เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ศัตรูพืช

การใช้สารสกัดจากสะเดาเพื่อฆ่าแมลงศัตรูพืช

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดสะเดา

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดสะเดามีอยู่ 3 รูปคือ

  1. น้ำมันสะเดา นำไปใช้ทำยาสีฟัน สบู่ น้ำมันจุดไฟ เป็นสารฆ่าแมลงเป็นยารักษาโรคเบาหวานและเป็นยาคุมกำเนิด
  2. สารสกัดจากสะเดา นำไปใช้เป็นสารฆ่าแมลง ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมันสะเดาเนื่องจากมีสารอะซาดิแรดตินสูงกว่า นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นสารฆ่าเชื้อราและไส้เดือนฝอย
  3. กากสะเดา นำไปใช้เป็นปุ๋ย อาหารสัตว์ สารฆ่าแมลง และผสมกับปุ๋ยยูเรียทำให้ธาตุไนโตรเจนค่อย ๆ ละลายน้ำ

สะเดาชนิดไหนที่ให้สารอะซาดิแรดตินมาก

จากการทดลองพบสารอะซาดิแรดตินมากที่สุดในเมล็ดสะเดา โดยเฉพาะสะเดาอินดียพบปริมาณสูงที่สุดคือ 7.6 มก./กรัม โดย เฉลี่ย สะเดาไทยพบ 6.7 มก./กรัม โดย เฉลี่ย และสะเดาช้าง (ต้นเทียม) พบ 4.0 มก./กรัม โดย เฉลี่ย

แต่อย่างไรก็ตามปริมาณสารอะซาดิแรดตินดังกล่าวที่สกัดได้ยังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอายุต้น อายุเมล็ด สภาพแวดล้อมที่ปลูก การเก็บรักษาเมล็ดสะเดา ก่อนนำมาสกัดและวิธีสกัด แต่ระดับเกษตรกรแล้ว ถ้าเมล็ดไม่แก่และอ่อนเกินไป และเป็นผลที่ยังติดอยู่กับต้นสะเดาและนำไปสกัดโดยวิธีง่าย ๆ โดยใช้น้ำเป็นตัวสกัด อัตราส่วนเมล็ดสะเดา 1 กก./น้ำ 20 ลิตร จะมีสารอะซาดิแรดตินอยู่ 0.1-0.3% และจากการทดลองความเข้มข้นของสารฯ ขนาดนี้สามารถป้องกันกำจัดหนอนผีเสื้อและแมลงปากดูดได้หลายชนิด

สะเดาชนิดไหนที่เหมาะสมที่จะนำมาสกัดใช้เองและเชิงการค้า
สะเดาไทยเป็นพันธุ์เหมาะสมที่สุด เพราะเหตุว่าหาได้ง่ายและปลูกกระจัดกระจายมากกว่าปริมาณเมล็ด/ต้น สูงมากกว่าถ้ามีการปรับปรุงพันธุ์ และพัฒนากันต่อไป คงจะให้สะเดาที่มีปริมาณสารอะซาดิแรดติน ในเมล็ดสูงขึ้น

» ชนิดของสะเดา
» สารประกอบทางเคมีของสะเดา
» ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดสะเดา
» การเตรียมผลสะเดาเพื่อเอาเมล็ด
» วิธีใช้สารสกัดจากเมล็ดสะเดา
» ผลของสารสกัดจากสะเดาที่มีต่อพืช
» การเก็บรักษาเมล็ดสะเดาเอาไว้ใช้
» การดื้อต่อสารสกัดจากสะเดาของแมลง
» ปัญหาและข้อจำกัดของสารสกัดจากสะเดา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย