เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก
สภาพการผลิตผักแต่เดิม เกษตรกรผู้ปลูกผักสดนิยมซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูกจำหน่ายเป็นผลผลิตผักสดออกสู่ตลาดและทำนองเดียวกันก็มีเกษตรกรบางรายจะปล่อยให้ผลผลิตแก่เพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์บางส่วนไว้ใช้ปลูกเองในรุ่นต่อไป ซึ่งเป็นลักษณะการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักแบบหัวไร่ปลายนา ไม่ใช่เชิงธุรกิจ แต่ในปัจจุบันความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ผักในประเทศมีเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้นักธุรกิจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เล็งเห็นศักยภาพความเหมาะสมของพื้นที่ในประเทศไทยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะส่งเสริมให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ในเชิงธุรกิจขึ้นทั้งเมล็ดพันธุ์ชนิดผสมเปิดและชนิดลูกผสมรุ่นที่ 1 หรือ เอฟ-วัน-ไฮบริด (Fi Hybrid) โดยได้มีการส่งเสริมกันอย่างแพร่หลายในบางจังหวัดของภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ซึ่งเอกชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันธุรกิจการผลิตเม็ดพันธุ์ผักของประเทศไทยให้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว ส่วนภาคราชการมีบทบาทในการศึกษาวิจัยปรับปรุงเมล็ดพันธุ์หลักคุณภาพดีออกมาส่งเสริมเผยแพร่กรมส่งเสริมการเกษตรจึงเล็งเห็นความสำคัญในงานด้านนี้ จึงยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนภาคเอกชนในการจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักแบบครบวงจรโดยช่วยเหลือภาคเอกชนในด้านการคัดเลือกพื้นที่ ๆ จะทำการผลิต ดำเนินการรวมกลุ่มเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเกษตรกรให้มีทักษะในด้านการผลิต รวมถึงการติดตามนิเทศงานอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่เริ่มดำเนินการจัดทำโครงการดังกล่าวประกอบกับกรมส่งเสริมการเกษตรได้พิจารณาจัดทำเอกสารคำแนะนำเรื่อง "การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก"ฉบับนี้ขึ้นมามีเนื้อหาเกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักที่น่าสนใจอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือผักบุ้งจีน ข้าวโพดหวาน ผักกาดหอม แตงกวา
»
หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก
»
การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน
»
การปลูกข้าวโพดหวานเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
»
การปลูกผักกาดหอมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
»
การปลูกแตงกวาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
- เอกสารอ้างอิง
คำแนะนำที่ 180 เรื่อง การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก กรมส่งเสริมการเกษตร