เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกชา
กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
ธาตุอาหาร
ในสภาพการเจริญเติบโตตามปกติต้นชาจะดูดธาตุอาหารจากดินในปริมาณที่พอเพียงที่จะใช้ประโยชน์ แต่ธาตุอาหารก็อาจจะถูกดูดซึมเข้าทางใบได้บ้างในปริมาณเล็กน้อยจากอากาศและน้ำฝน หากต้นชาได้รับธาตุอาหารไม่พอเพียงจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของต้นชาและผลผลิตของชาลดลง แต่ถ้าได้รับธาตุอาหารมากเกินไปก็อาจทำให้ต้นชาตายได้ เนื่องจากเกิดปฏิกิริยา plasmolysis ทำให้ต้นพืชสูญเสียน้ำออกมา จึงทำให้ต้นเหี่ยวตายได้
ธาตุอาหารที่สำคัญต่อการปลูกชามีดังนี้
1. ไนโตรเจน เป็นธาตุที่สำคัญขบวนการเจริญเติบโต
และการสร้างสารที่สำคัญในพืช เช่น คลอโรฟิล ฮอร์โมนนิวคลีโอไทด์ ไวตามิน ฯลฯ
ดังนั้นต้นชาจะต้องการไนโตรเจนมากกว่าธาตุอื่น ๆ
เพราะจะถูกเก็บเกี่ยวใบและกิ่งอ่อนเป็นประจำ ต้นชาตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนเร็วมาก
โดยจะทำให้ผลผลิตใบชาแปรผันจาก 4 เป็น 8 กิโลกรัม
ในการสร้างใบชาต่อการให้ไนโตรเจนมากขึ้น 1 กิโลกรัม
โดยทั่วไปปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้เป็นรูปแอมโมเนียมซัลเฟตหรือยูเรียเพราะฉะนั้นจึงทำให้ดินเป็นกรดเล็กน้อย
ในต้นชาที่แข็งแรงสมบุรณ์จะมีระดับไนโตรเจนคงที่ในใบชาคือระหว่าง 4.5-5
เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง เมื่อปริมาณไนโตรเจนในใบชาลดลงน้อยกว่า 3
เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง ต้นชาจะแสดงอาการขาดไนโตรเจน ทำให้ระยะการแตกยอดสั้นลง
ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โตช้า ใบขนาดเล็ก ยอดน้อย ขนาดยอดเล็กลง
ข้อปล้องสั้นลงและใบร่วงในที่สุด
2. ฟอสฟอรัส
เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตมีบทบาทสำคัในการสร้างระบบรากทำให้รากแข็งแรงและมีปริมาณมาก
โดยทั่วไปในใบชาจะมีฟอสฟอรัสประมาณ 0.3-0.9 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ดี พบได้มากในส่วนยอดอ่อนและใบอ่อน
ลักษณะการขาดธาตุฟอสฟอรัส (เมื่อปริมาณธาตุฟอสฟอรัสในต้นชา P2O5 น้อยกว่า 0.4
เปอร์เซ็นต์) จะทำให้การเจริญเติบโตของต้นหยุดชะงัก การเจริญของรากช้าลงใบมีสีเข้ม
ใบด้านไม่สะท้อนแสง ขนาดใบเล็กกว่าปกติ ลำต้นอ่อน ใบร่วงและกิ่งตายในที่สุด
ฟอสฟอรัสที่เหมาะที่สุดคือหินฟอสเฟต
3. โปตัสเซียม เป็นธาตุอาหารที่สำคัญ
มีบทบาทในการสร้างโครงสร้างที่แข็งแรงให้กับทุกส่วนของต้นชา การควบคุมน้ำในเซลล์
การแบ่งเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่อุณหภูมิต่ำและช่วงแล้งนาน
ปกติโปตัสเซียมจะมีในใบประมาณ 1.5-2.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง
ลักษณะการขาดธาตุโปตัสเซียมจะทำให้สีของใบเปลี่ยนเป็นสีแดง ผลผลิตลดลงใบร่วง
ยอดก็ไม่เจริญเติบโต กิ่งและยอดอ่อนมีน้อย ลำต้นลีบเล็ก
ไม่ตอบสนองต่อการตัดแต่งกิ่ง
4. แมกนีเซียม ต้นชาต้องการเพียงเล็กน้อย ปริมาณแมกนีเซียมในใบชามีประมาณ
0.22 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง ลักษณะการขาดแมกนีเซียม (MgO)
จะทำให้ใบแก่เหลือและเกิดจุดสีน้ำตาล ในระหว่างเส้นใบและขยายใหญ่ขึ้น
จำนวนใบอ่อนไม่ลด แต่สีใบผิดปกติจากเวลาที่ควรเป็น
5. กำมะถัน ปริมาณกำมะถันในใบมีประมาณ 0.08-0.2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง
ลักษณะการขาดกำมะถันใบจะมีสีเหลืองแต่เส้นใบยังมีสีเขียว ยอดใหม่มีขนาดเล็กลง
ปล้องสั้นลงอัตราการเจริญเติบโตลดลง
6. แคลเซียม จะมีส่วนในการสร้างผนังเซลล์ซึ่งธาตุอื่นไม่สามารถทดแทนได้
ในใบชาจะมีแคลเซียมประมาณ 0.3-0.9 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง
ลักษณะการขาดธาตุแคลเซียมจะทำให้ใบแก่มีสภาพกรอบเปราะ ใบอ่อนสีซีดจาง
บริเวณขอบใบจะเกิดสีน้ำตาลในเวลาต่อมา
แต่ถ้าได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง
ใบอ่อนเกิดเป็นสีเหลือง ใบม้วนเข้าด้านใน ทำให้ทรงพุ่มมีใบลดลง
ขอบและปลายใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำแล้วร่วงในที่สุด
7. เหล็ก ในใบชามีธาตุเหล็กประมาณ 700-1,500 ส่วนในล้านส่วน (ppm)
ของน้ำหนักแห้ง การขาดธาตุเหล็ก การขาดธาตุเหล็กจะมีผลต่อการสร้างคอลโรฟิลในใบชา
8. แมงกานีส ในใบชามีแมงกานีสอยู่ประมาณ 900-1,200 ppm
ของน้ำหนักแห้งเมื่อใบแก่ขึ้น ปริมาณความเข้มจะเพิ่มมากขึ้น
การขาดแมงกานีสจะพบในดินกรดมาก
ใบแก่จะกรอบเปราะขอบใบจะมีสีเหลืองและมีจุดสีน้ำตาลบนใบ
9. โบรอน การขาดโบรอนทำให้เมตตาโบลิซึมในต้นชาลดลงเปลือกต้นชาแตกง่าย
ต้นและใบรูปร่างผิดปกติและตายได้ การสร้างดอกและผลผิดปกติ
การขาดะาตุจะมีมากในดินเหนียวหรือช่วงฤดูแล้ง
10. ทองแดง ในใบชามีธาตุทองแดงประมาณ 20-30 ppm ของน้ำหนักแห้ง
เมื่อความเข้มลดต่ำกว่า 12 ppm
จำเป็นต้องฉีดพ่นสารที่มีทองแดงหรือฉีดพ่นกับสารป้องกันเชื้อราเพื่อให้ระดับทองแดงในใบสูงขึ้นช่วยพยุงรักษาใบไว้ได้
11. อลูมิเนียม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของต้นชา
คือช่วยลำเลียงธาตุฟอสฟอรัสของต้นชากระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นชาปริมาณอลูมิเนียมในใบชามีช่วงระหว่าง
200-2,000 ppm ของน้ำหนักแห้ง
12. สังกะสี การขาดธาตุสังกะสีปรากฏเมื่อมีปริมาณธาตุสังกะสีในใบน้อยกว่า 10
ppm ของน้ำหนักแห้ง อาการจะทำให้ปล้องสั้นลง ในชะงักการเจริญเติบโต เปลี่ยนสี
ยอดโค้งงอเป็นรูปเคียว เมื่อเกิดอาการต้องฉีดพ่นธาตุสังกะสีซัลเฟตทางใยในปริมาณ 4
กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร โดยฉีดพ่น 3-4 ครั้ง
»
ประโยชน์ของชา
» แหล่งกำเนิดและประวัติการปลูกชา
» ประวัติการปลูกชาของประเทศไทย
» พันธุ์และการขยายพันธุ์
» การคัดเลือกชาเพื่อทำพันธุ์
» การขยายพันธุ์
» การปลูกและการจัดการสวนชา
» การเตรียมดิน
» การปลูก
» การให้น้ำ
» การทำไม้บังร่ม
» การกำจัดวัชพืช
» ธาตุอาหาร
» การใส่ปุ๋ย
» การเก็บเกี่ยวชา
» การปรับปรุงสวนชา
» โรคและแมลงศัตรูชา
» แมลงศัตรูชา
» ผลกระทบจากข้อตกลงแกลต์และแนวทางการปรับตัว