึก จากนั้นนำรังไหมที่อบแห้งแล้วมาทำการคัดเลือกแยกรังดีรังเสียออกจากกัน นำ รังเสียทีคัดได์ไปชั่งน้ำหนักและจดบันทึกไว้
    ในการคำนวณหาเปอร์เซนต์รังเสียจะมีสูตรการคำนวณ คือ
    สูตร เปอร์เซนต์รังเสีย = (น้ำหนักรังเสีย / น้ำหนักรังตัวอย่างทั้งหมด) x 100

    ตัวอย่าง รังไหมมีน้ำหนักรังเสีย 21 กรัม น้ำหนักตัวอย่างรังไหมที่ใช้ในการหา เปอร์เซนต์รังเสียทั้งหมด 36.8 กรัม นำตัวเลขดังกล่าวไปแทนค่าลงในสูตรการ คำนวณหาเปอร์เซนต์รังเสีย ดังนี้
    แทนค่า เปอร์เซนต์รังเสีย = ( 21/ 36.8) X 100
    = 5.7% (ตัวเลขเศษทศนิยมปัดขึ้น)

ดังนั้น เปอร์เซนต์รังเสีย = 6%
จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการตีราคารังไหมในข้อ 1 และ ข้อ 2 ทำให้ ทราบว่าเกษตรกรแต่ละรายที่ส่งรังไหมมาจำหน่ายนั้นได้คุณภาพรังไหมที่เปอร์เซนต์ เปลือกรังดีเท่าไร เปอร์เซนต์รังเสียเท่าไร แล้วนำตัวเลขที่คำนวณได้ไปเทียบ กับตารางมาตรฐานราคารังไหม ซึ่งจะมีตัวเลขเปอร์เซนต์รังเสียอยู่ในแนวตั้ง และเปอร์เซนต์เปลือกรังอยู่ในแนวนอนก็จะทำให้ทราบค่าราคารังไหมต่อกิโล กรัมได้

ที่มาของตารางราคารังไหม

ในการกำหนดราคารังไหมในตารางมาตรฐาน ราคารังไหมที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นได้มาสจากสูตรคำนวณราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม คือ

สูตร ราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม = [ราคาเส้นไหมยืน X (สัดส่วนแบ่งของเกษตรกร /100) X (เปอร์เซนต์การสาว / 100) 100 100 X (เปอร์เซนต์เปลือกรัง / 100 ) X (เปอร์เซนต์รังดี /100 ) ] + [ 150 X (12.42/100) X (เปอร์เซนต์รังเสีย / 100)]

ขยายความในสูตร

ราคาเส้นไหมยืน หมายถึง ราคาเส้นไหมยืนที่มีการซื้อขายกันใน ตลาด ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ตลาดเส้นไหม
สัดส่วนแบ่งของเกษตรกร หมายถึง สัดส่วนที่มีการกำหนดว่าส่วนแบ่ง ของราคาเส้นไหมยืนระหว่างเกษตรกรและโรงงานสาวไหมจะเป็นสัดส่วนเท่าไร ในปัจจุบันสัดส่วนของเกษตรกร : โรงงานเท่ากับ 58 : 42
เปอร์เซนต์การสาวได้ หมายถึง เปอร์เซนต์การสาวเส้นไหมได้จาก เปลือกรังใช้ตัวเลข 73 %
เปอร์เซนต์เปลือกรัง หมายถึง ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณในสูตร การหาเปอร์เซนต์เปลือกรัง จะเปลี่ยนแปลงไปตามคุณภาพรังไหมที่เกษตรกร เลี้ยงได้
เปอร์เซนต์รังดีรังเสีย หมายถึง ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณในสูตร การหาเปอร์เซนต์รังดีรังเสีย จะเป็นไปตามคุณภาพรังไหมที่เกษตรกรเลี้ยงได้
150 หมายถึง ค่าของรังไหมเสีย (ซึ่งมีปะปนมากับรังไหมที่เกษตรกร นำมาจำหน่าย) เป็นตัวเลขคงที่
12.42 หมายถึง เปอร์เซนต์การสาวเส้นไหมได้จากรังเสีย

ตัวอย่าง เกษตรกรเลี้ยงไหมนำรังไหมไปจำหน่ายได้เปอร์เซนต์เปลือกรังเท่ากับ 23, เปอร์เซนต์รังเสียเท่ากับ 6, ราคาเส้นไหมยืนกิโลกรัมละ 1,060 บาท แทนค่าในสูตร ราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม .

= [ 1,060 X (58/100) X (73/100) X (23/100) X ( 94/100) ] + [ 150 X (12.42/100) X ( 6/100) ]
= 97.0314 + 1 .1178
= 98.1492 บาท/กิโลกรัม

ดังนั้น ราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม = 98.15 บาท

ในการคิดคำนวณราคารังไหมดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าตัวเลขที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ คือ ตัวเ ลขของเปอร์เซนต์การสาวได้จาก เปลือกรัง คือ 73 และตัวเลขของเปอร์เซนต์การสาวเส้นไหมได้จากรังเสีย คือ 12.42 หากผลการวิจัยในด้านการสาวไหมจากรังไหมที่เกษตรกรเลี้ยงได้คุณภาพ รังไหมสูงขึ้น

» ความเป็นมา
» หลักเกณฑ์ในการตีราคารังไหม
» ขั้นตอนในการตีราคารังไหม
» ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการกำหนดราคารังไหม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย