เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ข้าวและธัญพืช

การป้องกันกำจัดศัตรูข้าวโดยวิธีผสาน

กรมส่งเสริมการเกษตร

การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวโดยวิธีผสาน

การแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เกษตรกรปฏิบัติกันอยู่โดยใช้สารฆ่าแมลงเพียงวิธีเดียว นอกจากเสียค่าใช้จ่ายสูงและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา การป้องกันกำจัดที่ถูกต้องก็คือ ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสาน โดยกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม กล่าวคือ

  1. ในแหล่งปลูกข้าวเดียวกัน ชาวนาควรปลูกข้าวพร้อม ๆ กัน
  2. พันธุ์ข้าวที่ปลูกควรเป็นพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น กข 23, สุพรรณบุรี 90, สุพรรณบุรี 2 แต่ไม่ควรใช้พันธุ์เดียว เพราะแมลงอาจปรับตัวทำลายข้าวพันธุ์ต้านทานนั้นได้ในเวลาต่อมา
  3. ใส่ปุ๋ยให้พอเหมาะตามคำแนะนำของทางราช่การ
  4. หลังปลูกข้าวแล้ว ชาวนาควรหมั่นลงไปสำรวจตรวจนับแมลงศัตรูข้าวในนาอย่างสม่ำเสมอ ทุก 3-5 วัน โดยสุ่มตรวจกอข้าว 10 กอ หรือ 10 กลุ่ม (ข้าว 1 กลุ่ม = ต้นข้าวที่อยู่ชิดกัน 10 ต้นในนาหว่านน้ำตม) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ การตรวจแต่ละแปลง สามารถเป็นตัวแทนพื้นที่และข้าวพันธุ์เดียวกันได้ 5-10 ไร่ เมื่อตรวจพบว่ามีเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาลในนามากถึงขั้นต้องใช้สารฆ่าแมลง ก็ใช้สารฆ่าแมลงตามชนิดและอัตราที่ทางกรมวิชาการ เกษตรแนะนะ
  5. เมื่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลลดความรุนแรงลง ถ้าพบแมงมุมหรือมวนเขียวดูดไข่ซึ่งเป็น ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในปริมาณมาก ควรชะลอการใช้สารฆ่าแมลงเพื่ออนุรักษ์ศัตรู ธรรมชาติเหล่านี้ไว้ช่วยในการควบคุมปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในธรรมชาติต่อไป
  6. ในสภาพที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลรุนแรงมาก ควรงดปลูกข้าวในฤดูนาปรังหรือปลูกพืช อื่นทดแทน ทั้งนี้เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลงทำให้การระบาดลดความรุนแรงลงได้

» ศัตรูธรรมชาติที่พบในนาข้าว
» ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูข้าว
» ศัตรูธรรมชาติเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์
» การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวโดยวิธีผสาน
» เกษตรกรรมธรรมชาติดัดแปลงเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย