เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกชา
กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
โรคและแมลงศัตรูชา
โรคชา
โรคใบพุพอง
เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อ Exobasidium vexsans (Massee)
อาการของโรค จะเห็นเป็นจุดกลมเล็กสีชมพูอ่อนหรือสีจางบนใชอ่อนของชาในฤดูฝน
ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นถึง 0.5-2.0 เซนติเมตร ตำแหน่งที่เป็นโรคจะมีรอยปูดนูน
บริเวณผิวใบด้านล่างจะเป็นจุดกลม สีชมพูจางกลายเป็นสีแดงเข้ม
ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวฟู และสีเทาอ่อนในที่สุด
เมื่ออาการของโรคถึงขั้นนี้ก็ไม่สามารถเก็บใบอ่อนไปใช้ประโยชน์ได้
ด้านบนของผิวใบที่เป็นโรคนี้มีรอยบุ๋มลงไป
ส่วนด้านล่างของใบจะนูนออกมาและปรากฏเส้นใยของเชื้อราสีขาวฟูชัดเจน
เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งแผลที่เป็นโรคจะแห้ง เปลี่ยนเป็นสีเทาน้ำตาล
เพื่อรอระบาดในฤดูถัดไป
การป้องกันกำจัด เด็ดใบที่เป็นโรคและเก็บใบทีร่วงเผาทิ้ง
และใช้สารเคมีที่มีสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ อัตรา 300
กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วใบชา 8-10 ต้นต่อครั้งจนโรคหยุดระบาด
โรคใบจุดสีน้ำตาล
เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อ
1. Collectotricum camelliae (Cook) Battler.
2. Glomerella cingulata (Stonem) S. & Sc.
อาการของโรค อากรแรกเริ่มเป็นจุดสีน้ำตาลแกมเหลืองบนผิวใบชา ต่อมาอีก 7-10 วัน
จุดสีน้ำตาลจะขยายใหญ่และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ
มีวงแหวนล้อมรอบแผลเนื้อเยื่อใบที่เป็นโรคนี้จะแห้งตาย ถ้าอาการของโรครุนแรง
จะทำให้ใบร่วง โรคนี้มักเกิดกับใบและยอดอ่อน
การป้องกันกำจัด ให้เก็บใบที่เป็นโรคเผาทิ้ง และใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม
เช่น เบนโนมิล อัตรา 500 ppm ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง ประมาณ 3
ครั้งติดต่อกันและใช้สลับกับสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ อัตรา 30
กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จะให้ผลดียิ่งขึ้น
โรคสาหร่ายแดง
เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อ Cephaleuros parasitices (Karst)
อาการของโรค อาการเริ่มแรกเป็นจุดเล็ก ๆ สีส้มแดงบนใบ ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น
มีลักษณะกลม สีน้ำตาลแดงฟูคล้ายขนสีแดง สามารถแพร่ระบาดไปยังกิ่งได้
โรคสาหร่ายแดงระยะแรกเป็นแบบ epiphytic คือเกิดเกาะติดผิวใบ สามารถลูบออกได้ง่าย
แต่ในระยะต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็น paarasite
เส้นใยของสาหร่ายจะเจริญทะลุไปยังเนื้อเยื่อ epidermal และ parenchyma ของใบชา
เชื้อนี้สามารถอยู่กับใบแก่ กิ่ง และลำต้นได้
เมื่อใบอ่อนแตกออกมาใหม่ก็สามารถเข้าทำลายได้อีกครั้ง
ต้นชาที่ถูกแสงแดดจัดจะเป็นโรคนี้รุนแรงกว่าต้นที่อยู่ในร่ม
การป้องกันกำจัด ในต่างประทศพบว่าการใช้สารประกอบทองแดง เช่นคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์
สามารถใช้ฉีดพ่นป้องกันการเกิดโรคได้ดี
โรคใบจุดสีเทา
เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อ Pestalotiopsis theae (Sawada)
อาการของโรค อาการเริ่มแรกเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาล ต่อมาขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีเทา
จุดแต่ละจุดจะขยายและลุกลามเป็นเนื้อเดียวกัน รูปร่างแผลไม่แน่นอน
เป็นแผ่นสีเทาใหญ่ วงแหวนบนแถบ มักเกิดกับใบชาแก่
การป้องกันกำจัด เก็บใบที่เป็นโรคเผาทิ้งหรือใช้สารเคมี เบนโนบิล ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง
ห่างกัน ครั้งละ 7-10 วัน
»
ประโยชน์ของชา
» แหล่งกำเนิดและประวัติการปลูกชา
» ประวัติการปลูกชาของประเทศไทย
» พันธุ์และการขยายพันธุ์
» การคัดเลือกชาเพื่อทำพันธุ์
» การขยายพันธุ์
» การปลูกและการจัดการสวนชา
» การเตรียมดิน
» การปลูก
» การให้น้ำ
» การทำไม้บังร่ม
» การกำจัดวัชพืช
» ธาตุอาหาร
» การใส่ปุ๋ย
» การเก็บเกี่ยวชา
» การปรับปรุงสวนชา
» โรคและแมลงศัตรูชา
» แมลงศัตรูชา
» ผลกระทบจากข้อตกลงแกลต์และแนวทางการปรับตัว