เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
กระเจี๊ยบเขียว
กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร
การเก็บเมล็ดพันธุ์
สำหรับในกรณีที่เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์เอง
ซึ่งได้ทำการตกลงกับผู้ซื้อแล้ว การเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้องแนะนำเกษตรกร
ปฏิบัติดังนี้ เมื่อกระเจี๊ยบเขียวเริ่มออกฝักแล้ว 5-10 ฝัก ให้คัดเลือกต้น
ผูกพลาสติกสีเฉพาะต้นที่คัดเลือก
โดยเลือกต้นที่ออกฝักค่อนข้างเร็วฝักสูงจากโคนค้นไม่เกิน 50 เซนติเมตร
ฝักอ่อนได้ขนาดสม่ำเสมอกันตามที่ตลาดต่างประเทศต้องการฝัก 5 เหลี่ยม ฝักสีเขียวเข้ม
มีขนน้อย มีเส้นใยน้อย ฝักตรงไม่โค้งงอ
การเรียงฝักจากโคนต้นไปหายอดสม่ำเสมอเป็นระเบียบ ฝักดก ค่อนข้างจะทนต่อโรคแมลง
เมื่อได้ต้นที่คัดเลือกตามลักษณะที่ต้องการแล้ว ใช้กรรไกรตัดฝักที่ออกก่อนแล้ว
รวมทั้งดอกบานจากต้นที่คัดเลือกออกให้หมด ในต้นจะเหลือดอกที่ตูมยังไม่บาน
นำถุงผ้ามุ้งขนาดเล็กมาคลุมต้นที่คัดเลือกป้องกันแมลงนำเกสรตัวผู้จากต้นอื่นไปผสม
หรือจะใช้ถุงกระดาษแก้วสีขาวคลุมดอกที่ยังไม่บานดอกต่อดอกก็ได้
เมื่อฝักดังกล่าวจากต้นคัดเลือกแก่แล้วแกะเมล็ดผึ่งแดดให้แห้งแล้ว
นำเมล็ดไปคลุกสารเคมีป้องกันโรคแมลงทำลายและนำไปเก็บไว้ในปี๊บที่มีปูนขาวรองก้นปี๊บ
เกษตรกรจะสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวไว้ทำพันธุ์ได้อย่างมีคุณภาพ
การเก็บเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรส่วนใหญ่จะปล่อยให้ฝักด้านโคนต้นแก่แล้วเก็บเกี่ยวฝักดังกล่าวมาจากหลายต้นและเมล็ดรวมกันไว้ทำพันธุ์ต่อไป
โดยไม่มีการคัดต้น หรือรู้ต้นพันธุ์ที่แน่นอน มีผลให้กระเจี๊ยบเขียวกลายพันธุ์ได้
โดยเฉพาะฝักอาจมีหลายเหลี่ยม 5-9 เหลี่ยม ซึ่งตลาดต่างประเทศต้องการฝักอ่อน 5
เหลี่ยมเท่านั้น
»
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
»
พันธุ์และแหล่งพันธุ์
»
ฤดูปลูก
»
การเตรียมแปลงปลูกและการปลูก
»
อายุการเก็บเกี่ยว
»
แมลงศัตรูกระเจี๊ยบเขียว
»
โรคกระเจี๊ยบเขียว
»
วิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
»
การขนส่ง
» การเก็บเมล็ดพันธุ์
»
ลักษณะคุณภาพของกระเจี๊ยบเขียวที่ตลาดต่างประเทศต้องการ
»
ข้อควรคำนึงก่อนปลูก