เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

พืชผัก-สมุนไพร

การปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์

หลักการควบคุมแมลงศัตรูพืชผักโดยใช้สารสกัดจากพืชในธรรมชาติ

  • นิโคติน (Nicotine) เป็นสารเคมีธรรมชาติที่พบในใบยาสูบใช้ป้องกันกำจัดแมลงพวกปากดูด เช่น เพลี้ย มวน ฯลฯ และใช้เป็นยารมกำจำแมลงในเรือนเพาะชำ
  • ทีโนน (Rotenone) เป็นสารเคมีในธรรมชาติสกัดมาจากต้นใต้ดินและรากของต้นหางไหล หรือโล่ติ้น หรือดวดน้ำ นอกจากนั้นยังสามารถสกัดได้จากรากและต้นของต้อนหนอนตายยาก (Stemona) และจากใบและเมล็ดของมันแกว มนุษย์ใช้สารโรทีโนนจากโล่ติ้น เป็นยาเบื่อปลามาตั้งแต่สมัยโบราณมีพิษน้อยต่อสัตว์เลือดอุ่น รากป่นแห้งของต้นหนอนตายอยาก สามารถกำจัดแมลงในล้าน ได้แก่ เรือด หมัด ลูกน้ำยุง และหนอนแมลงวัน และกำจัดแมลงศัตรูพืชได้แก่ ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยผัก แมลงวันแตง เพลี้ยอ่อนฝ้าย หนอนกะหล่ำ หนอนแตง เป็นต้น สารทีโนนนี้เป็นสารที่มีพิษต่อระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต แมลงที่ถูกสารนี้จะมีอาการขาดออกซิเจน เป็นอัมพาต และตายในที่สุด
  • ไพรีทริน (Pyrethrin) เป็นสารเคมีธรรมชาติที่มนุษย์สกัดได้จากดอกแงของไพรีทรัม ซึ่งมีสีขาวอยู่ในวงศ์ Compositae (ตระกูลเก๊กฮวยม,เบญจมาศ) ชอบขึ้นและเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น สารไพรีทรินเป็นสารฆ่าแมลงประเภทถูกตัวตาย ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง โดยเข้าไปสกัดประจุโซเดียมบนผิวของเส้นประสาท ทำให้ระบบไฟฟ้าของเส้นประสาทหยุดชะงัก ทำให้แมลงสลบโดยทันทีและตานในที่สุด ไพรีทรินมีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมากเนื่องจากสลายตัวได้รวดเร็วในร่างกายของคนและสัตว์เลี้ยง คนที่แพ้อาจมีอาการคล้ายคนเป็นโรคหอบหืด ไม่มีพิษตาค้างสลายตัวได้ดีในสิ่งแวดล้อม สารเคมีสังเคราะห์คล้ายพวกไพรีทรินทมีหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการกำจัดแมลงศัตรูพืชคือ เพลี้ยอ่อน หมัดกระโดด ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนกะหล่ำใหญ่ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอนเจาะมะเขือ และ หนอนแมลงงันเจาะต้นถั่ว
  • สะเดา (Azadiracgta indica) สารฆ่าแมลงมีในทุกส่วนของต้นสะเดาแต่จะมีมากที่สุดในเมล็ด แมลงที่สารสะเดาสามารถควบคุมและกำจัดได้คือ ด้วงงวงข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยอ่อนทั่วไป เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนใยผัก หนอนกระทู้ ด้วงหมัด เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว หนอนแมลงวันชอนใบ ไรทั่วไป เพลี้ยกระโดดหลังขาว แมลงหวี่ขาว เต่ามะเขือ หนอนเจาะยอดกะหล่ำ เป็นต้น สารออกฤทธิ์ของสะเดาได้ แก่ azadirachtin,Salannin,Meliantriol และ Nimbin ซึ่งจะหมดฤทธิ์ในสภาพที่มีแดด ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเล็ต จึงควรใช้สารสะเดากับพืชเวลาเย็น หรือตอนกลางคืน สารสะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงพวกต่อ แตน ผึ้ง สัตว์เลือดอุ่น และมนุษย์

    การใช้ บดเมล็ดสะเดาให้ละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบาง แช่น้ำ 1 คืน ด้วย อัตราการใช้ผงสะเดา 25-30 กรัม/ลิตร หรือเมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำเป็นเวลา 1-2 คืน แล้วกรองเอากากออก ใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงได้ โดยนำไปฉีดพ่นเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชได้เลย ควรผสมยาจับใบทุกครั้งที่มีการฉีดพ่น

» ความสมดุลตามธรรมชาติ
» หลักการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์
» หลักการปลูกพืชหลายชนิด
» หลักการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูผักโดยไม่ใช้สารเคมี
» หลักการป้องกันและกำจัดวัชพืชโดยไม่ให้ใช้สารเคมี
» หลักการควบคุมแมลงศัตรูพืชผักโดยใช้สารสกัดจากพืชในธรรมชาติ
» ขั้นตอนการปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย