เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ผล ไม้ยืนต้น

การปลูกสตรอเบอรี่

การป้องกันกำจัด การควบคุมโรคที่เกิดกับราก

ควรปฎิบัติดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการปลูกสตรอเบอรี่ซ้ำในที่ที่มีโรคระบาดติดต่อกันหลายปี ควรปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยตัดวงจรของโรค และสร้างความสมดุลย์แก่ธาตุอาหารในดิน
  • ในการเตรียมดิน ควรไถดินผึ่งทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนเตรียมแปลงปลูก ดินต้องโปร่ง มีการระบายน้ำดี มีการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น โดยใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก
  • เมื่อเริ่มพบอาการของโรครากเน่าเกิดขึ้น ให้ขุดต้นนั้นเผาทำลาย อย่าทิ้งไว้ในบริเวณแหล่งปลูก แล้วใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือราดลงดินบริเวณหลุมที่ขุดออกและต้นที่อยู่ใกล้เคียง อนึ่ง การใช้สารเคมีฆ่าเชื้อในดินจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ จุลินทรีย์อื่นๆที่มีประโยชน์ที่อาศัยในดินอาจถูกทำลายไปด้วย จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะจุดที่โรคระบาดเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
  • การใช้เชื้อจุลินทรีย์ต่อต้านเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น เชื้อราไทรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฎิปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อราไฟทอปทอร่าที่ทำให้เกิดโรคเน่าโคนเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดนนำเชื้อราไทรโคเดอร์มาที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างผสมกับรำและปุ๋ยหมักตามอัตราส่วนที่กำหนด มาคลุกกับดินในสภาวะชุ่มชี้นราว 1 - 2 สัปดาห์ก่อนปลูก

ข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไทรโคเดอร์มา

  • ไม่ใช้เชื้อราไทรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในบริเวณที่ดินแฉะ
  • ไม่ควรใช้สารกำจัดวัชพืชในแปลงที่มีการใช้เชื้อราไทรโคเดอร์มา

» โรค แมลง และศัตรูพืช
» การป้องกันกำจัด การควบคุมโรคที่เกิดกับราก
» การใช้สารเคมีควบคุมโรคสตรอเบอรี่
» ศัตรูสตรอเบอรี่ที่สำคัญ
» การติดดอกออกผลและการเก็บเกี่ยว
» การบรรจุและการขนส่งผลผลิต
» บทบาทและความสำคัญของสตรอเบอรี่

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย