เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกส้มโอ
กรมส่งเสริมการเกษตร
แมลงศัตรูส้มโอ
แมลงที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบส้ม หนอนฝีดาษส้ม หนอนเจาะผล หนอนแก้วส้ม ไรแดง ไรสนิมส้ม และไรขาว
เพลี้ยไฟ
เป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน
และผลส้ม
ผลที่ถูกทำลายจะปรากฏรอยสีเทาเงินเป็นวงบริเวณขั้วผลและก้นผลหรือเป็นทางสีเทาเงินตามความยาวของผล
การป้องกัน
เด็ดผลที่แคระแกร็น และผลที่พบการทำลายของเพลี้ยไฟทิ้ง
หากพบมีการระบาดมากให้ใช้สารเคมีได้แก่ คาร์โบซัลแฟน อัตรา 20 มิลลิลิตร / น้ำ 20
ลิตร อิมิคาโคลปิด อัตรา 10 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร
หนอนชอนใบส้ม
จะเข้าทำลายเมื่อส้มโอเริ่มแตกยอดอ่อน
โดยเมื่อนอนฟักออกจากไข่แล้วจะเจาะเข้าไปใต้ผิวใบ และกัดกินชอนไชอยู่ระหว่างผิวใบ
โดยจะทำลายด้านใต้ใบมากกว่าด้านบนใบ ใบที่ถูกทำลายจะมีลักษณะหงิกงอ เป็นแผลและแห้ง
การป้องกัน
ตัดใบอ่อนที่ถูกหนอนทำลายรุนแรงไปเผาและกำจัดวัชพืชในสวนระยะส้มเริ่มแตกใบอ่อนหรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี
ได้แก่ คาร์โบซัลแฟน อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ไซฟลูธริน อัตรา 4-6
มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
หนอนฝีดาษส้ม
จะเจาะเข้าไปกัดกินในเปลือกส้มโอ ทำให้เกิดลักษณะตะปุ่ม
ตะป่ำที่ผิวเปลือกคล้ายโรคฝีดาษ
และถึงแม้ว่าการทำลายจะไม่ถึงบริเวณเนื้อส้มโอที่เป็นโรคนี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การป้องกัน
ควรห่อผลตั้งแต่ผลยังเล็ก เก็บผลที่ถูกทำลายฝังหรือเผา ใช้สารเคมีเมทธามิโดฟอส
ในอัตร 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ในระยะกลีบดอกส้มโอร่วง
หนอนเจาะผล
จะเจาะเข้าไปภายในผลส้ม ผลที่ถูกทำลายจะมีมูลของหนอนที่ถ่ายออกมา
และมียางไหลเยิ้มบริเวณรอยแผลทำให้ผลเน่า และผลร่วงในที่สุด
การป้องกัน
ห่อผลตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ ถ้าพบการทำลายก็ให้เก็บผลที่ถูกทำลายหรือเผา
และเมื่อพบการทำลายสูงให้ใช้สารเคมี ได้แก่ เมทธามิโดฟอส ในอัตรา 30 ซีซี/น้ำ 20
ลิตร
หนอนแก้วส้ม
จะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อน เมื่อหนอนฟักออกเป็นตัว จะเริ่มทำลายใบส้มทันที
แต่ทำลายอย่างช้า ๆ เมื่อหนอนอายุได้ 5-6 วัน การทำลายจะรวดเร็ว
และทำความเสียหายให้กับใบส้มมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากเป็นส้มต้นเล็ก
อาจจะทำให้ส้มตายได้
การป้องกัน
เก็บไข่หรือหนอนมาทำลาย ถ้าพบระบาดมากให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เมทธามิโดฟอส
ในอัตราส่วน 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
ไรแดง
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดทำลายอยู่บริเวณหน้าใบ โดยเฉพาะบริเวณปลายใบ
หรือใกล้ขอบใบ ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเขียวจางและหน้าใบไม่เป็นมัน
มักพบคราบของไรคล้ายฝุ่นหรือผงสีขาว ๆ จับอยู่ตามหน้าใบ
ไรแกงชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผลด้วย ทำให้ผลซีดกร้าน
ผลส้มที่ถูกทำลายอย่างรุนแรง จะมีการพัฒนาช้า และมีน้ำหนักเบา
การป้องกัน
ใช้สารเคมี โปรปาไจท์ ในอัตราส่วน 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรืออมีทราส อัตรา 30 ลิตร
ฉีดพ่นให้ทั่วหรือใช้น้ำฉีดพ่นใบให้เปียกโชก
ไรสนิมส้ม
เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและผล ทั้งด้านบนใบและด้านใต้ใบ
ผลส้มที่ถูกไรสนิมดูดกินจะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลสนิม
ทำให้ผลมีลักษณะสกปรกไม่สวยงามไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ
การป้องกัน
หมั่นสำรวจแปลงส้มอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงอากาศแห้งแล้ง
เมื่อพบระบาดมากให้ทำการฉีดพ่นด้วยสารเคมีโปรปาไจท์ ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ชนิดใดชนิดหนึ่ง
ไรขาว
จะดูดทำลายอยู่ที่ยอดอ่อน ใบอ่อน ทำให้ใบหงิกบิดเบี้ยวใบเป็นสีน้ำตาล
นอกจากนี้ยังเข้าทำลายผลตั้งแต่เริ่มติดผล ทำให้ผิวเสีย
โดยการระบาดเริ่มที่บริเวณขั้วผลจะเป็นสีเทาและลุกลามลงไปเรื่อย ๆ
การป้องกัน
ถ้าพบการทำลายให้ทำการฉีดพ่นด้วยสารเคมีไดโคโฟลในอัตราส่วนตามคำแนะนำข้างฉลากภาชนะบรรจุสารเคมี
»
พันธุ์ส้มโอ
»
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
»
วิธีการปลูก
»
การปฏิบัติดูแลรักษา
»
โรคของส้มโอ
» แมลงศัตรูส้มโอ
»
การเก็บเกี่ยวและการขนย้าย
»
ตลาดส้มโอ
»
การปฏิบัติหลังจากเก็บเกี่ยว