เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
โรคของทุเรียน
กรมส่งเสริมการเกษตร
โรคใบติด
เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน ลักษณะอาการบนใบที่พบจะมีรอยคล้าย ๆ ถูกน้ำร้อนลวก ขอบแผลไม่แน่นอน อาจเริ่มที่ปลายใบ กลางใบ หรือโคนใบ แล้วลุกลามจนเป็นทั้งใบ และจะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมงมุมแผ่ไปตามผิวใบ ใบที่ถูกทำลายจะร่วงหล่นไปในที่สุด ถ้าใบที่เป็นโรคไปสัมผัสกับใบที่ปกติไม่ว่าจะเป็นใบที่อยู่ล่าง ๆ หรือใบที่อยู่เหนือกว่า ใบปกตินั้นก็จะเป็นโรคใบติดได้เช่นกัน
การป้องกันกำจัด
- ไม่ควรปลูกทุเรียนให้ชิดกันเกินไปเพราะจะทำให้ทรงพุ่มประสานกัน เกิดเป็นโรคติดต่อกันได้ง่าย
- ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลายเสีย ตลอดจนทำความสะอาดบริเวณโคนต้นโดยเก็บใบที่เป็นโรคเผาทำลาย
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม ไทอะเบนดาโซล หรือคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ พ่นทุก 5-7 วันต่อครั้ง
»
โรครากเน่าและโคนเน่า
»
โรคผลเน่า
» โรคใบติด
»
โรคจุดสนิท
»
โรคราสีชมพู
»
โรคราแป้ง
- เรียบเรียง : ศุภลักษณ์ กลับน่วม กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และอัญชลี พัดมีเทศ กองเกษตรสัมพันธ์
- จัดทำ : อัญชลี พัดมีเทศ กองเกษตรสัมพันธ์
- ผลิตและเผยแพร่โดย: ฝ่ายเอกสารคำแนะนำ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร