เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกชา
กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
แหล่งกำเนิดและประวัติการปลูกชา
แหล่งกำเนิดชาตามธรรมชาติ มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิระวดี แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ ลักษณะคล้ายรูปพัด จากด้านทิศตะวันตก ระหว่างเทือกเขานากา มานิปุริและลูไซ่ ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัม และสหภาพพม่า ไปยังมณฑลซีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออกแล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของสหภาพพม่า ตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนาม โดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก กว้างถึง 1,500 ไมล์ หรือ 2,400 กิโลเมตร ระหว่างเส้นลองจิจูด 95-120 องศาตะวันออก และจาก ทิศเหนือ จรดทิศใต้ ยาว 1,200 ไมล์ หรือ 1,920 กิโลเมตร ระหว่างเส้นละติจูดที่ 29-11 องศาเหนือ
ประวัติการปลูกชาของโลก
การดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล
ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนงของจีน
(Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา
ขณะรอคอยให้น้ำเดือดกิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา
เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่มชากันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา
นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้วพระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่าง ๆ กว่า
200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์
อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึง นักบวชชี่อธรรม
ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียวได้เดินทางมาจาริกบุญเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีน
ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ.519
จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองนานกิง
ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เกิดเผลอหลับไปทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะ
เพื่อเป็นการลงโทษตนเอง มิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก
ท่านธรรมจึงได้ตัดหนังตาของตนทิ้งเสีย หนังตาเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชา
ซึ่งเป็นนิมิตที่แปลก ชาวจีนจึงพากันเก็บชามาชงในน้ำดื่มเพื่อรักษาโรค
นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกว่าในสมัยหนึ่งได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดในเมืองจีนผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก
เกี้ยอุยซินแสพบว่า สาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนพากันดื่มน้ำสกปรก
จึงแนะนำให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่ม
และเพื่อให้ชาวบ้านเชื่อจึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ลงไปในน้ำต้ม
เกี้ยอุยซินแสดพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศ
มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้ จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำตาม
ซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง
เรื่องชาถูกบันทึกไว้ในหนังสือจีนโบราณชื่อเอ๋อหยา (Er Ya : On Tea)
โดยขุนนางในจักรพรรดิ Zhou โดยให้คำจำกัดความของคำว่าชา คือสมุนไพรรสขมชนิดหนึ่ง
จากบันทึกของมณฑลหัวหยาง (ปัจจุบันคือ มณฑลซิฉวน)
ในช่วงการทำสงครามระหว่างกษัตริย์วู (Wu) ในราชวงศ์ Zhou
กับจักรพรรพิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Shang (ในปี 1066 ก่อนคริสตกาล) ทหารจากมณฑลซู
(Shu) ซึ่งมาร่วมรบได้นำชาและผึ้งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์ด้วย
หลักฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ "คัมภีร์ชาของหลูอยู่
(Lu Yu)" โดยหลูอยู่เกิดในมณฑลเหอเป่อ ระหว่าง ค.ศ. 728-804
หลูอยู่มีความสนใจในเรื่องชามาก ได้เขียนตำราไว้ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 780 ชื่อว่า
"ชาชิง" (Tea classic ซึ่งเป็นตำราที่ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง 10 บท
ถือว่าเป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก
โดยเนื้อหาในหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของการดื่มชา เครื่องมือ
การผลิตชา อุปกรณ์การชงชา การชงชาที่ถูกวิธี วิธีการดื่มชา
ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชา แหล่งกำเนิดของชา การแบ่งคุณภาพของชา
และธรรมเนียมการชงชา
สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 618-1260) การดื่มชาเป็นที่นิยมมาก
มีร้านนำชาอยู่ทุกหนทุกแห่งในแต่ละมณฑลจนถึงเมืองหลวง
แต่กรรมวิธีชงชาในสมัยราชวงศ์พังจะผิดแผกแตกต่างจากการชงชาที่รู้จักกัน
สมัยนั้นจะนำใบชาไปนึ่งกับข้าวแล้วเติมเกลือ ขิง เปลือกส้ม และเครื่องเทศ
จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนไว้สำหรับละลายน้ำดื่ม ส่วนในสมัยราชวงศ์ซ้อง
การชงได้เปลี่ยนจากก้อนชานึ่งมาเป็นใบชาแห้ง โดยนำใบชามาโม่จนเป็นผง
แล้วชงกับน้ำร้อน ในยุคนี้เองที่คนจีนเริ่มมีวัฒนธรรมจิบน้ำชา
พระสงฆ์หันมาใช้การชงชาเพื่อสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งเมื่อชาวตาดรุกรานจีน
จนราชวงศ์ซ้องถูกทำลายไป ทำให้การทำและชงชาสูญสิ้นไปด้วย
ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1208-1368) คนจีนหันมาชงชาด้วยใบซึ่งต้องชงชาในป้าน
(กาน้ำชา) ห้านชาจะช่วยกรองเศษชาไม่ให้หล่นลงจอกในขณะริน
จากประเทศจีน ชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเซีย เช่น
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีน
โดยเริ่มรู้จักและมีการนำชาเข้าญี่ปุ่นโดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูต
เพื่อมาศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingaken
ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1191
การปลูกชาได้กระจายทั่วไปและพระชาวญี่ปุ่นชื่อไปไซ (Eisai) ได้ไปเยือนจีนในปี ค.ศ.
1196 และ 1192 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preserving
Health in Drinking Tea) เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับชาที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น
จึงทำให้เกิดประเพณีการดื่มชาในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นประเพณีการชงชาของญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบันนี้
ในประเทศมาเลเซีย ชาพันธุ์จีน ถูกนำเข้าไปปลูกที่ปีนังในปี ค.ศ. 1802 ต่อมา ปี ค.ศ.
1822 ได้นำไปปลูกที่สิงคโปร์
ซึ่งสิงคโปร์ได้จัดซื้อต้นชาเพิ่มเติมจากประเทศจีนและอินเดียใน ปี ค.ศ. 1893
การปลูกชาในลักษณะเป็นสวนขนาดใหญ่เริ่มประสบผลสำเร็จที่รัฐยะโฮว์และเปรัค ปี ค.ศ.
1910 ได้มีการทดลองปลูกชาที่ Gunong Angsi
และชาวจีนได้นำเมล็ดชาจากประเทศจีนมาทดลองปลูกที่รัฐเซลังงอ
ต่อมากระทรวงเกษตรของมาเลเซีย ได้นำเมล็ดชาจากอินเดีย
มาทดลองปลูกบริเวณที่ต่ำของรัฐเซอร์ดังและบนที่สูงคาเมอรอน (Comeron Highlands)
ในประเทศอินเดีย ช่วงศตวรรษที่ 18-19 บริษัท West India
ได้นำเมล็ดชาจีนมาทดลองปลูกตามไหล่เขาหิมาลัย
ส่วนการขยายตัวของอุตสาหกรรมชาเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1818-1834
บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการพบชาป่าแถบเนปาลและมานิเปอร์
เป็นเหตุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลและมีการปลูกชาขึ้นที่กัลกัตตาในปี ค.ศ. 1834
และได้มีการค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับชาที่สวนพฤกษศาสตร์แห่งกัลกัตตา
โดยได้รับความช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์จากประเทศจีน
ต่อมาจีนงดส่งพันธุ์ชามาให้เนื่องจากกลับว่าอินเดียจะผลิตชามาแข่งขัน
อินเดียจึงต้อง ดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์ชาขึ้นมาเอง
โดยใช้พันธุ์ชาที่ปลูกอยู่แล้วและพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชายแดนเนปาล
จนถึงพรมแดนประเทศจีนแถบมณฑลยูนาน
ในประเทศอินโดนีเซีย ในปีค.ศ. 1690 ได้มีการนำชาต้นแรกมาปลูก และในปี ค.ศ. 1824
ได้นำเมล็ดพันธุ์ชาจากประเทศญี่ปุ่นมาปลูก ต่อมาในปี ค.ศ. 1827-1833
รัฐบาลอินโดนีเซีย
ได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อเก็บรวบรวมเมล็ดชาและนำคนงานเข้ามาทำงาน
การปลูกชาได้ถูกผูกขาดโดยรัฐมาจนถึงปี ค.ศ. 1860 ต่อมาในปี ค.ศ. 1872
ได้มีการนำชาพันธุ์อัสสัมมาปลูก แต่ยังไม่ได้ผลจริงจัง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1878
ได้มีการเปลี่ยนกระบวนการผลิตชาจากการใช้มือมาเป็นเครื่องจักร
มีการปรับปรุงคุณภาพและนำเมล็ดชามาจากศรีลังกา ต่อมาในปี ค.ศ. 1919
บริษัทชาของอังกฤษได้มาวางรากฐานการปลูกชาบนเกาะสุมาตรา
แต่พอถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อุตสาหกรรมชาถูกละเลย ทำให้ผู้ผลิตชาประสบปัญหา
จนกระทั่งในช่วงปี ค.ศ. 1941-1973 พื้นที่ปลูกชาถูกรื้อถอนตัดทิ้งไปปลูกพืชอื่น ๆ
เป็นจำนวนมากถึง 70%
ในประเทศศรีลังกา ปี ค.ศ. 1824 ได้นำเมล็ดชาจากประเทศจีนเข้ามาปลูก
และนำมาจากอัสสัมในปี ค.ศ. 1839 แต่ไม่ได้มีการปลูกอย่างจริงจัง จนในปี ค.ศ. 1867
ได้เริ่มมีการปลูกชาที่ใช้เมล็ดพันธุ์จากจีน โดยพี่น้อง Soloman และ Gabrid
ที่เมือง rambodo ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 เกิดการระบาดของโรคราสนิม
ทำให้กาแฟได้รับความเสียหายมาก จึงมีการปลูกชาทดแทนกาแฟ 5
ปีต่อมาจึงมีพื้นที่ปลูกชามากกว่า 150,000 เอเคอร์ และมีการบุกเบิกพื้นที่ใหม่ ๆ
จึงทำให้ปัจจุบันนี้ประเทศศรีลังกามีพื้นที่ปลูกชาประมาณ 220,000 เอเคอร์
ในทวีปยุโรป อังกฤษเป็นประเทศแรกที่รู้จักนำใบชามาใช้ประโยชน์
โดยมีการนำใบชามาจากประเทศจีนในปีค.ศ. 1657 และในช่วงปี ค.ศ. 1657-1833
บริษัทอินเดียวตะวันออกของอังกฤษได้เป็นผู้ผูกขาดการนำเข้าชา
และชาวอังกฤษก็ยอมรับการบริโภคชาได้เร็วกว่าชาติอื่นๆ โดยมีเซอร์โทมัส การ์ราเวย์
เป็นผู้บุกเบิกวงการอุตสาหกรรมชาของอังกฤษ ต่อมานายทอมมี่ ลิปตัน และนายดาเนียล
ทวินนิ่ง ได้จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตชา
ยี่ห้อลิปตันหรือทวินนิ่งที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันนี้
ในประเทศฝรั่งเศส ชาถูกยอมรับเป็นเครื่องดื่มในศตวรรษที่ 17 สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่
14 ทรงเสวยชาเพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น
และแรงเสริมอีกอย่างคืออุตสาหกรรมชาในอังกฤษเข้ามาตีตลาดในฝรั่งเศส
ในประเทศรัสเซีย เริ่มปลูกชาครั้งแรกที่ Sukhum Botonic Gardens บนฝั่งทะเลดำ ในปี
ค.ศ. 1847 โดยอุปราชของเมืองคอเคซัส เมื่อต้นชาเริ่มให้ผลผลิต
ทำให้ความนิยมปลูกชาเพิ่มมากขึ้น ปี ค.ศ. 1884
มีการนำต้นกล้าชาจากประเทศจีนมาปลูกในเนื้อที่ประมาณ 5.5 เอเคอร์
หลังจากนั้นได้มีกลุ่มผู้สนับสนุนการปลูกชาขึ้น โดยจัดซื้อสวนบนฝั่งทะเลดำ จำนวน 3
สวน เพื่อปลูกชาจำนวน 385 เอเคอร์ ใช้เมล็ดพันธุ์จากประเทศจีน อินเดีย และศรีลังกา
รวมทั้งจ้างคนชำนาญเรื่องขากับคนงานจากประเทศจีนมาฝึกสอนโดยจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำชามาจากประเทศอังกฤษ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1900
กระทรวงเกษตรของรัฐเริ่มได้จัดตั้งสถานีทดลองและผลิตต้นพันธุ์แจกจ่าง
โดยไม่คิดมูลค่า จากการส่งเสริมนี้ทำให้การปลูกชาขยายตัวมากขึ้น
จนในปัจจุบันประเทศรัสเซีย จัดได้ว่ามีการปลูกชากันมาก ในรัฐจอร์เจีย (Georgia
ชายฝั่งทะเลดำ
ในทวีปแอฟริกา การปลูกชาเริ่มต้นที่ Durban Botanic Gradens ในปี ค.ศ. 1850
โดยปลูกทดแทนกาแฟที่ประสบความล้มเหลวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกาใต้
สำหรับอุตสาหกรรมชาที่เก่าแก่ที่สุดของแอฟริกาเริ่มที่มาลาวีโดยมีการนำเมล็ดชามาทดลองปลูกครั้งแรกในปี
ค.ศ. 1878 แต่ชาตายหมด ต่อมาในปี ค.ศ. 1886-1888 นักบวชชาวอังกฤษ
เป็นผู้นำเมล็ดชาจาก Kew และ Edinburgh Botanic Gradens มาปลูกได้สำเร็จ
จากนั้นได้มีการนำต้นพันธุ์ไปปลูกที่เคนยา อูกันดา และแทนซาเนีย และในช่วงปี ค.ศ.
1920-1930 การพัฒนาอุตสาหกรรมชาจึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยระหว่างปี ค.ศ. 1921-1925
บริษัทเอกชน 3 แห่ง ได้เริ่มปลูกชาขึ้นที่ Rift Valley ในเคนยา ปี ค.ศ. 1924
อุตสาหกรรมชาของแทนซาเนียได้เริ่มขึ้นที่ Tukuyu บริเวณเขตที่สูงทางตอนใต้ของประเทศ
จานั้นได้ขยายมายังเทือกเขา Usambara ในปี ค.ศ. 1931 ส่วนในยูกันดานั้น
การปลูกชาเริ่มค่อนข้างล่าช้า โดยมีการเริ่มปลูกชาในปี ค.ศ. 1930
ในทวีปออสเตรเลีย มีการนำเมล็ดพันธุ์ชาจาก Kew Botanic Gardens
ประเทศอังกฤษเข้ามาทดลองปลูกที่รัฐควีนส์แลนด์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 สถานีวิจัย
South Johnstone ได้นำเมล็ดพันธุ์จากไร่ทดลองบานานามาเพาะ และในปี ค.ศ. 1942
จึงได้ทำการทดลองปลูกชาขึ้นในสถานีทดลองพื้นที่ครึ่งเอเคอร์ ในปี ค.ศ. 1950 และ
1960 ได้เกิดบริษัทชาขึ้น 3 บริษัท ตั้งอยู่ที่ Nerada และ Tully
และได้มีการคิดวิธีเก็บชาโดยใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน
»
ประโยชน์ของชา
» แหล่งกำเนิดและประวัติการปลูกชา
» ประวัติการปลูกชาของประเทศไทย
» พันธุ์และการขยายพันธุ์
» การคัดเลือกชาเพื่อทำพันธุ์
» การขยายพันธุ์
» การปลูกและการจัดการสวนชา
» การเตรียมดิน
» การปลูก
» การให้น้ำ
» การทำไม้บังร่ม
» การกำจัดวัชพืช
» ธาตุอาหาร
» การใส่ปุ๋ย
» การเก็บเกี่ยวชา
» การปรับปรุงสวนชา
» โรคและแมลงศัตรูชา
» แมลงศัตรูชา
» ผลกระทบจากข้อตกลงแกลต์และแนวทางการปรับตัว